Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ระบบอุปถัมภ์กับวิชาชีพนิยมของผู้ผลิตรายการสารคดีสิ่งแวดล้อมทางโทรทัศน์

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Sponsorship system and professionalism of television environmental documentary program producers

Year (A.D.)

1998

Document Type

Thesis

First Advisor

อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

การสื่อสารมวลชน

DOI

10.58837/CHULA.THE.1998.328

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของระบบอุปถัมภ์ที่มีต่อการทำงานตามวิชาชีพนิยมของผู้ผลิตรายการสารคดีสิ่งแวดล้อมทางโทรทัศน์ และการทำงานตามวิชาชีพนิยมของผู้ผลิตรายการสารคดีสิ่งแวดล้อมทางโทรทัศน์ภายใต้อิทธิพลของผู้อุปถัมภ์รายการ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยองค์กร เน้นที่ผู้ผลิตรายการสารคดีสิ่งแวดล้อมทางโทรทัศน์โดยศึกษาข้อมูลจากการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม การวิเคราะห์เนื้อหา และการวิจัยเอกสาร ประกอบกัน ในการวิจัยมีการศึกษารายการที่มีแหล่งเงินทุนอุปถัมภ์ในรูปของการโฆษณา ได้แก่ รายการ ‘'ทุ่งแสงตะวัน" ของบริษัท ป่าใหญ่ ครีเอชั่น จำกัด รายการที่มีแหล่งเงินทุนอุปถัมภ์ในรูปของการสนับสนุนรายการโดยรัฐ ได้แก่ รายการ “เปิดโลกทัศน์ กรอ.รักษ์สิ่งแวดล้อม" ของบริษัท นอร์มาส แมสคอมมูนิเคชั่นส์ จำกัด และรายการที่มีแหล่งเงินทุนอุปถัมภ์ในรูปของการสนับสนุนรายการโดยบริษัทธุรกิจเอกชน ได้แก่ รายการ “ประหยัดพลังงานกับ Mr.Unocal" ของบริษัท พาโนราม่า ดอคคิวเมนทารี่ จำกัด ซึ่งผลการวิจัยพบว่า 1) ระบบอุปถัมภ์มีอิทธิพลต่อการทำงานตามวิชาชีพนิยมของผู้ผลิตรายการสารคดีสิ่งแวดล้อมทางโทรทัศน์ ในทุกขั้นตอนของกระบวนการผลิตรายการ ตั้งแต่การวางแผนการผลิต ก่อนการผลิตรายการ การผลิตรายการ และหลังการผลิตรายการ ในรายการประเภทรับจ้างผลิตมากกว่าประเภทผลิตเอง 2) อุดมการณ์ทางวิชาชีพของเจ้าของกิจการบริษัทผลิตรายการโทรทัศน์ มีบทบาทในการส่งเสริมหรือบั่นทอนอิทธิพลของผู้อุปถัมภ์รายการ ซึ่งในสถานการณ์การแข่งขันที่องค์กรสื่อสารมวลชนถูกทำให้เป็นการพาณิชย์มากยิ่งขึ้น อิทธิพลของระบบอุปถัมภ์มีแนวโน้มว่าจะได้รับการส่งเสริมจากบริษัทผลิตรายการโทรทัศน์มากขึ้น 3) นักวิชาชีพสื่อสารมวลชนที่ไม่ได้เป็นเจ้าของกิจการบริษัทผลิตรายการโทรทัศน์ไม่มีเสรีภาพในการทำงานตามวิชาชีพนิยม และขาดอำนาจในการต่อรองกับผู้บริหารของบริษัทผลิตรายการโทรทัศน์และผู้อุปถัมภ์รายการ ผลการวิจัยครั้งนี้นำไปสู่ข้อสรุปที่ว่า ระดับวิชาชีพนิยมในกระบวนการผลิตรายการสารคดีสิ่งแวดล้อมทางโทรทัศน์ยังอยู่ในระดับต่ำ หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งคือ ระบบอุปถัมภ์อย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบันมีอิทธิพลในระดับสูง ต่อกระบวนการผลิตและเนื้อหาของรายการสารคดี สิ่งแวดล้อมทางโทรทัศน์

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

The objectives of this research is to study the influence of sponsorship system and spot advertisement on the level of professionalism of environmental documentary program on television. This research is an organization research that places its focus on the program producers. Depth interview, non-participatory observation, content analysis and documentary research are used as the method of data collection. The study selected 3 categories of program which are, program with spot advertisement which is "Toong Sang Ta Wan" (Sunshine Field) of Pa-Yai Creation Co.,Ltd., program with state sponsorship which is "Perd Lok Ka Tat : Kor Ror Or Rak Sing Wad Lorn" (Broaden Vision : The Department of Industrial Works Take Care of the Environment) of Normas Mass Communication Co.,Ltd. and program with private sponsorship which is "Prayad Palang Ngan Kab Mr.Unocal" (Save Energy with Mr.Unocal) of Panorama Documentary Co.,Ltd. The study found that: 1) The sponsorship system is influential in every step of the production process; ie. In production planning, pre-production, production and post-production, and the system mainly influences on the programs that are produced for others rather than the one for their own. 2) The professional ideology of the owner of the production company plays a significant role in promoting or reducing the influence of both state and private sponsors. However, under the stringent competition situation in the television industry, the influence of sponsorship system tends to be accepted more and more by these production companies. 3) Media professionals who do not own the television production company, have less freedom and smaller degree of professionalism in their work process. They lose power in negotiating either with the executive of the company or with their sponsors. Therefore, it could be concluded that the level of professionalism in the production process of environmental documentary program on television is minimal in relation to the sponsorship system. By the same token, the sponsorship system in its present form is highly influential on the production process and the program content of environmental documentaries.

Share

COinS