Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
การวิเคราะห์การออมโดยใช้แบบจำลองทางเศรษฐกิจในประเทศไทย
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Macroeconometric analysis of saving in Thailand
Year (A.D.)
1998
Document Type
Thesis
First Advisor
นวลน้อย ตรีรัตน์
Second Advisor
กิตติ ลิ่มสกุล
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
เศรษฐศาสตร์
DOI
10.58837/CHULA.THE.1998.52
Abstract
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ศึกษาถึงปัจจัยที่มากำหนดพฤติกรรมการออมของครัวเรือนในแต่ละกลุ่มอาชีพ โดยแยกอาชีพที่ทำการศึกษาออกเป็น 5 กลุ่มอาชีพ ได้แก่ อาชีพเกษตรกรรม,ข้าราชการ พนักงานของรัฐ/รัฐวิสาหกิจ | ค้าขาย เจ้าของธุรกิจ | ลูกจ้างภาคเอกชน และ รับจ้างทั่วไป นอกจากนี้ยังศึกษาถึง เสถียรภาพในระยะยาวของปัจจัยที่กำหนดการออมของครัวเรือน ซึ่งในการศึกษาครั้งนี้ใช้ข้อมูลในโครงการ สำรวจเงินออมของฝ่ายวิชาการ ธนาคารแห่งประเทศไทย ในปี 2535/2536 โดยที่ทำการสำรวจครัวเรือนทั่วประเทศไทย จำนวน 1,465 ครัวเรือน สำหรับผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่กำหนดการออมในแต่ละกลุ่มอาชีพ ใช้การประมาณด้วยวิธีกำลังสองน้อยที่สุด ส่วนการดูเสถียรภาพในระยะยาวใช้แบบจำลองเชิงคุณภาพคือ Logit Model ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่กำหนดพฤติกรรมการออมของครัวเรือนที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมได้แก่ รายได้ชั่วคราวของครัวเรือน โดยมี MPS=0.326 และ APS=-0.023 เขตที่อยู่อาศัยของครัวเรือน และขนาดของครัวเรือน ส่วนปัจจัยที่กำหนดพฤติกรรมของครัวเรือนที่จะประกอบอาชีพข้าราชการ ได้แก่ รายได้ถาวรและรายได้ชั่วคราวของครัวเรือน โดยมี MPS=0.514 และ APS=0.329 สำหรับครัวเรือนที่ประกอบอาชีพค้าขาย เจ้าของธุรกิจ ปัจจัยกำหนดได้แก่ รายได้ประจำและรายได้ชั่วคราวของครัวเรือน โดยมี MPS=0.675 และ APS=0.350 เขตที่อยู่อาศัยของครัวเรือน และอัตราการพึ่งพิง ต่อมาปัจจัยที่กำหนดพฤติกรรมการออมของครัวเรือนที่ประกอบอาชีพลูกจ้างภาคเอกชนได้แก่ รายได้ถาวรและรายได้ชั่วคราว โดยมี MPS=0.635 และ APS=0.342 สุดท้ายครัวเรือนที่ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป ปัจจัยที่กำหนดได้แก่ รายได้ประจำและรายได้ชั่วคราวของครัวเรือน โดยมี MPS=0.740 และ APS=0. 253 เขตที่อยู่อาศัยของครัวเรือน และขนาดของครัวเรือน ส่วนผลการศึกษาในเรื่องเสถียรภาพของปัจจัยที่กำหนดการออมของครัวเรือนพบว่า รายได้ประจำ | รายได้ชั่วคราว | เขตที่อยู่อาศัยและอัตราการพึ่งพิง มีดุลยภาพระยะยาวกบการออมของครัวเรือนแต่ละครัวเรือน
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
This thesis is to analyze the factors determining household saving behavior in each occupation. The analysis is divided into five occupations: 1) Farmer 2) Civil servants 3) Business proprietors 4) Private employee 5) Wage earners. This study uses cross-section-data(CES) from the survey of the Bank of Thailand in 1992/1993 by survey the sampling of group of 1465 households in Thailand. Ordinary least square(OLS) is used in order to analyze the factors determining of household saving behavior in each occupation. And Quality Model (Logit Model) is estimating the technique used for analyzing stability of the factors determining household saving. The result of the study reveal that the factors have influence on Farmer saving's household are permanent income, transitory income, area (urban or rural) and size of household. The MPS and APS are 0.326 and -0.023 respectively. Factors influencing of Civil servants saving's household are permanent income and transitory income with the MPS and APS are 0.514 and 0.329 respectively. The factors influence on Business proprietors saving's household are permanent income, transitory income, area and dependency rate. The MPS and APS are 0.675 and 0.350 respectively. Factors influencing of Private employee saving's household are permanent income and transitory income with MPS and APS are 0.635 and 0.342 respectively. The factors influence on Wage owner saving's household are permanent income, transitory income, area and size of household. The MPS and APS are 0.740 and 0.253 respectively. In addition, the results of this study present that permanent income, transitory income, area and dependency rate have long run equilibrium in determining the behavior household saving.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
อัศวรุจิกุล, ชัยวุฒิ, "การวิเคราะห์การออมโดยใช้แบบจำลองทางเศรษฐกิจในประเทศไทย" (1998). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 22806.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/22806