Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาอนุกรมวิธานของพืชให้สีย้อมเส้นใยธรรมชาติในประเทศไทย

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Taxonomic study of dye plants for natural fiber in Thailand

Year (A.D.)

1997

Document Type

Thesis

First Advisor

วิยดา เทพหัตถี

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

พฤกษศาสตร์

DOI

10.58837/CHULA.THE.1997.771

Abstract

การศึกษาและรวบรวมตัวอย่างพรรณไม้ดอกให้สีย้อมเส้นใยธรรมชาติในประเทศไทย ได้ดำเนินการระหว่างเดือน มิถุนายน พ.ศ. 2539 ถึงเดือนมกราคม พ.ศ. 2541 โดยศึกษาพืชให้สีจากเอกสารและออกสำรวจสอบถามข้อมูลในพื้นที่จากกลุ่มทอผ้าย้อมสีธรรมชาติในภาคต่างๆทั่วประเทศที่เลือกทำการศึกษาจำนวน 51 กลุ่ม ในพื้นที่ 28 จังหวัด สำรวจพบและเก็บตัวอย่างพืชให้สีได้จำนวน 142 ชนิด และ 4 ชนิดย่อย จัดอยู่ใน 109 สกุล 47 วงศ์ เป็นพืชใบเลี้ยงคู่ 137 ชนิด และ 4 ชนิดย่อย และพืชใบเลี้ยงเดี่ยว 5 ชนิด วงศ์ที่มีจำนวนชนิดที่นำมาใช้มากที่สุดคือ Caesalpiniaceae จำนวน 8 สกุล 13 ชนิด รองลงมาคือ Mimosaceae ซึ่งมี 8 สกุล 11 ชนิด และ 1 ชนิดย่อย และอันดับสามคือวงศ์ Fabaceae มี 7 สกุล 11 ชนิด พืชให้สีที่สำรวจพบมีทุกลักษณะนิสัย ส่วนใหญ่เป็นไม้ต้น ส่วนที่ให้สีส่วนมากได้จากส่วนของเปลือก ใบ และผลตามลำดับ สำหรับสีที่ได้ส่วนใหญ่เป็นพวกสีน้ำตาล สีเหลืองและสีแดง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีการนำพืชให้สีมาใช้จำนวนชนิดมากที่สุดคือ 67 ชนิด และ 1 ชนิดย่อย รองลงมาได้แก่ภาคเหนือจำนวน 55 ชนิด และ 2 ชนิดย่อย เป็นพืชให้สีที่มีการนำมาใช้ทุกภาคจำนวน 13 ชนิด ในการศึกษาครั้งนี้ได้จัดทำคำบรรยายลักษณะโดยละเอียดของชนิดและข้อมูลพื้นฐานการนำมาใช้ทำสีย้อมของพืชให้สีแต่ละชนิด การกระจายพันธุ์ ลักษณะทางนิเวศวิทยา ระยะเวลาการออกดอกและผล และภาพสีประกอบ ตัวอย่างพรรณไม้ที่เก็บทั้งในรูปตัวอย่างแห้งและดอง เก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์พืช ศ. กสิน สุวตะพันธุ์ ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

The taxonomic study of dye plants for natural fiber in Thailand has been undertaken from June, 1996 to January 1998. Primary data of dye plants and their dyeing process were complied from literature as well as interviews with weaving groups in each region of the country. Fifty one groups from 28 provinces were selected for study sites. One hundred and forty-two species, one specie and three varieties of dye plants were recorded. They belong to 109 genera, 47 families. There are 137 species one subspecie and three varieties of dicotyledons and 5 species of monocotyledons. Dye plants are of various habits, but most of them are trees. In general, barks, leaves and fruits are used of which brown, yellow and red are the main shade of colour obtained. From this study, the taxa of dye plants of highly used belong to Caesalpiniaceae, Mimosaceae and Fabaceae; they are consisting of 13 species in 8 genera, 11 species and one subspecies in 8 genera and 11 species in 7 genera respectively. Furthermore, it is also found that there are 67 species and one subspecie of dye plants being used in the northeast which is highest in number among the regions. Second to the northeast is the north from which 55 species one subspecie and one variety are recorded, and 13 species are used in all regions. In this present study, full descriptions of all species and basic uses, distributions, ecology, flowering and fruiting period and photographs. The specimens collected either dried or preserved in spirit are deposited at the Professor Kasin Suvatabhandhu Herbarium, Department of Botany, Faculty of Science, Chulalongkorn University.

Share

COinS