Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การผลิตและทำไลเปสให้บริสุทธิ์บางส่วนจาก Bacillus subtilis ที่เลี้ยงในน้ำมันพืช

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Production and partial purification of lipase from Bacillus subtilis in vegetable oil as carbon source

Year (A.D.)

1998

Document Type

Thesis

First Advisor

โสภณ เริงสำราญ

Second Advisor

ปิยพร ณ นคร

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

เทคโนโลยีชีวภาพ

DOI

10.58837/CHULA.THE.1998.619

Abstract

ทำการเลี้ยงเชื้อ Bacillus subtilis เพื่อผลิตไลเปสและทดสอบสูตรอาหารที่คาดว่าเหมาะสมสำหรับการผลิตเปส โดยสูตรอาหารประกอบด้วย แหล่งคาร์บอนซึ่งใช้น้ำมันมะกอก 0.075 % ที่ทำให้เป็นวัฏภาคเดียวโดยใช้ เลซิตินเป็นอิมัลซิฟายเออร์ และมี yeast extract หรือ inorganic salf เป็นแหล่งไนโตรเจน โดยมีสภาวะการเลี้ยงเชื้อที่ความเร็วรอบในการเขย่าให้อากาศ 200 รอบต่อนาที | ใช้เชื้อเริ่มต้นที่ความขุ่นเมื่อวัดการดูดกลืนแสงที่ความยาว คลื่น 600 นาโนเมตร เท่ากับ 0.1 pH เริ่มต้นในการเลี้ยงเชื้อเท่ากับ 6-8 | อุณหภูมิ 300 ซ และเวลาเลี้ยงเชื้อ 6 ชั่วโมงผลการทดสอบไลเปสที่ได้ในหลังเลี้ยงเชื้อโดยการวัดปริมาณกรดไขมันที่ถูกย่อ จากชับสเตรทด้วยการไตเตรทกับ 0.025 โมล โปแตสเซียมไฮดรอกไซด์สูตรอาหารดังกล่าวได้ไลเปส 8.86 ยูนิตต่อมิลลิลิตร และค่าแอคติวิตีรวม 2,685 ยูนิต ไลเปสที่ได้เมื่อนำมาตกตะกอนหลังแยกด้วยวิธี aqueous two-phase systems โดยปรับสัดส่วนของ PEG กับแอมโมเนียมซัลเฟต พบสัดส่วนของ aqueous two-phase systems ที่เหมาะสม คือ มีอัตราส่วนของ PEG: แอมโมเนียมซัลเฟต: น้ำเลื้ยงเชื้อ เท่ากับ 35.00 : 6.00:59.00 เมื่อตกตะกอนแล้วนำไปหาแอคติวิตีจากน้ำเลี้ยงเชื้อ 300 มิลลิลิตรได้ไลเปสมีแอคติวิตี 13.2 ยูนิตต่อมิลลิลิตร มีความบริสุทธิ์ 28.31 เท่า และได้ผลผลิต 34.8 เปอร์เซ็นต์ ไลเปสที่ได้เมื่อนำไปหาน้ำหนักโมเลกุลเปรียบเทียบด้วยวิธีเอสดีเอส-โพลีอะไครลาไมด์เจลอิเลคโตรโฟลีซิสจะได้น้ำหนักโมเลกุล 79 กิโลดาลตัน

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

The culture of Bacillus | which produced extracellular lipase, was tested for suitable mediam for the production of lipase. The one phase medium which composed of 0.075 % olive oil as darbon source, 0.025% lecithin as emulsifier, and yeast extract or inorganic salt as nitrogen source. The optimum conditions found for cultivation of Bacillus subtilis were agitation at 200 rpm, inoculation with bacteria concentration OD 0.1 at 600 nm, medium pH 6.8, and incubation at 30℃ for 6 hours before harvested. The result showed lipase activity as determination of fatty acids liberated by titration with 0.025 MKOH. After precipitation by (NH4) 2SO4 from 3each phase of the two-aqueous phase; the suitable ratio of the three components in the two-aqueous phase total lipase activity was found to be 35.00:6.00:59.00 for PEG 6000 (NH4) 2SO4 :culture filtrate. The lipase was purified up to 28.6 fold with and overall recovery of 34.8%. SDS-PAGE showed the major band with relative molecular weight (M r) of 79 KDa.

Share

COinS