Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
การงดบริจาคโลหิตด้วยตนเองในผู้บริจาคโลหิต ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
The self deferral among blood donors in National Blood Centre, Thai Red Cross Society
Year (A.D.)
1997
Document Type
Thesis
First Advisor
องอาจ วิพุธศิริ
Second Advisor
สมรัตน์ เลิศมหาฤทธิ์
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
เวชศาสตร์ชุมชน
DOI
10.58837/CHULA.THE.1997.728
Abstract
กระบวนการให้คำปรึกษาก่อนการบริจาคโลหิตนั้น เป็นกระบวนการที่สำคัญกระบวนการหนึ่งในการคัดกรองผู้บริจาคโลหิต เพื่อให้ผู้บริจาคโลหิตได้พิจารณาตนเองว่า โลหิตที่บริจาคมีความปลอดภัยและมีคุณภาพ สามารถนำไปใช้ในการรักษาพยาบาลผู้ป่วยได้อย่างปลอดภัย การศึกษาการงดบริจาคโลหิตในผู้บริจาคโลหิตนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงอัตราการงดบริจาคโลหิตของผู้บริจาคโลหิต และสาเหตุของการงดบริจาคโลหิต การสำรวจโดยใช้แบบสอบถามกับผู้บริจาคโลหิตที่บริจาคโลหิต ณ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ตั้งแต่ เดือนพฤศจิกายน 2540 ถึงเดือนมกราคม 2541 จำนวน 4,170 คน ผลการศึกษาพบว่า อัตราการงดบริจาคโลหิต 15.3% โดยอัตราการงดบริจาคโลหิตในผู้บริจาคโลหิตรายใหม่ 26.6% ในผู้บริจาครายเก่า 3.3% ในเพศหญิง 19.5% ในเพศชาย 11.1% ในกลุ่มนักเรียน นักศึกษา 20.3% กลุ่มสถานภาพสมรสหม้าย 23.7% และคนโสด 15.0% ในวันราชการ 18.3% ในวันหยุดราชการ 10.2% ในการงดบริจาคโลหิต เป็นการงดบริจาคโลหิตด้วยตนเอง 8.9% และการงดบริจาคโลหิตโดยเจ้าหน้าที่แนะนำ 6.2% โดยการงดบริจาคโลหิตชนิดถาวร 14.1% และชนิดชั่วคราว 1.0% การงดบริจาคโลหิตในผู้บริจาคโลหิตรายใหม่กับผู้บริจาคโลหิตรายเก่า การงดบริจาคโลหิตในวันราชการกับวันหยุดราชการ การงดบริจาคโลหิตโดยผู้บริจาคโลหิตกับโดยเจ้าหน้าที่แนะนำ และการงดบริจาคโลหิตชนิดถาวรกับชนิดชั่วคราว มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) โดยที่สาเหตุของการงดบริจาคโลหิตที่พบมากที่สุดคือ ความเข้มข้นของโลหิตต่ำ (36.6%) การรับประทานยาปฏิชีวนะ (19.2%) และการมีเพศสัมพันธ์กับบุคคลอื่น ที่ไม่ใช่สามีหรือภรรยาโดยไม่สวมถุงยางอนามัย ภายในเวลา 3 เดือน (5.3%)
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
Pre-donation counselling process is an important process for screening of blood donors. The donors can consider whether their blood are safe and have quality for patients to be used. The objective of this study was to determine the self deferral rate and causes among blood donors. A survey of blood donors was conducted by using questionnaires with 4,170 blood donors during November 1996 to January 1997 at the National Blood Centre. The result of study demonstrated that the deferral rate was 15.3% in which among new blood donors were 26.6%, regular donors were 3.3%, female were 19.5%, male were 11.1%, students were 20.3%, widows were 23.7% and singles were 15.0%, weekday donors were 18.3% and weekend donors were 10.2%, The self deferral rate was 8.9% and the deferral rate by health workers were 6.2%. For pemanent deferrals were 14.1% and temporary deferrals were 1.0%. The study showed the significant statistical differences between the deferral rate of new donors and regular donors; weekday donors and weekend donors; self deferral donors and deferral donors by health workors; permanent and temporary deferral (p<0.01). The major causes of deferral were low hemoglobin (36.6%), antibiotic being used (19.2%) and unsafe sex within 3 month (5.3%).
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
ฉัตรทอง, กฤษณ์ติวัฒน์, "การงดบริจาคโลหิตด้วยตนเองในผู้บริจาคโลหิต ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย" (1997). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 23499.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/23499