Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
การเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับปัญหาเด็กด้อยโอกาส ความตระหนัก ความเชื่อถือและการตัดสินใจของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร ในการให้การสนับสนุนองค์การเอกชนที่พัฒนาเด็กและเยาวชน
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Media exposure on underprevileged children problem, people's awareness, perceived credibility and their decision on supporting to non-governmental organizations for children development in Bangkok
Year (A.D.)
1997
Document Type
Thesis
First Advisor
ปาริชาต สถาปิตานนท์ สโรบล
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
นิเทศศาสตรพัฒนาการ
DOI
10.58837/CHULA.THE.1997.500
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับปัญหาเด็กด้อยโอกาสของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร และความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับเด็กด้อยโอกาส ความตระหนัก ความเชื่อถือ และการตัดสินใจให้การสนับสนุนองค์การเอกชนที่พัฒนาเด็กและเยาวชน โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง 423 คน ในเขตกรุงเทพมหานคร ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประมวลผลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Window นำเสนอผลวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย การหาค่าสถิติแบบ t-test ONE-WAY ANOVA และการหาค่าสัมประสิทธิ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1. ประชาชนส่วนใหญ่ในกรุงเทพ มีพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับเด็กด้อยโอกาส จากสื่อมวลชน และสื่อเฉพาะกิจในระดับปานกลาง และมีการเปิดรับจากสื่อบุคคลในระดับน้อย นอกจากนั้นยังพบว่าประชาชนมีความตระหนักและการตัดสินใจให้การสนับสนุนองค์การเอกชนที่พัฒนาเด็กและเยาวชนในระดับสูง ส่วนความเชื่อถืออยู่ในระดับปานกลาง 2. พฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับเด็กด้อยโอกาส จากสื่อมวลชน สื่อเฉพาะกิจ และสื่อบุคคล มีความแตกต่างกันตามระดับการศึกษา และอาชีพ 3. พฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับเด็กด้อยโอกาสทางสื่อมวลชน สื่อเฉพาะกิจ และสื่อบุคคล ไม่มีความสัมพันธ์กับความตระหนักต่อปัญหาเด็กด้อยโอกาส และต่อองค์การเอกชนที่พัฒนาเด็กและเยาวชน 4. พฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับเด็กด้อยโอกาสทางสื่อมวลชน สื่อเฉพาะกิจ และสื่อบุคคล ไม่มีความสัมพันธ์กับความเชื่อถือต่อเนื้อหาที่เสนอปัญหาเด็กด้อยโอกาส และต่อองค์การเอกชนที่พัฒนาเด็กและเยาวชน 5. พฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับเด็กด้อยโอกาสทางสื่อมวลชน สื่อเฉพาะกิจ และสื่อบุคคล มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจให้การสนับสนุนองค์การเอกชนที่พัฒนาเด็กและเยาวชน ทั้งทางตรงและทางอ้อม 6. ความตระหนักต่อปัญหาเด็กด้อยโอกาส และต่อองค์การเอกชนที่พัฒนาเด็กและเยาวชน มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจให้การสนับสนุนองค์การเอกชนที่พัฒนาเด็กและเยาวชน ทั้งทางตรงและทางอ้อม 7. ความเชื่อถือต่อเนื้อหาที่เสนอปัญหาเด็กด้อยโอกาส และต่อองค์การเอกชนที่พัฒนาเด็กและเยาวชน มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจให้การสนับสนุนองค์การเอกชนที่พัฒนาเด็กและเยาวชน ทั้งทางตรงและทางอ้อม 8. ความตระหนักต่อปัญหาเด็กด้อยโอกาส และต่อองค์การเอกชนที่พัฒนาเด็กและเยาวชน มีความสัมพันธ์กับความเชื่อถือต่อเนื้อหาที่เสนอปัญหาเด็กด้อยโอกาส และต่อองค์การเอกชนที่พัฒนาเด็กและเยาวชน
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
The purpose of this research was to study media exposure of people in Bangkok on underpriveleged children problem and to study the relationship of media exposure with awareness, perceived credibility and decision on supporting to non-governmental organizations for children development in Bangkok. Questionnaires were used to collect data from a total of 423 samples. Frequency, percentage, mean, t-test, one-way ANOVA and Pearson's Product Moment Correlation Coefficient were the statistics applied to analyze the data. SPSS for Windows program was used for data processing. The result of the study are as follows : 1. Most people are exposed to the problem of underprevileged children on mass media, specialized media at the moderate level and on interpersonal communication channel at the low level. Their credibility are also at the moderate level, but their decision on supporting to non-governmental organization for children development are at high level. 2.Exposure on underprevileged children problem on mass media, specialized media and interpersonal communication channel of people in Bangkok are significantly different among those with different educational levels and occupations. 3. Media exposure are not correlated with their awareness regarding underprevileged children problem and the importance of non-governmental organizations for children development. 4. Exposure on mass media, specialized media and interpersonal communication channel are not correlated with their credibility regarding content of the problem of underprevileged children and the importance of non-governmental organizations for children development in Bangkok. 6. Media awareness are negatively correlated with their decision on supporting to non-govermental organizations for children development in Bangkok. 7. Media credibility are not correlated with their decision on supporting to non-governmental organizations for children development in Bangkok. 8. Media awareness are Positively correlated with their credibility regarding content of the problem of underpreviledged children and the importance of non-governmental organizations for children development in Bangkok.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
ฐิติพลธำรง, วิไลลักษณ์, "การเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับปัญหาเด็กด้อยโอกาส ความตระหนัก ความเชื่อถือและการตัดสินใจของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร ในการให้การสนับสนุนองค์การเอกชนที่พัฒนาเด็กและเยาวชน" (1997). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 22935.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/22935