Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
ผลของการสอนสุขภาพที่บ้านต่อคุณภาพชีวิต ของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Effects of home health teaching on quality of life of hypertensive patients
Year (A.D.)
1998
Document Type
Thesis
First Advisor
พวงทิพย์ ชัยพิบาลสฤษดิ์
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
การบริหารการพยาบาล
DOI
10.58837/CHULA.THE.1998.534
Abstract
การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการสอนสุขภาพที่บ้านต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงโดยให้สมาชิกในครอบครัวมีส่วนร่วมในการเรียนรู้และเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตระหว่างผู้ป่วยที่ได้รับการสอนสุขภาพที่บ้านกับกลุ่มผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ได้รับการสอนตามปกติที่โรงพยาบาลกิจกรรมการสอนที่บ้านใช้แหล่งสนับสนุนทางครอบครัว และการรวมกลุ่ม ดูแลตนเองทางสุขภาพของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง กลุ่มตัวอย่างของการวิจัย คือ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุในคลีนิคโรคความดันโลหิตสูง แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลชุมพวง โรงพยาบาลชุมชนขนาด 60 เตียง จังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่างของการวิจัยครั้งนี้มีจำนวน 60 คน ได้จากการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง จากนั้นได้สุ่มแบบง่ายโดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการสอน คู่มือการดูแลตนเองที่บ้านสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง แผ่นพับเรื่องอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง แผ่นพับเรื่องการออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง แผ่นพับเรื่องการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ สำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง และแบบวัดคุณภาพชีวิตมาตรฐานขององค์การอนามัยโลก (WHOQOL-100) ซึ่งได้ผ่านการทดสอบความเที่ยงด้วยวิธีของครอนบาค ได้ค่าสัมประสิทธิ์เท่ากับ .87 ผลการวิจัยเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตวิเคราะห์โดยการทดสอบค่าที (t - test)ผลการวิจัยพบว่า1. คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ที่ได้รับการสอนสุขภาพที่บ้าน ภายหลังการสอนสูงกว่าก่อนที่จะมีการสอนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ที่ได้รับการสอนสุขภาพที่บ้าน ภายหลังการสอนสูงกว่าผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ที่ได้รับการสอนตามปกติที่โรงพยาบาลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
The purposes of this quasi-experimental research were to study the effects of home health teaching on quality of life of hypertensive patients, and to compare quality of life of hypertensive patients who were taught at home and the taught by ordinary teaching method. The study was conducted at the hypertensive clinic of the outpatient department in the Chumpaung Hospital, a 60 bed community hospital at the Nakhonrachasima Province. The total sample of 60 purposive sample were recruited. Then the simple random technique was performed to select each 30 patients for control and experimental groups. The interventions of the experimental were group teaching accord to the lesson plan with given the manual for self- care’s hypertensive patient, pamphlet about food, pamphlet of exercise and pamphlet of muscle relaxation. The reliability of the measurement, WHOQOL-1OO questionaire, for Cronbach alpha was .87. The effects of the intervention on quality of life was analysed by t-test. The major findings were as follows: 1. The quality of life of hypertensive patients, after taught at home, were statistically significant increased at .05 level. 2. The quality of life of hypertensive patients, who taught at home, were statistically significant higher at .05 level than those who taught by the ordinary method.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
ค้าขาย, สุทิน, "ผลของการสอนสุขภาพที่บ้านต่อคุณภาพชีวิต ของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง" (1998). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 22886.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/22886