Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

รูปแบบการดำเนินชีวิตและพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมของเยาวชนในกรุงเทพมหานคร

Year (A.D.)

1998

Document Type

Thesis

First Advisor

ยุบล เบ็ญจรงค์กิจ

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

การโฆษณา

DOI

10.58837/CHULA.THE.1998.264

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบถึงรูปแบบการดำเนินชีวิต พฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมของเยาวชนในกรุงเทพมหานคร และศึกษาถึงความสัมพันธ์ของรูปแบบการดำเนินชีวิตกับพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม โดยทำการวิจัยเชิงสำรวจ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัยกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน ทำการประมวลผลโดยโปรแกรม SPSS WINDOW ใช้สถิติการวิเคราะห์เชิงพรรณนา การวิเคราะห์เปรียบเทียบค่าเฉลี่ย t-test และ ANOVA การวิเคราะห์ปัจจัย และการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยมีดังนี้ 1. รูปแบบการดำเนินชีวิตของเยาวชนในกรุงเทพมหานคร สามารถจัดแบ่งได้เป็น 7 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มีแนวคิดอนุรักษ์ กลุ่มชอบทำกิจกรรมสังคม กลุ่มไม่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม กลุ่มเด็กบ้าน กลุ่มมีอุดมการณ์ กลุ่มรักตัวเอง และกลุ่มบันเทิงเฮฮา 2. พฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมของเยาวชนในกรุงเทพมหานคร อยู่ในระดับปานกลาง และลักษณะทางประชากร ด้าน เพศ และรายได้ส่วนบุคคลไม่มีความแตกต่างในพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม 3. รูปแบบการดำเนินชีวิตของเยาวชนในกรุงเทพมหานครที่ได้จากการวิจัยนี้ทั้ง 7 กลุ่ม มีความสัมพันธ์ในทางบวกกับพฤติกรรมการาบริโภคผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม ดังนี้ กลุ่มเด็กบ้าน (.355) กลุ่มที่มีแนวคิดเชิงอนุรักษ์ (.350) กลุ่มมีอุดมการณ์ (.327) กลุ่มชอบทำกิจกรรมสังคม (.274) กลุ่มบันเทิงเฮฮา (.274) กลุ่มรักตัวเอง (.256) และกลุ่มไม่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม (.211)

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

The purposes of the research were to segment lifestyles study green product consumption and determine the relation among lifestyles and green product consumption of Bangkok youths. The survey research used questionnaire to collect data from 400 respondents. Descriptive statistic, t-test, ANOVA, factor analysis and Pearson's product moment correlation coefficients in SPSS WINDOW were used to analyse data. The results are : 1. Lifestyles of Bangkok youths were segmented into 7 groups: the green conscious, the extroverts, the green indifferents, the homebodies, the green idealists, the self-carings and the entertain lovers. 2. Green product consumption of Bangkok youths was in the medium level. Analyses of variance and t-test indicated no statistical significant differences among green product consumption for 2 demographic variables-sex and income. 3. All lifestyle groups of Bangkok youths were positively correlated with green product consumption. Correlation coefficients were as followed the homebodies (.355), the green conscious (.350), the green idealists (.327), the extroverts (.274), the entertain lovers (.274), the self-carings (.256) and the green indifferents (.211).

Share

COinS