Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาเปรียบเทียบการเปิดรับสื่อ พฤติกรรมการไปห้างสรรพสินค้าและการเป็นเจ้าของสินค้าคงทน ของลูกค้าห้างสรรพสินค้าในเขตกรุงเทพมหานคร ก่อนและหลังวิกฤตเศรษฐกิจ

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

The comparative study of shopping behavior and durable goods owning of department store and supermarket patrons in the Bangkok Metropolitan area : before and after economic crisis

Year (A.D.)

1998

Document Type

Thesis

First Advisor

พนา ทองมีอาคม

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

การโฆษณา

DOI

10.58837/CHULA.THE.1998.259

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่าง 500 คนที่เก็บจากลูกค้าห้างสรรพสินค้า 10 แห่งในเขตกรุงเทพมหานคร แล้วนำผลไปเปรียบเทียบกับข้อมูลที่ได้เก็บไว้เมื่อปีพ.ศ. 2539 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบ และศึกษาถึงอิทธิพลของสภาพเศรษฐกิจต่อการเปิดรับสื่อ พฤติกรรมการไปห้างสรรพสินค้า และการเป็นเจ้าของสินค้าคงทนก่อนและหลังเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ ปีพ.ศ. 2540 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถามสถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ ค่าร้อยละ Crosstab และ Chi-square ซึ่งประมวลผลด้วยโปรแกรมสำเร็จ SPSS ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. การเปิดรับสื่อ หลังเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ กลุ่มตัวอย่างเปิดรับสื่อวิทยุในรถยนต์ สื่อเคเบิ้ลทีวี ทีวีดาวเทียม สื่อสิ่งพิมพ์รายวัน รายสัปดาห์ รายปักษ์ รายเดือน และรายสามเดือนลดลง เปิดรับสื่อวิทยุและโทรทัศน์ภายในบ้านเพิ่มขึ้นเล็กน้อย แต่ไม่พบการเปลี่ยนแปลงในการฟังวิทยุในที่ทำงาน 2. พฤติกรรมการไปห้างสรรพสินค้า กลุ่มตัวอย่างเดินทางมาห้างสรรพสินค้าเพิ่มขึ้นเล็กน้อย และเป็นการมาเพื่อซื้อสินค้าหรือบริการมากขึ้น แต่ใช้จ่ายเงินในการมาแต่ละครั้งน้อยลง โดยสินค้าที่ซื้อส่วนใหญ่ ได้แก่ ของใช้ประจำวัน และของใช้ส่วนตัว กิจกรรมอื่นๆ ได้แก่ รับประทานอาหาร และเดินดูสินค้า กลุ่มตัวอย่างเดินทางมาห้างในวันหยุดมากที่สุด โดยชอบมาห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเป็นอันดับแรกด้วยเหตุผลที่ว่า ใกล้บ้าน เดินทางสะดวก และมีสินค้าให้เลือกครบ 3. การเป็นเจ้าของสินค้าคงทน หลังเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ พบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นเจ้าของเครื่องดูดฝุ่น เครื่องซักผ้า เครื่องปรับอากาศ โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ เตาอบไมโครเวฟ เครื่องล้างจานสเตริโอ เครื่องทำน้ำอุ่น รถจักรยานยนต์ และรถยนต์ลดลง แต่เป็นเจ้าของตู้เย็นเพิ่มขึ้นเล็กน้อย

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

This research study conducted during the month of December 1998. The 500 samples were intercepted for interview at ten supermarkets and department stores in Bangkok area. Data were compared with another set of similar data collected earlier in 1996. The purpose is to compare media exposure, shopping behavior and durable goods owning of Thai consumer before and after the economic crisis. This research used crosstabulation and percentage point to compare data and Chi-square test using SPSS/PC. The results are: 1. Media exposure: After the economic crisis, there were a large decrease in the number of people who watching cable TV, sattelite TV, daily magazine, weekly, fortnightly, monthly and quaterly magazines. However, radio listening at home and free TV saw a small increase. While there was no change in office listening of radio. 2. Shopping behavior: People visited store more frequently, and with a larger percentage of intention to buy. People spent less money per trip. For those who intend to shop for products, there were increases in the intention to buy necessities such as household utensils or foods and personal products. If they did not intend to buy, they ate or just looked around for recreation. People still came to store during weekend. Central department store was the favourite store they chosed which the reason of close to home, easy to come and had complete assortment of goods. 3. Durable goods owning: Percentage of people who owned each of the products on the list decreased, the exception was refrigerator which made a small increase.

Share

COinS