Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

คุณภาพบริการพยาบาลตามการรับรู้ของผู้ป่วยใน โรงพยาบาลชุมชนเขต 2

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Nursing services quality as perceived by inpatients of community hospitals, region 2

Year (A.D.)

1997

Document Type

Thesis

First Advisor

พนิดา ดามาพงศ์

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

การบริหารการพยาบาล

DOI

10.58837/CHULA.THE.1997.594

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพบริการพยาบาลตามการรับรู้ของผู้ป่วยใน ด้านความเป็นรูปธรรมของบริการ ด้านความเชื่อมั่นไวัวางใจได้ ด้านการตอบสนองต่อผู้รับบริการทันที ด้านความน่าเชื่อถือ และด้านการเข้าใจและรู้จักผู้รับบริการ และเปรียบเทียบคุณภาพบริการ พยาบาลทั้ง 5 ด้าน ตามการรับรู้ของผู้ป่วยใน โรงพยาบาลชุมชนดีเด่นและโรงพยาบาลชุมชนทั่วไป ประชากรเป็นผู้ป่วยในโรงพยาบาลชุมชนดีเด่นจำนวน 2 โรง และเป้นผู้ป่วยในโรงพยาบาลชุมชน ทั่วไปจำนวน 2 โรง ซึ่งตั้งอยู่ในเขต 2 สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ได้กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มโรงพยาบาลละ 390 คน รวมกลุ่มตัวอย่างจำนวน 780 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามจำนวน 1 ชุด ซึ่งปรับปรุงจากแบบสอบถาม SERVQUAL ของ Parasuraman และ คณะ หาค่าความเที่ยงโดยวิธีของ Cronbach ได้ค่าความเที่ยง .95 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1. คุณภาพบริการพยาบาลตามการรับรู้ของผู้ป่วยใน โรงพยาบาลชุมชนดีเด่นและ โรงพยาบาลชุมชนทั่วไปอยู่ในระดับเดียวกันคือไม่พึงพอใจ 2. คุณภาพบริการพยาบาลตามการรับรู้ของผู้ป่วยใน โรงพยาบาลชุมชนดีเด่นและ โรงพยาบาลชุมชนทั่วไป โดยรวม จำแนกตามรายด้านและรายข้อ พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งโดยรวม รายด้าน และรายข้อ โดยค่าเฉลี่ยการรับรู้คุณภาพบริการ พยาบาลของผู้ป่วยใน โรงพยาบาลชุมชนทั่วไปมีค่าสูงกว่าค่าเฉลี่ยการรับรู้คุณภาพบริการพยาบาล ของผู้ป่วยใน โรงพยาบาลชุมชนดีเด่น

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

The purposes of this research were to study nursing service quality as perceived by inpatients on tangibles, reliability, responsiveness, assurance and empathy, and to compare nursing service quality concerning five dimensions as perceived by inpatients of excellent award community hospitals and general community hospitals, region 2. A sample of 390 inpatients of each group, were randomly selected through multi-stage sampling technique. The questionaire derived from SERVQUAL, which were developed by Parasuraman et al. The reliability of the questionaire tested by Cronbach Coefficient, was .95. The data were analyzed by arithmatic mean, standard deviation and t-test. The major findings were as follow : 1. The nursing service quality as perceived by inpatients of excellent award community hospitals and general community hospitals are dissatisfaction. 2. The nursing service quality as a whole, each dimensions and item as perceived by inpatients of both groups of community hospitals, are statistically significant difference at the level of .05. The nursing service quality scores as perceived by inpatients of general community hospitals is higher than that of inpatients of excellent award community hospitals.

ISBN

9746390171

Share

COinS