Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิเคราะห์รายวิชาที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมศึกษา ในหลักสูตรครุศึกษาของมหาวิทยาลัยสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

An analysis of the courses related environmental education in teacher education curriculum at the higher education level of universities under the Ministry of University Affairs

Year (A.D.)

1997

Document Type

Thesis

First Advisor

ทิพย์สิริ กาญจนวาสี

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

ครุศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

สุขศึกษา

DOI

10.58837/CHULA.THE.1997.364

Abstract

วิเคราะห์เอกสารหลักสูตรครุศึกษาในรายวิชาที่เกี่ยวกับ สิ่งแวดล้อมศึกษา ในหลักสูตรครุศึกษาของมหาวิทยาลัย สังกัดทบวงมหาวิทยาลัย โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารหลักสูตรของรายวิชา ที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมศึกษา และส่งรายชื่อวิชาดังกล่าวไปยังมหาวิทยาลัยทั้ง 12 สถาบัน ได้เอกสารประมวลการสอนที่สมบูรณ์ครบถ้วน ซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้จำนวน 32 รายวิชา จากนั้นดำเนินการวิเคราะห์ลงในแบบวิเคราะห์หลักสูตร สิ่งแวดล้อมศึกษา ซึ่งผลการวิจัยพบว่า 1. ลักษณะของรายวิชาที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมศึกษา ส่วนใหญ่เปิดให้เรียนในหมวดวิชาเฉพาะ (เอก) ในลักษณะของสิ่งแวดล้อมที่แทรกในรายวิชาอื่นๆ มากที่สุด รองลงมาเปิดให้เรียนในหมวดวิชาการศึกษาทั่วไป ที่พบน้อยคือในหมวดวิชาชีพและในหมวดวิชาเลือกเสรี 2. วัตถุประสงค์ของรายวิชาที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมศึกษาพบว่า ส่วนใหญ่ต่างมุ่งหวังให้บัณฑิตมีความรู้-ความเข้าใจ และความตระหนักถึงคุณประโยชน์ของสิ่งแวดล้อม และผลกระทบจากการใช้วิทยาศาสตร์-เทคโนโลยี และการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการดำรงชีวิต รองลงมามุ่งให้ความรู้ในการเลือกใช้ทรัพยากรธรรมชาติ มาป้องกันการเสียสมดุลย์ของปัญหาสิ่งแวดล้อม ที่พบน้อยที่สุด คือ การพัฒนาสิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืน 3. เนื้อหาสาระที่บรรจุในรายวิชาที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมศึกษา ส่วนใหญ่มุ่งหวังให้บัณฑิตมีความรู้ด้าน การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นิเวศวิทยา และการจัดการทรัพยากร รองลงมา มุ่งให้ความรู้ด้านสังคมมนุษย์กับเศรษฐกิจและวัฒนธรรม มีบางรายวิชาบรรจุเนื้อหาด้านกฎหมาย และมาตราการควบคุมแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม และเทคนิคการวิเคราะห์ของสิ่งแวดล้อมเข้าไว้ด้วย ไม่พบรายวิชาใดบรรจุเนื้อหาด้านมโนทัศน์ และจรรยาบรรณทางสิ่งแวดล้อมอย่างชัดเจน 4. กิจกรรมการเรียนการสอน ส่วนใหญ่เน้นการบรรยาย อภิปรายซักถามและตอบคำถาม ศึกษาด้วยตนเองและใช้โสตทัศนูปกรณ์ รองลงมา คือ การเชิญวิทยากรพิเศษ ทำรายงาน ค้นคว้ารายบุคคล-รายกลุ่มและวิจารณ์ รายงานที่พบน้อยที่สุดคือ การศึกษานอกสถานที่ ทำโครงการกรณีศึกษา สรุปประเด็น-วิเคราะห์ปัญหาและกิจกรรมร่วมพัฒนาชุมชน ไม่พบรายวิชาใดระบุกิจกรรมการเรียนการสอน โดยการใช้เกมส์และสถานการณ์จำลอง 5. การวัดและการประเมินผล เน้นการสอบ รองลงมา สังเกตการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน ตอบคำถาม ศึกษาค้นคว้า รายงาน การทดสอบก่อนและหลังเรียน ที่พบน้อยที่สุด คือ การสังเกตการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์โดยนักเรียน เช่น เข้าร่วมโครงการเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

To analyze courses related to the Environmental Education in teacher education curriculum among the universities under the Ministry of University Affairs. Thirty-two completed course syllabus were recived from the sample university. The data were analyzed for the conclusion regarding the objective, contents, teaching and learning activity and measurement and evaluation. The findings were as follows : 1. Most courses related to Environmental Education were offered in major areas in general education respectively, only few were found in vocational and elective courses. 2. The objectives of courses related the Environmental Education. It was found that these objectives mostly emphasized on providing knowledge and awareness about the benefit of the environment and the impact of the using science and technology, altered the humand life and aims course emphasized the skills in using natural resources to protect the Environmental problems. At least to promote of the Environmental sustainable. 3. Most of contents regarding Environmental Education emphasized the knowledge in conservation of natural resources and Environment management. The knowledge in ecosystem, social science and socio-economics were found minor emphasized. Some courses contained the content on the Environmental Laws and the analytical technique regarding Environment. The content concerning concepts and Ethics about Environment were not found in the courses related Environmental Education. 4. The most application of the courses it was found that emphasized on lecturing, discussing, self study and using audio-visual media. Minor emphasized were found guest-speakers, reporting, individual and group discussing, out door studying, case study, community participation were the least found in the teaching. Using game and simulation were not found. 5. The measurement and evaluations emphasized mostly on students examination observation in classroom, reporting. Observation in environmental project, pretest-posttest were found the least applied.

Share

COinS