Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

จุลพยาธิวิทยาในเนื้อเยื่อตับของปลานิล Oreochromis niloticus ที่ได้รับสารสกัดจากเมล็ดสะเดา Azadirachta indica เป็นระยะเวลานาน

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Histopathology of Tilapia Oreochromis niloticus liver after long-term exposure to neem Azadirachta indica seed extract

Year (A.D.)

1997

Document Type

Thesis

First Advisor

กิ่งแก้ว วัฒนเสริมกิจ

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

สัตววิทยา

DOI

10.58837/CHULA.THE.1997.834

Abstract

ศึกษาการเปลี่ยนแปลงเนื้อเยื่อตับของปลานิล Oreochromis niloticus ที่ได้รับสารสกัดเมล็ดสะเดาอินเดีย ชื่อทางการค้า นีมิกซ์ การทดลองหาค่า LC[subscript 50] ที่ 96 ชั่วโมง ของสารสกัดนีมิกซ์ในปลานิล โดยวิธีการทดสอบความเป็นพิษแบบเฉียบพลัน ได้ค่าเท่ากับ 34.62 มิลลิกรัมต่อลิตร แล้วดำเนินการทดสอบความเป็นพิษต่อตับในระยะเวลา 5 เดือน ที่ความเข้มข้น 10.41 มิลลิกรัมต่อลิตร ใช้ลูกปลานิล อายุ 1 เดือน เก็บตัวอย่างตับปลาของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมทุกหนึ่งเดือนจนถึงเดือนที่ห้า ผลการศึกษาภายใต้กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง พบการเปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื่อที่มีความรุนแรงน้อยไปจนถึงรุนแรงมาก ได้แก่ การบวมน้ำของเซลล์ตับ การลดลงของแวคคิวโอลไขมันและการสะสมไฮยาลินแกรนูลในเซลล์ตับ การตายของเซลล์ตับในลักษณะที่เป็นหย่อมและแพร่กระจายรอบหลอดเลือด การขยายตัวของไซนูซอยด์ การเกิดเลือดคั่งในหลอดเลือด การหลุดของเซลล์เยื่อบุชั้นในหลอดเลือด และการอักเสบของเยื่อหุ้มตับ และจากการศึกษาโครงสร้างละเอียดของเซลล์ พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในระยะเวลาก่อนหน้าเมื่อเปรียบเทียบกับการศึกษาภายใต้กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวประกอบด้วย การเพิ่มจำนวน การขยายตัว การแตกหัก การเรียงตัวล้อมรอบไมโตคอนเดรีย และการเรียงตัวเป็นวงของเอนโดพลาสมิคเรติคิวลัมชนิดขรุขระ พบไมโตคอนเดรียในลักษณะที่มีการหดตัว และหรือบวมตัวมีเพิ่มจำนวนของเซคันดารี่ไลโซโซม และพบออโตฟาจิคแวคคิวโอลในไซโตพลาสซึม นอกจากนี้ภายในนิวเคลียสพบการรวมตัวของโครมาตินอยู่บริเวณใกล้เยื่อหุ้มนิวเคลียสของเซลล์ตับ ความเสียหายของเนื้อเยื่อตับทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้น โดยมีความสัมพันธ์กับระยะเวลาที่ปลาได้รับสารสกัดเมล็ดสะเดา สรุปได้ว่าสารสกัดเมล็ดสะเดาอินเดีย (นีมิกซ์) ก่อให้เกิดความเป็นพิษกึ่งเรื้อรังต่อเนื้อเยื่อตับปลานิล

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

Histopathological alteration of Tilapia Oreochromis niloticus liver after long term exposure to neem seed extract (Neemix) Azadirachta indica A. Juss. was studied. The LC[subscript 50] 96 hours of neem seed extract on Tilapia for acute toxicity test was 34.62 mg/l. From the application value, a sublethal concentration for long-term study was calculated at 10.41 mg/l. Young Tilapia, 1 month old were exposed to this sublethal concentrate of neemix for 5 months. The livers of treated and control groups were sampled every month for light microscopic and transmission electron microscopic study. Light microscopic examination of liver samples revealed a variety changes from mild to severe, i.e. hydropic swelling, fat droplet and hyalin granule accumulation, both focal and diffuse necrosis near blood vessels, sinusoid dilatation and blood congestion, subcapsular space inflammation and the loss of endothelial cells from blood vessels. The histochemical study also showed a reduction of lipid droplets throughout the experiment. Ultrastructural changes of liver calls began earlier than shown by the LM study and comprised proliferation, dilatation, fragmentation, parallel array and concentric lamella of RER. Mitochondrial contraction and swelling, abundace of secondary lysosomes and autophagic vacuoles were seen in cytoplasm and perichromatin clumping nucleus were noticed. The severity of changes were depended on the duration of treatment. It can be concluded that the neem-based product (Neemix) caused subchronic toxicity effects on Nile Tilapis liver.

Share

COinS