Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
ตำรวจกับผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่น : ศึกษากรณีจังหวัดนนทบุรี
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Police and the local influential : a case study of Nonthaburi Province
Year (A.D.)
1998
Document Type
Thesis
First Advisor
วิทยา สุจริตธนารักษ์
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
การปกครอง
DOI
10.58837/CHULA.THE.1998.590
Abstract
การศึกษาเรื่องตำรวจกับผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่น : ศึกษากรณีจังหวัดนนทบุรี ผู้วิจัยใช้วิธีดำเนินการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (dept interview) ร่วมกับการสังเกต (observation) ซึ่งเป็นเครื่องมือเชิงคุณภาพใช้ในการรวบรวมข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นข้าราชการตำรวจฝ่ายสืบสวนปราบปรามของสถานีตำรวจภูธร จังหวัดนนทบุรี จำนวน 24 ราย และผู้นำท้องถิ่นในเขตจังหวัดนนทบุรี จำนวน 30 ราย รวมจำนวนกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ จำนวน 54 ราย ซึ่งวัตถุประสงค์หลักของการศึกษาครั้งนี้เพื่อต้องการทราบบทบาทด้านอิทธิพลของผู้นำท้องถิ่น ต่อกรณีการรักษาความสงบเรียบร้อยของตำรวจผลของการศึกษาพบว่าในสภาพการปฏิบัติภารกิจของตำรวจฝ่ายสืบสวนปราบปรามของสถานีตำรวจภูธร จังหวัดนนทบุรี การปฏิบัติภารกิจของตำรวจต้องอาศัยการประสานงานกับผู้นำท้องถิ่นในการช่วยให้ข้อมูลข่าวสารอันเป็นประโยชน์ต่อภารกิจของตำรวจด้านการสืบสวนปราบปรามโดยสอดคล้องกับสมมติฐานของการ ศึกษาที่วางไว้ว่า ความสำเร็จหรือล้มเหลวของการรักษาความสงบเรียบร้อยในท้องถิ่น มีส่วนสัมพันธ์โดยตรงกับผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่น ซึ่งผลของการต้องประสานงานและขอความร่วมมือจากกลุ่มผู้นำท้องถิ่นนี้เองเป็นเหตุอันนำมาสู่ระบบการพึ่งพาโดยการใช้ช่องทางด้านอำนาจหน้าที่ของตำรวจเป็นปัจจัยอันนำไปสู่การสร้างอิทธิพลหรือบารมีให้กับผู้นำท้องถิ่นนั้น ๆ แม้ว่าจากคำสัมภาษณ์ที่ได้ของกลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่ม คือในกลุ่มข้าราชการตำรวจฝ่ายสืบสวนปราบปราม จากคำสัมภาษณ์พบว่า กลุ่มตำรวจไม่ถือว่าการกระทำตามคำขอของกลุ่มผู้นำท้องถิ่นเหล่านั้น เป็นการใช้อิทธิพลให้ตำรวจต้องปฏิบัติตาม สำหรับทางด้านผู้นำท้องถิ่นปฏิเสธถึงการใช้อิทธิพลกับตำรวจอย่างชัดเจน แต่อย่างไรก็ตามจากการศึกษาเชิงวิเคราะห์ในทฤษฎี พบว่ารูปแบบที่กลุ่มผู้นำท้องถิ่นที่มีการปะทะสังสรรค์ (interaction) ระหว่างกันนั้นกลุ่มผู้นำท้องถิ่นมักแสดงออกทางอิทธิพลด้านการชักชวน อันได้แก่ การ คาดหวัง การให้ข้อมูลข่าวสาร เป็นต้น ซึ่งในการศึกษาครั้งนี้กลุ่มผู้นำท้องถิ่นไม่ได้ใช้อิทธิพลที่มีลักษณะการกดดัน นอกจากนี้กลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่ม มีความเข้าใจว่าอิทธิพลหมายถึงการข่มขู่บังคับ กดดัน ดังที่มีการเข้าใจกันโดยทั่วไป ดังนั้นจากผลการศึกษาลักษณะการใช้อิทธิพล จึงสรุปได้ว่า กลุ่มผู้นำท้องถิ่นในเขตจังหวัดนนทบุรีใช้รูปแบบทางอิทธิพลประเภทการชักชวนกับตำรวจฝ่ายสิบสวนปราบปรามในจังหวัดนนทบุรีอย่างได้ผล
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
A Study on “Police and the Local Influential : A Case Study of Nontaburi Province", is a qualitative research using in-dept interview and observation techniques. Twenty-four police officers who work in investigation and suppression section together with thirty local leaders are the sampling population. The objective of the study is to find out relation of influence of local leaders and mission of keeping peace by the police. The study finds that the police officers in Nontaburi province have to collaborate with the local leaders inevitably in order to get some hidden informations which enhance their performance. Such behavior is a factor recognizing bed leaders’ influence although police officers do not agree that this reliance boost bed leaders’ influence. Yet the study shows that bed leaders can exercise their influence by means of creating expectations, persuasion and certain information ; thus no pressure or threats are needed.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
กิตติอัมพานนท์, วิบูลย์, "ตำรวจกับผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่น : ศึกษากรณีจังหวัดนนทบุรี" (1998). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 21911.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/21911