Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
ผลของการให้เฮปารินชนิดน้ำหนักโมเลกุลต่ำ ร่วมกับตัวยับยั้งเอนไซม์กระตุ้นการเปลี่ยนแปลงแองจิโอเทนชิน ต่ออัตราการขับถ่ายอัลบูมินทางปัสสาวะและความหนา ของเยื่อฐานโกลเมอรูลัสในไตของหนูแรท ที่เป็นเบาหวานซึ่งถูกตัดไตออกหนึ่งข้าง
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Effect of low molecular weight heparin combine with angiotensin converting enzyme inhibitor to urine albumin excretion rate and glomeurlar basement membrane thickness in unilateral nephrectomized diabetic rat
Year (A.D.)
1997
Document Type
Thesis
First Advisor
เกรียง ตั้งสง่า
Second Advisor
สมพงษ์ สุวรรณวลัยกร
Third Advisor
สุรนันท์ ตีระพัฒนพงษ์
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
อายุรศาสตร์
DOI
10.58837/CHULA.THE.1997.858
Abstract
Heparin และ อนุพันธ์ มีคุณสมบัติในการยับยั้งการแบ่งตัวของ mesangial cell (anti-proliferation) และการสร้าง extracellular matrix ของ glomerular basement membrane (GBM) รวมทั้งรักษาคุณสมบัติความหนาแน่นของประจุลบ (anionic charge density) บน GBM อีกด้วย งานวิจัยนี้มีจุดม่งหมายที่จะศึกษา low molecular weight heparin (LMWH) ร่วมกับ angiotensin-converting enzyme inhibitor (ACEI) ต่อการป้องกัน diabetic nephropathy ในหนูทดลอง โดยแบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ Streptozotocin-diabetic rat (D), streptozotocin-diabetic with uninephrectomized rat (UN-D), UN-D rat with ACEI | UN-D rat with LMWH และ UN-D rat with combine Rx (ACEI+LMWH) แล้วติดตามการรักษาเป็นเวลา 12 สัปดาห์ เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงของปริมาณอัลบูมินในปัสสาวะ (urine albumin excretion per creatinine clearance:UAE/Ccr) และความหนาของ GBM ผลการวิจัยพบว่า กลุ่ม UN-D combine Rx (N=5) มีปริมาณ อัลบูมินในปัสสาวะ (UAE/Ccr) และความหนาของ GBM น้อยกว่ากลุ่มควบคุม UN-D (N=5) (3.18+/-0.71 vs 48.46+/- 8.22 : PO.01) และ (173+/-13.2 vs 278+/-28.3 นาโนเมตร P<0.01) ตามลำดับ ส่วนกลุ่ม UN-D with ACEI (N=4) มี ปริมาณอัลบูมินในปัสสาวะน้อยกว่ากลุ่มควบคุม UN-D (4.04+/-1.82 vs 48.46+/-8.22 P<0.01) แต่มีความหนาของ GBM ไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุม UN-D (216+/-17.9 VS 278+/-28.3 นาโนเมตร p>0.05) กลุ่ม UN-D with LMWH(N=7) มีปริมาณอัลบูมินในปัสสาวะน้อยกว่ากลุ่มควบคุม UN-D (23.36+/-5.8 vs 48.46+/-8.22 P<0.05) และความหนา ของ GBM น้อยกว่ากลุ่มควบคุม UN-D (152+/-7.7 vs 278+/-28.3 นาโนเมตร p<0.01) อย่างไรก็ตามกลุ่ม UN-D with LMWH ก็ยังมีปริมาณอัลบูมินในปัสสาวะมากกว่ากลุ่ม UN-D combine Rx (P<0.05) สรุปว่า LMWH สามารถป้องกัน การเกิด albuminuria และการหนาตัวขึ้นของ GBM จากโรคเบาหวานได้ ส่วนการให้ LMWH ร่วมกับ ACEI มีผลป้องกันการเพิ่มของอัลบูมินในปัสสาวะ และความหนาของ GBM ได้ดีกว่าผลจากการให้ยาเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
Heparin and derivatives can inhibit mesangial cell proliferation, extracellular matrix synthesis of glomerular basement membrane (GBM) and also preserve anionic charge density on GBM. To study the prevention of diabetic nephropathy by low molecular weight heparin (LMWH) and angiotensin-converting enzyme inhibitor (ACEI). We measured urine albumin excretion rate (UAE), creatinine clearance(Ccr) and GBM thickness after 12 weeks of treatment. Animal groups included Streptozotocin diabetic rat (D), uninephrectomized diabetic rat (UN-D), UN-D treated by ACEI, UN-D treated by LMWH and UN-D treated by combined drugs (ACEI + LMWH). All study groups had similar level of plasma glucose and glycated hemoglobin. The combined treatment group (N=5) had lower UAE/Ccr ratio and GBM thickness than control group (UN-D) (N=5) (3.18+/-0.71 VS 48.46 +/-8.22 : P<0.01 and 173+/-13.2 VS 278+/-28.3 nanometer p<0.01, respectively). The ACEI Rx group (N=4) had lower UAE/Ccr than control (N=5) group (4.04 +/-1.82 VS 48.46+/-8.22 P<0.01), but no differnce in GBM thickness. (216+/-17.9 VS 278+/-28.3 p>0.05). The LMWH Rx (N=7) group had lower UAE/Ccr and GBM thickness than control group (23.36+/-5.8 VS 48.46 +/-8.22 P<0.05, 152 +/-7.7 VS 278+/-28.3 P<0.01 respectively). However, the LMWH Rx group still had higher UAE/Ccr than the combined Rx group. (P<0.05) conclusion : 1. LMWH can prevent albuminuria and GBM thickness in diabetic rat 2. Combination of LMWH and ACEI has additive effect in prevention of diabetic nephropathy.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
อวิหิงสานนท์, ยิ่งยศ, "ผลของการให้เฮปารินชนิดน้ำหนักโมเลกุลต่ำ ร่วมกับตัวยับยั้งเอนไซม์กระตุ้นการเปลี่ยนแปลงแองจิโอเทนชิน ต่ออัตราการขับถ่ายอัลบูมินทางปัสสาวะและความหนา ของเยื่อฐานโกลเมอรูลัสในไตของหนูแรท ที่เป็นเบาหวานซึ่งถูกตัดไตออกหนึ่งข้าง" (1997). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 22484.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/22484