Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
การศึกษาปัจจัยเสริมการเกิดภาวะเม็ดโลหิตขาวต่ำรุนแรงในผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่ได้รับยาเคมีบำบัด
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
A predictive model of life-threatening febrile neutropenia in aggressive Non-Hodgkin's lymphoma post CHOP chemotherapy
Year (A.D.)
1997
Document Type
Thesis
First Advisor
ธานินทร์ อินทรกำธรชัย
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
อายุรศาสตร์
DOI
10.58837/CHULA.THE.1997.853
Abstract
โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดก้าวร้าว (Aggressive Non-Hodgkin's Lymphoma) เป็นโรคมะเร็งทีมีความ สำคัญโรคหนึ่งของประเทศไทย เนื่องจากพบได้บ่อยในคนไทย และยังสามารถรักษาให้หายขาดได้ด้วยยาเคมีบำบัด ภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญจากการให้การรักษาด้วยวิธีดังกล่าวคือ การเกิดไข้ในระหว่างที่ผู้ป่วยมีเม็ดโลหิตขาวต่ำหลังจากได้รับยาเคมีบำบัด ซึ่งอาจเป็นสาเหตุทำให้ผู้ป่วยถึงแก่ชีวิตหากไม่สามารถให้การรักษาได้ทัน ดังนั้น การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาหาปัจจัยทางคลินิคที่สามารถใช้พยากรณ์การเกิดภาวะแทรกซ้อนดังกล่าว เพื่อนำไปสู่การให้การป้องกันแก่ผู้ป่วย ที่มีโอกาสเสี่ยงสูงที่จะเกิดภาวะดังกล่าวได้ในอนาคต ผู้ป่วยใหม่ซึ่งได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดก้าวร้าว (Aggressive NHLs) ซึ่งได้รับการ รักษาที่สาขาโลหิตวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ทั้งหมด 81 ราย เป็นชาย 40 ราย หญิง 41 ราย ได้รับการซักประวิติ การตรวจร่างกาย การเจาะเลือดเพื่อตรวจหาค่าของเม็ดโลหิตขาว ระดับ total bilirubin, creatinine | LDH, albumin การเจาะตรวจไขกระดูก การตรวจพิเศษทางรังสีวิทยาเพื่อหาระยะของโรคก่อนเริ่มการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด (CHOP regimen) การซักประวัติ ตรวจร่างกาย และเจาะเลือดเพื่อตรวจหาระดับเม็ดโลหิตขาวซ้ำ หลังจากได้รับยาเคมีบำบัด ประมาณ 7-14 วัน (ช่วง Nadir count) หรือเมื่อมีอาการไข้ ผลการศึกษาพบว่า มีผู้ป่วยที่เกิดภาวะไข้ในช่วงที่มีเม็ดโลหิตขาวตํ่ากว่า 0.5x109/ ลิตร หลังได้รับยาเคมี บำบัดทั้งหมด 21 ราย คิดเป็นร้อยละ 25.9 ผลจากการคำนวณทางสถิติพบว่าการเปลี่ยนแปลงของระดับ serum total bilirubin ,ค่า serum albumin และ ภาวะที่มีโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองกระจายเข้าไปในไขกระดูก มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะไข้ในระหว่างที่มีเม็ดโลหิตขาวต่ำหลังการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดอย่างมีนัยสำคัญ โดยมีค่า p = 0.0007, 0.0012 และ 0.0010 ตามลำดับ และมีค่า 95% confidence interval ของ serum total bilirubin เท่ากับ - 0.782 1 - 0.180 และ ของ serum albumin เท่ากับ 0.219, 0.852 การศึกษานี้พบว่า การเปลี่ยนแปลงของระดับ serum total bilirubin | serum albumin และภาวะที่มีมะเร็ง กระจายเข้าในไขกระดูก เป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะไข้ในระหว่างทีเม็ดโลหิตขาวต่ำหลังการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดสูตร CHOP ในผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดก้าวร้าวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
Aggressive Non-Hodgkin's lymphoma is an important malignant disease Thailand .! This malignant disease can be cure by standard systemic ‘CHOP’ chemotherapy regimen. With this treatment, some patients develop serious complication, febrile neutropenia. The objective of this study is to identify the factors that statistically significant correlated with the occurrence of febrile neutropenia in aggressive NHLs patients after chemotherapy ’CHOP’ regimen. Eighty one cases of newly diagnosed aggressive Non-Hodgkin’s lymphoma were included in this study . There are forty male and forty one female. Pretreatment evaluation for patient status, performance status disease status, staging of disease, and blood tested for complete blood count, serum creatine, LDH and total bilirubin level. Bone marrow biopsy was done before starting chemotherapy, and follow up clinical ,CBC at the time of nadir count or at the occurrence of fever. At the end of the study, we found that 21 patients (25.9%) developed febrile neutropenia at the time of nadir count. There are three factors that significantly correlated with the occurrence of febrile neutropenia : the change of serum total bilirubin, serum albumin and bone marrow involvement | p value = .0007 | .0012 and .0010 ,respectively and 95% confident interval of serum total bilirubin and serum albumin are - 0.782, - 0.180 and 0.219, 0.852 respectively. Inconclusion, the serum total bilirubin ,serum albumin level, and bone marrow involvement are the three factors that significantly corretaled with the occurrence of febrile neutropenia in aggressive Non-Hodgkin's lymphoma post chemotherapy ‘CHOP’ regimen.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
สุธีโสภณ, จุฑารัตน์, "การศึกษาปัจจัยเสริมการเกิดภาวะเม็ดโลหิตขาวต่ำรุนแรงในผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่ได้รับยาเคมีบำบัด" (1997). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 22479.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/22479
ISBN
9746373579