Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
การสร้างทายาททางการเมืองของตระกูลนักการเมืองไทย
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Political succession of Thai politicians families
Year (A.D.)
1998
Document Type
Thesis
First Advisor
วิทยา สุจริตธนารักษ์
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
การปกครอง
DOI
10.58837/CHULA.THE.1998.588
Abstract
การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายศึกษาถึงตระกูลการเมืองไทยว่า ประกอบด้วยตระกูลใดบ้าง มีพื้นฐาน อาชีพมาจากอาชีพใด แต่ละตระกูล มีระดับของความสัมพันธ์ในการสืบทอดอำนาจอย่างไร สาเหตุ วิธีการและแนวทาง ในการสร้างทายาททางการเมืองของตระกูลการเมือง ศึกษาวิเคราะห์การสร้างทายาทของ 5 ตระกูลการเมือง รวมถึง ศึกษาแนวโน้มในการสร้างทายาททางการเมือง เพื่อพัฒนาเป็นตระกูลการเมืองต่อไปในอนาคต โดยสัมภาษณ์บุคคลที่เป็นทายาททางการเมืองตระกูลต่าง ๆ จากผลการศึกษาพบว่า นับตั้งแต่ประเทศไทยมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ครั้งแรกในปี พ.ศ.2476 เป็นต้นมา มีตระกูลการเมืองทั้งสิ้น จำนวน 97 ตระกูล ความสัมพันธ์ในการสืบทอดทายาททางการเมือง เป็นการสานต่อในลักษณะจากบิดามายังบุตรมากที่สุด สาเหตุในการสร้างทายาททางการเมือง เพื่อต้องการสานต่ออุดมการณ์ทางการเมือง ส่วนวิธีการสานต่อทายาททางการเมืองที่นิยม คือ การลงสมัครรับเลือกตั้งคู่กัน ระหว่างบุคคลที่เป็นนักการเมือง กับ บุคคลที่เป็นทายาททางการเมือง กระบวนการเข้าสู่วงการเมืองของตระกูลการเมือง ส่วนใหญ่จะลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โดย ไม่ผ่านการเมืองระดับท้องถิ่นมาก่อน ช่วงระยะเวลาในการเคลื่อนไหวทางการเมืองระหว่างเวลา 20-30 ปี มีจำนวนมากที่สุด พื้นฐานอาชีพของทายาททางการเมืองก่อนเข้าสู่วงการเมือง พบว่า เป็นนักธุรกิจ มากที่สุด ขณะที่การศึกษาถึงตระกูลการเมืองไทย 5 ตระกูล ได้แก่ ตระกูล "ทองสวัสดิ์" จังหวัดลำปาง, ตระกูล "ลิมปะพันธุ์" จังหวัดสุโขทัย, ตระกูล “อังกินันท์" จังหวัดเพชรบุรี, ตระกูล “มาศดิตถ์" จังหวัด นครศรีธรรมราช และ ตระกูล "จุรีมาศ" จังหวัดร้อยเอ็ด พบว่า สาเหตุการสร้างทายาททางการเมืองแตกต่างกัน ตามเหตุผลและเงื่อนไขของแต่ละตระกูล แต่เหตุผลสำคัญประการหนึ่ง คือ ความผูกพันกับประชาชนในพื้นที่ที่ตระกูลนั้น มีการเคลื่อนไหวทางการเมืองมาเป็นเวลานาน และต้องหาทายาทมาสาน ต่อทางการเมือง นอกจากนี้ ยังมีแนวโน้ม ตระกูลการเมืองอีก 75 ตระกูลที่จะพัฒนาเป็นตระกูลการเมืองต่อไปในอนาคต ดังนั้นจึงสามารถสรุปว่า การสร้างทายาททางการเมืองของตระกูลการเมืองไทย เป็นการสานต่อใน ลักษณะจากบิดามายังบุตร ด้วยสาเหตุต้องการสานต่ออุดมการณ์ทางการเมือง และใช้วิธีการลงสมัครรับเลือกตั้งคู่กัน ระหว่างบุคคลที่เป็นนักการเมือง กับ บุคคลที่เป็นทายาททางการเมือง และจะลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรโดยไม่ผ่านการเมืองในระดับท้องถิ่น
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
This study identifies families of Thai politicians and describes their background patterns of political succession. It gives special focus on five political families. It also points out trend in political succession. Since the beginning of elections, 97 political families have emerged. There finds various reasons of political succession. Of the five-focussed political families. It can be established that political families come into being because of close attachment with local people. The study finds that 75 more political families are in the making. As far as succession is concerned, general pattern is that the succession is from father to son. The couple will run together, contesting the elections at national level, thus by-passing local elections.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
กฤติยาภิชาตกุล, ธวัชชัย, "การสร้างทายาททางการเมืองของตระกูลนักการเมืองไทย" (1998). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 21909.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/21909