Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

บทบาทของนิตยสารผู้หญิงแนวครอบครัวในการพัฒนาครอบครัว

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Roles of family women magazines for family development

Year (A.D.)

1998

Document Type

Thesis

First Advisor

อุบลวรรณ ปิติพัฒนะโฆษิต

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

นิเทศศาสตรพัฒนาการ

DOI

10.58837/CHULA.THE.1998.425

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ศึกษาถึง บทบาทของนิตยสารผู้หญิงแนวครอบครัวในการพัฒนาครอบครัว โดยการวิเคราะห์ปริมาณประเภทของเนื้อหา รูปแบบการนำเสนอ และประโยชน์ของเนื้อหา ที่ปรากฏในนิตยสารผู้หญิงแนวครอบครัว 3 ฉบับ ได้แก่ นิตยสารแม่และเด็ก ดวงใจพ่อแม่ และไลฟ์ แอนด์ แฟมิลี่ พร้อมทั้งสำรวจความต้องการและความคิดเห็นของผู้อ่าน แล้วนำมาเปรียบเทียบพิจารณาถึงความสัมพันธ์ เพื่อวิเคราะห์ถึงบทบาทในการพัฒนาครอบครัว และแนวโน้มของนิตยสารดังกล่าวในอนาคต ผลการวิจัยพบว่า นิตยสารผู้หญิงแนวครอบครัวนำเสนอเนื้อหาสูงสุด 3 อันดับแรก คือ สุขภาพอนามัย จิตวิทยา และปกิณกะบันเทิง และรูปแบบการนำเสนอสูงสุด 3 อันดับแรก คือ สารคดี บันเทิงคดี และสัมภาษณ์ ส่วนประโยชน์ของเนื้อหา มีการนำเสนอสูงสุด 3 อันดับแรก คือ การเข้าใจถึงวิธีการเลี้ยงลูกที่ถูกต้อง การดูแลสุขภาพของสมาชิกในครอบครัว และการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูก ตามลำดับ ในส่วนของความต้องการของผู้อ่านพบว่า ผู้อ่านต้องการเนื้อหาสูงสุด 3 อันดับแรก คือ สุขภาพอนามัย อาหารและโภชนาการ และจิตวิทยา รูปแบบการนำเสนอสูงสุด 3 อันดับ คือ สารคดี ตอบปัญหา และสาธิต และการนำไปใช้ประโยชน์สูงสุด 3 อันดับ คือ การเข้าใจถึงวิธีการเลี้ยงลูกที่ถูกต้อง การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกและการจัดเตรียมและแนะแนวการศึกษา ตามลำดับ ในด้านความสัมพันธ์ระหว่างการนำเสนอของนิตยสารและความต้องการของผู้อ่าน พบว่า นิตยสารผู้หญิงแนวครอบครัว สามารถนำเสนอรูปแบบและประโยชน์ของเนื้อหาสอดคล้องกับความต้องการของผู้อ่านในระดับปานกลาง ในขณะที่นำเสนอประเภทของเนื้อหา ได้สอดคล้องกับความต้องการของผู้อ่านในระดับต่ำ สรุปโดยรวมแล้วนิตยสารผู้หญิงแนวครอบครัว มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาครอบครัว โดยการนำเสนอเนื้อหาและประโยชน์ของเนื้อหา เพื่อพัฒนาหน้าที่ของครอบครัว ได้สอดคล้องกับความต้องการของผู้อ่านในระดับมากพอสมควร จากการสำรวจความต้องการของผู้อ่าน ทำให้ทราบถึงแนวโน้มของนิตยสารดังกล่าวในอนาคตว่า นอกเหนือจากการนำเสนอเนื้อหาที่ใช้ในการเลี้ยงดูบุตรโดยตรงแล้ว ควรนำเสนอเนื้อหาอื่นๆ ที่ช่วยในการพัฒนาหน้าที่ต่างๆ ของครอบครัวอีก เช่น เพศศึกษา การครองชีวิตคู่ ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ฯลฯ

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

This research is operated for studying roles of family women magazines for family development by analyzing types of content, patterns of content presentation and utilities of content in 3 magazines (Mae Lae Dek, Duang Jai Po Mae and Life & Family) and surveying readers' needs and opinions for considering the correlation. Moreover, the samples are analyzed in aspect of family development roles and future trend of these magazines. The research findings are concluded that family women magazines present 3 types of content : health, psychology and entertainment ; 3 patterns of content presentation : non-fiction, fiction and interview and 3 types' utility of content : understanding good child-rearing methods, concerning members of family's health and connecting good relationship with the children respectively. The result of survey is found that the readers want 3 types of content : health, food and nutrition and psychology ; 3 patterns of content presentation : non-fiction, question-answer, demonstration and 3 types utility of content : understanding good child-rearing methods, connecting good relationship with the children and preparing and suggesting education respectively. For the correlation between magazines' presentation and readers' needs, it shows that the correlation in aspect of patterns of content presentation and utilities of content are arranged in moderate level whereas types of content is arranged in the lower level. In summary, family women magazines play significant roles in family development. Types of content and utilities of contents presented in the magazines can be strongly used for developing family. From the survey of readers' needs, contents of the magazines should be expanded. Apart from directly presenting child-rearing knowledge, some contents used for developing other functions of family should be added such as sexology, marriage principles, nature and environment, etc.

Share

COinS