Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
การผลิตกรดมะนาวจากกากมันสำปะหลังที่ผ่านการย่อยแล้วโดย Candida oleophila UNN33-3 ที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Citric acid production from hydrolysed cassava pulp by Candida oleophila UNN33-3 at 30 degree celsius
Year (A.D.)
1998
Document Type
Thesis
First Advisor
นลิน นิลอุบล
Second Advisor
ไพเราะ ปิ่นพานิชการ
Third Advisor
วาสนา โตเลี้ยง
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
เทคโนโลยีชีวภาพ
DOI
10.58837/CHULA.THE.1998.626
Abstract
การผลิตกรดมะนาวจากกากมันสำปะหลังที่ผ่านการย่อยแล้ว โดย candidaoieophila UNN33-3 ที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส พบว่าสารละลายน้ำตาลที่ได้จากการย่อยกากมันสำปะหลังที่ผ่านการล้างน้ำ เป็นแหล่งคาร์บอนที่เหมาะสมกว่าสารละลายน้ำตาลที่ได้จากกากย่อยกากมันสำปะหลังแห้งที่ผ่านการล้างน้ำ และสูตรอาหารที่เหมาะสมต่อการผลิตกรดมะนาวประกอบด้วย สารละลายน้ำตามที่ได้จากการย่อยกากมันสัมปะหลังสดที่ผ่านการล้างน้ำ มีปริมาณกลูโคสเท่ากับ 220 กรัมต่อลิตร สารสกัดจากยีสต์ 1.0 กรัมต่อลิตร แอมโมเนียมคอลไรด์ 1.15 กรัมต่อลิตร โพแทสเซียมไดไฮโทรเจนฟอสเฟต 0.40 กรัมต่อลิตร แมกนีเซียมซัลเฟต 0.40 กรัมต่อลิร แมงกานีส ซัลเฟต 0.45 กรัมต่อลิตร และแคลเซียมคาร์บอเนต 120 กรัมต่อลิตร เมื่อนำสูตรอาหารที่เหมาะสมนี้มาทำการผลิตในระดับขวดเขย่า ที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส ได้ผลผลิตกรดมะนาวเท่ากับ 109.71 กรัมต่อลิตร ที่ระยะเวลา 96 ชั่วโมง การผลิตในถังหมักขนาด 5 ลิตร โดยใช้สูตรอาหารดังกล่าว ได้ปริมาณกรดมะนาว 115.91 และ 136.81 กรัมต่อลิตร ที่ระยะเวลาการหมัก 96 ชั่วโมงและ 120 ชั่วโมง โดยมีค่าสัมประสิทธิของผลผลิต (Yp/s) เท่ากับ 0.60 และ 0.64 ตามลำดับ เมื่อให้ความเข้มข้นเริ่มต้นของกลูโคสเป็น 100 กรับต่อลิตรและควบคุมระดับความเข้มข้นของกลูโคสเป็น 50 กรัมต่อลิตรจนมีปริมาณน้ำตาลทั้งหมดเท่ากับ 220 กรัมต่อลิตร ได้ปริมาณกรดมะนาว 139.68 และ 154.96 กรัมต่อลิตร ที่เวลาการหมัก 96 ชั่วโมงและ 120 ชั่วโมง มีค่าสัมประสิทธิ์ของผลผลิต เท่ากับ 0.70 และ 0.71 ตามลำดับนอกจากนี้พบว่าการหมักโดยใช้สารละลายน้ำตาลที่ด้จากการย่อยกากมันสำปะหลัง น้ำหมักไม่มีความหนืดเหมือนที้พบในการหมักโดยใช้สารละลายน้ำตาลจากกากย่อยแป้งมันสำปะหลัง
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
Citric acid production from hydrolyzed cassava pulp by Candida oieophika at 30 degree Celsius was studied. Acid hydrolysate of washed fresh cassava pulp was more suitable as a carbon source than that of the washed dry cassava pulp. Suitable composition contained per litre acid hydrolysate of washed fresh cassava pulp equivalent to 220 g. of gluxxose, 10 g. yeast extract, 1.15g. ammonium chloride, 0.40 g. potassium dihydrogenphosphate, 0.40 g. magnesium sulfate, 0.45 g. manganese sulfate and 120 g. calcium carbonate. Cultivation by using this medium in a shaking flask at 30 degree Celsius yielded 109.71 g. of citric acid per litre at 96 h. Cultivation in a 5 litre-fermentor using the same medium yielded citric acid of 115.91 g/l and 136.81 g./l at 96 h and 120 h with yield coefficients (Yp/s) of 0.60 and 0.64 | respectively. When the intial glucose concentration was100 g/l and then maintained at 50 g/l until total amount of 220 g/l was reaxhed, citric acid concentrations of 139.68 g/l and 154.96 g/l were obtained at 96 h and 120 h of cultivation with yield coefficients of 0.70 and 0.71 respectively . Furthermore. No viscosity was observed in the fermentation broth by using hydrolysate from cassava starch.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
ตั้งปนิธานดี, คงศักดิ์, "การผลิตกรดมะนาวจากกากมันสำปะหลังที่ผ่านการย่อยแล้วโดย Candida oleophila UNN33-3 ที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส" (1998). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 22749.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/22749