Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
การศึกษาบทบาทของผู้ปกครองในการให้ความช่วยเหลือตั้งแต่ระยะแรกเริ่มแก่เด็กออทิสติกระดับปฐมวัยในกรุงเทพมหานคร
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
A study of the parents roles on providing early intervention for autistic young children in Bangkok Metropolis
Year (A.D.)
1998
Document Type
Thesis
First Advisor
โสภาพรรณ ชยสมบัติ
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
การศึกษาปฐมวัย
DOI
10.58837/CHULA.THE.1998.158
Abstract
ศึกษาบทบาทของผู้ปกครองในการให้ความช่วยเหลือตั้งแต่ระยะแรกเริ่มแก่เด็กออทิสติกระดับปฐมวัยในด้าน การพัฒนาเด็กที่บ้าน การประสานงานกับทางโรงเรียน การประสานงานกับนักวิชาชีพและการปฏิบัติในการรวมกลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้ปกครองส่วนใหญ่ส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้านของเด็กแทบทุกเรื่อง ยกเว้นเรื่องการป้องกันอุบัติเหตุให้ลูก และการสอนเด็กให้ต้อนรับแขกเท่านั้น ที่ผู้ปกครองน้อยกว่าครึ่งหนึ่งปฏิบัติ 2) ปัญหาพฤติกรรมของเด็กที่พบเรียงจากมากไปหาน้อย ได้แก่ สมาธิสั้น อารมณ์รุนแรง กรีดร้องทำฤทธิ์เดช ทำร้ายตนเอง เคลื่อนไหวร่างกายอย่างผิดปกติ รับประทานอาหารยาก ก้าวร้าว ทำลายของ กลัวบางสิ่งบางอย่างเป็นพิเศษ และต่อต้านความเปลี่ยนแปลง ซึ่งผู้ปกครองส่วนใหญ่ ได้ใช้วิธีการแก้ปัญหาอย่างเหมาะสมและได้ผลดี แม้จะมีส่วนน้อยที่แก้ปัญหา อย่างไม่เหมาะสม โดยการดุ ตีเด็ก การแก้ปัญหาแทนเด็ก และการให้เด็กดูวิดีโอ เพื่อให้เด็กสามารถอยู่กับที่ได้นานๆ โดยเฉพาะการดุหรือตี มักทำให้เด็กมีพฤติกรรมทางลบมากขึ้น 3) ปัญหาพัฒนาการทางสังคมของเด็ก ผู้ปกครองส่วนใหญ่ได้สอนเพื่อแก้ปัญหาพัฒนาการทางสังคมของเด็ก และมักได้ผลดี และทุกคนพาเด็กไปเที่ยวอย่างสม่ำเสมอ มีผู้ปกครองบางคนไม่ได้ฝึก เพราะไม่ทราบว่าจะสอนอย่างไร ส่วนปัญหาการพูด ผู้ปกครองทุกคนฝึกพูดให้ลูกที่บ้าน โดยส่วนใหญ่ฝึกทุกวันเป็นการเฉพาะ 4) เด็กออทิสติกส่วนใหญ่เรียนร่วมในชั้นปกติ โดยมีการจัดหลักสูตรเฉพาะ และผู้ปกครองส่วนใหญ่ได้ประสานงานในการฝึกเด็ก และร่วมมือกับครูอย่างสม่ำเสมอ ปัญหาที่โรงเรียนของเด็กคือ เด็กไม่ยอมเล่นกับเพื่อน ง่วงซึมเพราะฤทธิ์ยา หงุดหงิดง่าย รับประทานอาหารซ้ำๆ และไม่ยอมทำการบ้าน 5) ผู้ปกครองส่วนใหญ่มีการประสานงานกับนักวิชาชีพ โดยปฏิบัติตามคำแนะนำและซักถามเมื่อมีปัญหา ปัญหาการใช้บริการทางการแพทย์คือ นักวิชาชีพเฉพาะทางมีน้อย เวลาในการฝึกแต่ละครั้งน้อย ใช้จ่ายสูง รอคิวนาน และโรงพยาบาลอยู่ไกล 6) ผู้ปกครองทุกคนเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับเด็กออทิสติก โดยการพูดคุย อธิบาย หรือประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อมวลชน ผู้ปกครองส่วนใหญ่ติดต่อกับชมรมผู้ปกครองเด็กออทิสติกอย่างสม่ำเสมอทางโทรศัพท์ และเข้าร่วมประชุมใหญ่ประจำปี
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
Studies the parent's roles on providing early intervention for autistic young children in Bangkok Metropolis concerning promoting the children's development at home, cooperating with the schools, cooperating with the professional, and joining the advocate group. The research findings were as follows: 1) Most of the parents promoted the children's development at home in nearly every aspect of each area, except preventing an accident and teaching them to welcome guests which less than half of them did. 2) The children's problems found from most to less were having short attention span, screaming and showing tantrum, hurting one's self, moving abnormally, eating limited kinds of food, being aggressive, destroying things, being overly afraid of some simple things and resisting changes. Most of the parents did solve the problems appropriately and succeeded. However, a few used the inappropriate way such as scolding, beating, taking the children's place of solving the confronted problems and providing videotapes for the children to make them stay still for a long period of time. Scolding and beating were especially reported to arouse the children's negative behavior. 3) Most of the parents taught social skills to their children and succeeded. All of the parents took their children out for fun regularly. A few parents did not teach their children on some aspects because they did not know. Concerning speech, all parents trained their children at home. Most of them did it formally every night. 4) Most autistic children were mainstreamed in a regular classroom with a specified curriculum. And most parents cooperated and trained their children as planned with the teachers regularly. The children's school problems were not playing with their peers, being dizzy because of medication, being moody and eating limited kinds of food. 5) Most of the parents had cooperated with the professional by complying with what they were told as well as asking for some advice when having a problem. The problems of using medical services were that specialists were rare, duration of service each time is too short, high expenses, having to wait to be served for a long time and far distance from home to the institution or the hospital. 6) All parents diseminated knowledge about autistic children by explaning verbally and personally or informing the public through mass communication. Most of the parents contact with the autistic child's parent club regularly by phone, and joined the annual meeting.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
ขวัญคีรี, นฤมล, "การศึกษาบทบาทของผู้ปกครองในการให้ความช่วยเหลือตั้งแต่ระยะแรกเริ่มแก่เด็กออทิสติกระดับปฐมวัยในกรุงเทพมหานคร" (1998). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 21997.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/21997