Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
ผลของการเลือกช่วงการทำแบบฝึกหัดในบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กับระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมีทั่วไป ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Effects of interval selection of exercise in computer-assisted instruction lesson and levels of learning achievement upon learning achievement on general chemistry subject of undergraduate students
Year (A.D.)
1997
Document Type
Thesis
First Advisor
สุกรี รอดโพธิ์ทอง
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
โสตทัศนศึกษา
DOI
10.58837/CHULA.THE.1997.165
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างการเรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ ช่วยสอน กับกลุ่มตัวอย่างที่ที่มีระดับผลการเรียนต่างกัน ของนักศึกษาปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 ภาคต้นปีการศึกษา 2539 มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ที่เรียนวิชา เคมีทั่วไป 1 จำนวน 90 คน แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มๆ ละ 30 คนคือ กลุ่มที่1 กำหนดช่วงการทำแบบฝึกหัดระหว่าง การเสนอเนื้อหาบทเรียน กลุ่มที่2กำหนดช่วงการทำแบบฝึกหัดเมื่อจบแต่ละตอน กลุ่มที่3 กำหนดช่วงการทำแบบฝึกหัดเมื่อจบบทเรียนโดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทาง (two-way ANOVA) ที่ระดับนัยสำคัญ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่กำหนดช่วงการทำแบบฝึกหัดระหว่างการเสนอเนื้อหาบทเรียน ที่กำหนดช่วงการทำแบบฝึกหัดเมื่อจบแต่ละตอน และที่กำหนดช่วงการทำแบบฝึกหัดเมื่อจบบทเรียน ทั้งสามวิธีไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ที่กำหนดช่วงการทำแบบฝึกหัดเมื่อจบแต่ละตอนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไม่แตกต่าง จากบทเรียนที่กำหนดช่วงการทำแบบฝึกหัดระหว่างการเสนอเนื้อหาบทเรียน และที่กำหนดช่วงการทำแบบฝึกหัดเมื่อจบบทเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ไม่มีปฏิสัมพันธ์ของกลุ่มตัวอย่างระหว่างการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่กำหนดช่วงการทำแบบฝึกหัดระหว่างการเสนอเนื้อหาบทเรียน ที่กำหนดช่วงการทำแบบฝึกหัดเมื่อจบแต่ละตอน และที่กำหนดช่วงการทำแบบฝึกหัดเมื่อจบบทเรียน ที่ระดับ .05
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
The purpose of this research was to compare an effect of interval selection of exercise in Computer-Assisted Instruction lesson and levels of learning achievement in Chemistry Subject of undergraduate students of Ubonratchathani University in the 1996 Academic year. The sample consisted of 90 undergraduate students sampling by means of systematic sampling that the exercises had been assigned during each content, at the end of each section, and end of the program. The two-way ANOVA was used for data analysis. Findings of the research were as follows : 1. The learning achievement among groups studied from Computer-Assisted Instruction with exercise during each content, at the end of each section, and at the end of the program was not significant differences at. 05 2. The learning achievement among groups studied from Computer-Assisted Instruction with exercise at the end of each section, exercise during each content and at the end of the program was not significant differences at .05 3. There was no interaction between groups done the exercises during each content, at the end of each section, and at the end of program and learning achievement at .05
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
นวลสกุล, วรพจน์, "ผลของการเลือกช่วงการทำแบบฝึกหัดในบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กับระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมีทั่วไป ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี" (1997). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 23554.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/23554