Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
ผลของฝุ่นซิลิกาที่มีต่ออัตราการซึมผ่านของสารรังสีไอโซโทป Tc-99m DTPAd ของปอดคนงานในโรงงานอุตสาหกรรมแก้วและอิฐทนไฟ
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Effects of silica dust on Tc-99m DTPA lung clearance of glass and fire-brick industrial workers
Year (A.D.)
1997
Document Type
Thesis
First Advisor
วนิดา จีนศาสตร์
Second Advisor
ธวัชชัย ชัยวัฒนรัตน์
Third Advisor
สว่าง แสงหิรัญวัฒนา
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
วิทยาศาสตร์สภาวะแวดล้อม
DOI
10.58837/CHULA.THE.1997.829
Abstract
ศึกษาผลกระทบของฝุ่นซิลิกาต่อสุขภาพในโรงงานผลิตแก้วและในโรงงานผลิตอิฐทนไฟ โดยการตรวจสอบพยาธิสภาพของปอดในกลุ่มตัวอย่างคนงานจากโรงงานทั้งสอง ด้วยวิธีวัดอัตราการซึมผ่านของสารรังสีไอโซโทป Tc-99m DTPA ด้วยเครื่องแกมมา คาเมร่า เทียบกับกลุ่มคนปกติ พร้อมทั้งทำการทดสอบสมรรถภาพปอดวัดค่า %FEV1, FVC, FEF25.75% และถ่ายภาพรังสีทรวงอก จากผลการศึกษาพบว่า ในสภาวะการทำงานของกลุ่มตัวอย่างโรงงานผลิตแก้วและโรงงานผลิตอิฐทนไฟมีปริมาณฝุ่นซิลิกาเกินค่ามาตรฐาน 0-1.551 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และ 0-13.374 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ กลุ่มตัวอย่างโรงงานอิฐทนไฟมี ค่าอัตราการซึมผ่านของสารเภสัชรังสี (HT-7 = 49.0±15.3 | HT-30 = 53.7±13.2) แตกต่างกับกลุ่มควบคุม (HT- 7 = 64.7±17.9 1 HT-30 = 67.4±15.6) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95 % (p < 0.05) กลุ่มตัว อย่างโรงงานแก้วมีค่าอัตราการซึมผ่านของสารเภสัชรังสี (HT-7 = 63.4±16.1 | HT-30 = 68.6±11.7) ไม่แตกต่าง กับกลุ่มควบคุม (HT-7 = 61.4±14.3 1 HT-30 = 61.1±17.2) และพบว่าอายุ ระยะเวลาทำงาน ของกลุ่มตัวอย่างไม่ มีความสัมพันธ์กับค่าอัตราการซึมผ่านของสารเภสัชรังสี Tc-99m DTPA.
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
A study of silica dust infestation levels was carried out on labours in a glass and a fire-brick manufacturing factories. It used lung clearance of the radioaerosol Technetium-99m DTPA(diethylene triamine pentaacetate) to measure the permeability of the pulmonary epithelium, as well as pulmonary function test (%FEV1, FVC, FEF25.75%) and chest x-rays (followed ILO 1980). The measured respirable silica dust levels in these working places exceeding the two related standard ranges | at concentrations of 0-1.551 mg/m3 and 0-13.374 mg/m3 respectively. The results of the Tc-99m DTPA lung clearance tests showed significant differences (p< 0.05) between the workers in the fire-brick factory (HT-7 = 49.0±15.3 | HT-30 = 53.7±13.2) and its control group (HT-7= 64.7±17.9 | HT-30= 67.4±15.6) but did not show differences between the workers in the glass factory (HT-7= 63.4±16.1 | HT-30= 68.6±11.7) and the corresponding control group (HT-7= 61.4+14.3 | HT-30= 61.1+17.2). Personal data such as age and number of years of exposure to silica dust were not correlated to the lung clearance of Tc-99m DTPA tests.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
โรจนะบุรานนท์, ภารดี, "ผลของฝุ่นซิลิกาที่มีต่ออัตราการซึมผ่านของสารรังสีไอโซโทป Tc-99m DTPAd ของปอดคนงานในโรงงานอุตสาหกรรมแก้วและอิฐทนไฟ" (1997). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 23267.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/23267