Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
การเปรียบเทียบความพึงพอใจในชีวิตสมรสของคู่สมรสที่มีการจับคู่ของบทบาททางเพศต่างกัน
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
A comparison of marital satisfaction of couples having different kinds of sex role combination
Year (A.D.)
1998
Document Type
Thesis
First Advisor
ประไพพรรณ ภูมิวุฒิสาร
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
จิตวิทยาพัฒนาการ
DOI
10.58837/CHULA.THE.1998.977
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความพึงพอใจในชีวิตสมรสของคู่สมรสที่มี การจับคู่ของบทบาททางเพศต่างกัน ตามทฤษฎีสกีมาทางเพศ (Bern, 1984) และทฤษฎีการแลกเปลี่ยนทางสังคม (Scanzoni, 1970) การวิจัยนี้ใช้กลุ่มตัวอย่างที่เป็นคู่สามีภรรยามีอายุการสมรส 7- 20 ปี จำนวน 300 คู่ โดยใช้มาตรวัดบทบาททางเพศ (Bern, 1974) และมาตรวัดความพึงพอใจในชีวิตสมรส สถิติที่นำมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลในครั้งนี้คือ การทดสอบสัดส่วนด้วยไคสแควร์ (Chi-Square Test of Homogeneity of Proportions) จากการสำรวจเรื่องบทบาททางเพศของคู่สมรสในสังคมไทยพบว่ามีรูปแบบการจับคู่ของคู่สมรสที่พบมาก 5 รูปแบบ ดังนี้คือ 1. คู่สมรสที่มีบทบาททางเพศแบบแอนโดรจีนีทั้งคู่ (A-A) 2. คู่สมรสที่สามีมีบทบาททางเพศแบบแอนโดรจีนี ภรรยามีบทบาททางเพศแบบไม่ชัดเจน (A-U) 3. คู่สมรสที่สามีมีบทบาททางเพศลักษณะความเป็นชาย ภรรยามีบทบาททางเพศลักษณะความ เป็นหญิง (M-F) 4. คู่สมรสที่มีบทบาททางเพศแบบไม่ชัดเจนทั้งคู่ (U-U) 5. คู่สมรสที่มีสามีมีบทบาททางเพศแบบไม่ชัดเจน ภรรยามีบทบาททางเพศลักษณะความเป็นหญิง (U-F) ผลการวิจัยพบว่า จากการจับคู่ทั้ง 5 แบบดังกล่าวนั้น การจับคู่ของคู่สมรสที่มีบทบาททางเพศแบบแอนโดรจีนีทั้งคู่ (A-A) มีจำนวนคู่สมรสที่มีความพึงพอใจในชีวิตสมรสสูงกว่าการจับคู่ของคู่สมรสที่มีบทบาททางเพศแบบอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในขณะที่การจับคู่อีก 4 แบบที่เหลือมีจำนวนคู่สมรสที่มีความพึงพอใจในชีวิตสมรสไม่แตกต่างกัน
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
The purpose of this thesis was to study a comparison of marital satisfaction of couples having different kinds of sex role combination according to Gender Schema Theory (Bern, 1 984) and Social Exchange Theory (Scanzoni, 1 970). Subjects were 300 couples who have been married for 7 -20 years. The Sex Role Scale and the Marital Satisfaction Scale were utilized. Chi-Square Test of Homogeneity of Proportions was conducted for statistical analysis. Results show that: In Thai society, the types of sex role combination frequently found are: 1. Both husband and wife have the androgyny type of sex role. (A-A) 2. Husband has the androgyny type of sex role, wife has the undifferentiated type of sex role. (A-U) 3. Husband has the masculine type of sex role, wife has the feminine type of sex role. (M-F) 4. Both husband and wife have the undifferentiated type of sex role. (U-U) 5. Husband has the undifferentiated type of sex role, wife has the feminine type of sex role. (U-F) Of all these five types, the androgyny-androgyny (A-A) combination group demonstrates significantly higher number of couples with marital satisfaction than the others (p < .05). There are no differences on the number of couples with marital satisfaction among the remaining groups.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
จริยจรูญโรจน์, ฉันทจิต, "การเปรียบเทียบความพึงพอใจในชีวิตสมรสของคู่สมรสที่มีการจับคู่ของบทบาททางเพศต่างกัน" (1998). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 22150.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/22150