Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
การวิเคราะห์ระบบโครงตาข่ายการต่อลงดินที่มีระยะห่าง ระหว่างตัวนำไม่เท่ากันของสถานีไฟฟ้าย่อย
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Unequally spaced grounding grid analysis for electrical power substations
Year (A.D.)
1997
Document Type
Thesis
First Advisor
ประสิทธิ์ พิทยพัฒน์
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
วิศวกรรมไฟฟ้า
DOI
10.58837/CHULA.THE.1997.924
Abstract
กล่าวถึงระบบโครงตาข่ายการต่อลงดินของสถานีไฟฟ้าย่อย ได้แบ่งการศึกษาเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนของความรู้ทางทฤษฎี และส่วนของซอฟท์แวร์ โดยในส่วนของทฤษฎีนั้นจะครอบคลุมตั้งแต่ความรู้พื้นฐาน ไปจนถึงการวิเคราะห์ และออกแบบระบบโครงตาข่ายการต่อลงดิน ของสถานีไฟฟ้าย่อย และในส่วนของซอฟท์แวร์นั้นได้พัฒนาเป็นโปรแกรมซึ่งมีชื่อว่า "Substation Grounding Design Program (SGDP)" ด้วยภาษา Visual Basic เวอร์ชัน 4.0 เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกแก่วิศวกรไฟฟ้า ในการออกแบบระบบโครงตาข่ายการต่อลงดิน ของสถานีไฟฟ้าย่อย ระบบโครงตาข่ายการต่อลงดินที่พิจารณานั้น มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมเพียงอย่างเดียว โดยไม่คำนึงถึงผลของแท่งดิน ซึ่งในที่นี้จะพิจารณาใน 3 ลักษณะ คือ ระบบโครงตาข่ายการต่อลงดินที่มีระยะห่างระหว่างตัวนำเท่ากัน ระบบโครงตาข่ายการต่อลงดินที่มีระยะห่างระหว่างตัวนำไม่เท่ากัน และระบบโครงตาข่ายการต่อลงดินที่มีระยะห่างระหว่างตัวนำไม่เท่ากัน แบบลำดับเรขาคณิต จากผลการวิจัย โดยทดลงออกแบบสถานีไฟฟ้าย่อย 4 แห่ง ที่มีขนาด 72x107 ตารางเมตร 40x107 ตารางเมตร 40x80 ตารางเมตร 40x50 ตารางเมตร และ 16x33 ตารางเมตร พบว่าระบบโครงตาข่ายการต่อลงดินที่มีระยะห่างระหว่างตัวนำไม่เท่ากัน และระบบโครงตาข่ายการต่อลงดิน ที่มีระยะห่างระหว่างตัวนำไม่เท่ากันแบบลำดับเรขาคณิต สามารถป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับมนุษย์ สัตว์ และอุปกรณ์ต่างๆ ทั้งภายใน และบริเวณใกล้เคียงสถานีไฟฟ้าย่อยได้ดีกว่า และใช้จำนวนลวดตัวนำน้อยกว่าระบบโครงตาข่ายการต่อลงดิน ที่มีระยะห่างระหว่างตัวนำเท่ากัน แต่ระบบโครงตาข่ายการต่อลงดินที่มีระยะห่างระหว่างตัวนำไม่เท่ากัน ไม่สามารถออกแบบระบบโครงตาข่ายสำหรับสถานีไฟฟ้าย่อยที่มีขนาดเล็กได้ ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าระบบโครงตาข่ายการต่อลงดินที่มีระยะห่าง ระหว่างตัวนำไม่เท่ากัน จะเหมาะสำหรับสถานีไฟฟ้าย่อยขนาดใหญ่ ในขณะที่ระบบโครงตาข่ายการต่อลงดินที่มีระยะห่าง ระหว่างตัวนำไม่เท่ากันแบบลำดับเรขาคณิตจะเหมาะสำหรับสถานีไฟฟ้าย่อยขนาดกลาง และเล็ก
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
To describe a substation grounding grid, which comprises of two sections, i.e. the theorical background study and software development. In the first section, the substance included the basic theory and the methods of design and analysis. For the other section, the software, Substation Grounding Design Program (SGDP) was written by Visual Basic version 4.0, to assist an electrical engineer in designing substation grounding grid. The grounding grid considered are of rectangular shape, disreguarding the effect of ground rod in this design. There are three methods that is studies, the equally spaced grounding grid, the unequally spaced grounding grid, and the unequally spaced grounding grid (geometric sequence). The design examples in this thesis were carried out on four different size of substations, namely, 72mx107m, 40mx80m, 40mx50m, and 16mx33m. The results of the designs have shown that, the unequally spaced grounding grid and the unequally spaced grounding grid (geometric sequence), both gave less touch and step voltages and used less grounding conductors than the equally spaced grounding grid. But the small substations cannot be designed by the unequally spaced grounding grid method. It can be concluded that the unequally spaced grounding grid is suitable for large substation while the unequally spaced grounding grid (geometric sequence) is appropriate for medium and small substations.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
กังสมุทร, วรวิทย์, "การวิเคราะห์ระบบโครงตาข่ายการต่อลงดินที่มีระยะห่าง ระหว่างตัวนำไม่เท่ากันของสถานีไฟฟ้าย่อย" (1997). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 23321.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/23321