Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

มิติแห่งการบริโภคที่ปรากฏในนิตยสารผู้หญิง

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

The dimension of consumption in women's magazines

Year (A.D.)

1997

Document Type

Thesis

First Advisor

กาญจนา แก้วเทพ

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

นิเทศศาสตรพัฒนาการ

DOI

10.58837/CHULA.THE.1997.501

Abstract

ศึกษาหน้าที่ที่แท้จริงของนิตยสาร รวมทั้งวิเคราะห์ปัจจัยที่เข้ามาเกี่ยวข้องในการกำหนดเนื้อหาของนิตยสาร และศึกษามิติแห่งการบริโภคของกลุ่มเป้าหมายของแต่ละกลุ่มของนิตยสารผู้หญิง โดยเลือกศึกษาจากนิตยสาร 3 ฉบับคือ นิตยสารดิฉัน แพรวสุดสัปดาห์และขวัญเรือน ด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา และการสัมภาษณ์ผู้ผลิต โดยอาศัยทฤษฎีเชิงตรรกวิทยาการบริโภค ของโบดริยาร์ดเป็นกรอบแนวคิด ผลการวิจัยพบว่า หน้าที่ปัจจุบันของนิตยสารผู้หญิง นอกจากจะให้ความรู้และความบันเทิงแล้ว ยังทำหน้าที่เป็นพื้นที่ในการให้บริการธุรกิจโฆษณา และกลายเป็นสื่อถ่ายทอดและหล่อหลอมแบบแผนการบริโภคให้กับผู้อ่านแต่ละกลุ่ม สำหรับปัจจัยที่เข้ามามีส่วนในการช่วยกำหนดเนื้อหาของนิตยสารแบ่งได้เป็น ปัจจัยภายในอันได้แก่ 1. รูปแบบการเป็นเจ้าของบริษัท ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่สุด 2. บุคลากรประจำกองบรรณาธิการ ในส่วนปัจจัยภายนอก ได้แก่ 1. โฆษณา 2. สภาพสังคมในแต่ละช่วงเวลา 3. ผู้รับสาร 4. สภาพเศรษฐกิจ และ 5. คู่แข่ง ทางด้านมิติการบริโภคพบว่า นิตยสารดิฉันและแพรวสุดสัปดาห์ต่างบรรจุคุณค่าทางด้านสัญญะมากที่สุด (ดิฉัน 36.80% แพรวสุดสัปดาห์ 33.96%) สำหรับขวัญเรือนมีคุณค่าทางด้านอรรถประโยชน์มากที่สุด (37.60%) แต่ในลำดับที่สองของขวัญเรือนได้บรรจุคุณค่าเชิงสัญญะ ในปริมาณที่ใกล้เคียงกับอีก 2 ฉบับ คือ 28.00% การวิจัยนี้จึงนำมาสู้ข้อสรุปได้ว่า มิติการบริโภคที่ปรากฏในนิตยสารผู้หญิงจึงไม่ได้มีเพียงคุณค่า เชิงอรรถประโยชน์เท่านั้น หากแต่ยังบรรจุคุณค่าทางด้าน "สัญญะ" ซึ่งมีบทบาทเพิ่มมากขึ้นในสังคมปัจจุบัน

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

Analyzing the various roles of magazines, the factors relating to the formulation magazine contents and the dimensions of consumption in each of the target groups of the magazines "Dichan", "Praew Sud Supda" and Kwan Roen". Data analysis was undertaken through content analysis and interviews with the editors, based on Baudrillard's theory of sign consumption. The results of the study show that the role of the magazine at present plays at providing both knowledge and entertainment. It also serves the advertising business. For the latter function, the media thus transmit and cultivate the consumption patterns of the reader. The factors engaged in the formulation of the content of the magazine can be divided into two categories. First, the internal factors are the pattern of ownership which is the most importance and the editorial staff. Second, the external factors include advertisements, current issues, receiver's preference, the economic situation and competitors. The result of analyzing reveals that Baudrillard's logic of value embodied in each magazine content, the logic of sign value is mostly found in Dichan (36.80%) and Praew Sud Supda (33.96%). In case of Kwan Roen, the logic of use value comprised the most (37.60%), followed by the logic of sign value (28.00%). It can be concluded that the dimensions of consumption in women's magazines do not indicate only the logic of use value but also the logic of sign value, which increases more important of role in society at present.

Share

COinS