Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
ลักษณะไทยสมัยใหม่สำหรับงานสถาปัตยกรรมประเภทบ้านพักอาศัย
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
The modern Thai character for residential architecture
Year (A.D.)
1997
Document Type
Thesis
First Advisor
วิมลสิทธิ์ หรยางกูร
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
สถาปัตยกรรม
DOI
10.58837/CHULA.THE.1997.1042
Abstract
ศึกษาทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาลักษณะไทยสมัยใหม่จากอาคารตัวอย่าง ซึ่งเป็นอาคารที่ได้รับรางวัลสถาปัตยกรรมดีเด่น จากสมาคมสถาปนิกสยามฯ และอีกส่วนหนึ่งเป็นอาคาร ซึ่งเป็นที่ยอมรับในคุณค่าทางสถาปัตยกรรม โดยทำการสำรวจลักษณะกายภาพของอาคารดังกล่าว พร้อมทั้งศึกษาความคิดเห็นของ สถาปนิกผู้ออกแบบ ผู้ใช้สอยอาคาร คณะกรรมการตัดสินรางวัลสมาคมสถาปนิกสยามฯ และอีกส่วนหนึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิด้านสถาปัตยกรรมไทย ที่มีต่อลักษณะไทยสมัยใหม่ของอาคารตัวอย่างที่ศึกษา และความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาการพัฒนาลักษณะไทยสมัยใหม่สำหรับงานสถาปัตยกรรมประเภทบ้านพักอาศัย เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปสร้างแบบสอบถาม สำหรับสอบถามความคิดเห็นในเรื่องดังกล่าวกับกลุ่มสถาปนิกทั่วไป และกลุ่มบุคคลทั่วไป ผลจากการวิจัยที่ได้ทำให้ทราบถึงลักษณะไทยสมัยใหม่ที่เด่นชัด ลักษณะไทยเชิงรูปธรรม ได้แก่ การจัดกลุ่มอาคาร ลักษณะหลังคา ชาน เสาลอย ซุ้มประตู พื้นที่ว่างเชื่อมภายนอกอาคาร สัดส่วนและการเจาะช่องเปิด ราวระเบียงลายหน้าจั่ว ค้ำยัน การจัดภูมิทัศน์ และลักษณะไทยเชิงนามธรรม ได้แก่ ลักษณะเบาและลอยตัว ลักษณะโปร่ง-โล่ง ลักษณะร่มรื่น ส่วนแนวทางการพัฒนาลักษณะไทยสมัยใหม่สำหรับงานสถาปัตยกรรมประเภทบ้านพักอาศัย มีความสอดคล้องกับปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการออกแบบให้มีลักษณะไทยสมัยใหม่ ได้แก่ การนำลักษณะไทยมาใช้ในการออกแบบสภาพแวดล้อม ประโยชน์ใช้สอบสมัยใหม่ วัสดุและเทคโนโลยี การอนุรักษ์พลังงาน นอกจากนี้ จากการศึกษายังพบว่าลักษณะไทยสมัยใหม่บางประการ และแนวทางการพัฒนาลักษณะไทยสมัยใหม่บางเรื่อง กลุ่มสถาปนิกทั่วไปและกลุ่มบุคคลทั่วไป มีความคิดเป็นที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ ย่อมแสดงให้เห็นว่าสถาปนิกผู้ออกแบบควรตระหนักถึง ความคิดเห็นของกลุ่มบุคคลทั่วไปที่มีต่อลักษณะไทยสมัยใหม่ เพื่อเป็นข้อมูลในการออกแบบต่อไป.
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
To study the theories and works in line with modern Thai character for residential architecture based on the model of the award-winning houses, and with it a puestionnaire about the attitudes toward the modern Thai character for residential architecture and its development among architects, building dwellers, the award committee of ASA and the architects specialized in Thai architecture. The questionnaire will be handed out to two groups of respondents--general architects and the general public. The findings reveal the distinct physical elements of modern Thai architectural characteristics which include building grouping, roof profile, varanda, free-standing columns, gate way, inter-lingkages between inner and outer space, the proportion and arrangement of void, balusters, gable end patterns, brackets, as weel as landscape. The abstract modern Thai characters include lightness, transparency and shadiness. Nonetheless, the architects' conceptual patterns in the housing accord those of the general public in some areas, hinting that architects need to reckon with some specific factors. Architects must look upon the design including the harmony between the Thai character, surroundings, material used, and new technology in energy saving for their buildings. Not only that, the difference in attitudes among sampling group as to which direction the modern Thai character for residential architecture will take is also found, pointing architects to considering the general people's perception.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
ประทีป, ประวิช, "ลักษณะไทยสมัยใหม่สำหรับงานสถาปัตยกรรมประเภทบ้านพักอาศัย" (1997). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 22419.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/22419