Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
ผลของการใช้กรอบมโนทัศน์ในบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชาวิทยาศาสตร์ ที่มีต่อความคงทนในการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Effects of concept mapping in computer-assisted instruction lessons in science subject upon retention of learning of mathayom suksa four students
Year (A.D.)
1997
Document Type
Thesis
First Advisor
วิชุดา รัตนเพียร
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
โสตทัศนศึกษา
DOI
10.58837/CHULA.THE.1997.167
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการใช้กรอบมโนทัศน์ ในบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิชาวิทยาศาสตร์ ที่มีต่อความคงทนในการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนขามสะแกแสง จังหวัดนครราชสีมา สังกัดกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย จำนวน 40 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 2 กลุ่ม ๆ ละ 20 คน จัดเป็นกลุ่มทดลองดังนี้ กลุ่มทดลอง 1 เรียนบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่คอมพิวเตอร์เป็นผู้นำเสนอกรอบมโนทัศน์ กลุ่มทดลอง 2 เรียนบท เรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ผู้เรียนเป็นผู้สร้างกรอบมโนทัศน์วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่า ที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า ความคงทนในการเรียนของผู้เรียนทั้ง 2 กลุ่ม โดยใช้การสร้างกรอบมโนทัศน์ 2 แบบ มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผู้เรียนที่เรียนบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ผู้เรียนเป็นผู้สร้างกรอบมโนทัศน์ มี ความคงทนในการเรียนมากกว่า ผู้เรียนที่เรียนบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ที่คอมพิวเตอร์เป็นผู้นำเลนอกรอบมโนทัศน์ให้
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
The purpose of this research study was to study the effects of using computer-assisted instruction lesson on learning retention of science of mathayom suksa four students. The subjects were 40 students of Khamsakeaseang school, Nakornratchasima. The subjects were randomly assigned and divided into 2 groups. Each group consisted of 20 students as follows : groups 1 Students to create their own concept mapping ; groups 2 students studied from CAI lesson which included concept mapping for students. The results were as follows: there was statistically significant difference at : .05 level. It showed that CAI lesson that allows students to create their own concept mapping provide better learning.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
ส.มนัสทวีชัย, สุกานดา, "ผลของการใช้กรอบมโนทัศน์ในบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชาวิทยาศาสตร์ ที่มีต่อความคงทนในการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4" (1997). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 23556.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/23556