Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
ฟิล์มจากพอลิเมอร์ผสมของไคโตแซนและไฮดรอกซีโพรพิลเมทิลเซลลูโลส
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Chitosan-hydroxypropyl methylcellulose bliend films
Year (A.D.)
1997
Document Type
Thesis
First Advisor
เข็มชัย เหมะจันทร
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
วิทยาศาสตร์พอลิเมอร์ประยุกต์และเทคโนโลยีสิ่งทอ
DOI
10.58837/CHULA.THE.1997.821
Abstract
ฟิล์มจากพลิเมอร์ผสมของไคโตแซนและไฮดรอกซีโพรพิลเมทิลเซลลูโลสที่อัตราส่วนต่างๆ ถูกเตรียมจากการขึ้นรูปด้วยเทคนิคการหล่อแบบที่อุณหภูมิห้อง โดยใช้สารละลายกรดแอซิติกเข้มข้น 0.5% เป็นตัวทำละลาย เพื่อศึกษาสมบัติเชิงกล และสมบัติทางกายภาพของฟิล์มจากพอลิเมอร์ผสม ผลการศึกษาพบว่า ไคโตแซนมีความเป็นผลึกมากกว่าไฮดรอกซีโพรพิลเมทิลเซลลูโลส ความเป็นผลึกและความทนแรงดึงของฟิล์มจากพอลิเมอร์ผสมลดลงเมื่อปริมาณไฮดรอกซีโพรพิลเมทิลเซลลูโลสเพิ่มขึ้น ขณะที่การยืดตัวของฟิล์มกลับมีค่าเพิ่มขึ้น นอกจากนี้การดูดซึมน้ำและการละลายในสารละลายต่างชนิดกันของฟิล์มจากพอลิเมอร์ผสมขึ้นอยู่กับความเป็นกรด-ด่างของสารละลาย การดูดซึมน้ำของฟิล์มเพิ่มขึ้นตามปริมาณหมู่แอมีนที่ถูกโปรโตเนทบนโมเลกุลของไคโตแซน อย่างไรก็ดี การอบฟิล์มด้วยความร้อนไม่ทำให้เปลี่ยนแปลงความทนแรงดึงและการยืดตัวของฟิล์มจากพลิเมอร์ผสมทุกอัตราส่วน แต่ลดการดูดซึมน้ำและการละลายในสารละลายที่มีพีเอ็ช 1.0 และพีเอ็ช 6.1 ของฟิล์มที่มีปริมาณไคโตแซนตั้งแต่ 50 ถึง 100% ขณะที่การดูดซึมน้ำและการละลายของฟิล์มทุกอัตราส่วนในสารละลายที่มีพีเอ็ช 7.4 กลับไม่เปลี่ยนแปลง การอบฟิล์มด้วยความร้อนจึงอาจทำให้เกิดโครงร่างตาข่ายระหว่างโมเลกุลของไคโตแซน และ/หรือ เพิ่มความเป็นผลึกในฟิล์มจากพอลิเมอร์ผสม
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
Blend films consisting of chitosan and hydroxypropyl methylcellulose (HPMC) were prepared from a solvent casting technique at room temperature. Mechanical properties and physical properties were investigated, It was stablished that chitosan had more crystallinity than HPMC. Crystallinity and tensile strength of blend films decreased with an increase in HPMC content while elongation increased. However, water absoption and solubility in different aqueous media of blend films depending on pH of solution. Water absorption of blend films increased with an increase in protonated amino group in chitosan molecules. Heat treatment did not change tensile strength and elongation but reduces water absorption and solubility of blend films having chitosan content from 50 to 100% in a medium of pH 1.0 and pH 6.1. On the other hand, water absorption and solubility in a medium of pH 7.4 did not change. Heat treatment might be attributed to the formation of crosslinks and/or crystallites in the blend films.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
ฟางทวานิช, วารุณี, "ฟิล์มจากพอลิเมอร์ผสมของไคโตแซนและไฮดรอกซีโพรพิลเมทิลเซลลูโลส" (1997). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 23259.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/23259