Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัฒนธรรมองค์การของพรรคการเมืองไทย

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Organizational culture of Thai political parties

Year (A.D.)

1999

Document Type

Thesis

First Advisor

พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว

Second Advisor

อุบลวรรณา ภวกานันท์

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

รัฐศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

การปกครอง

DOI

10.58837/CHULA.THE.1999.1186

Abstract

การศึกษาวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบลักษณะวัฒนธรรมองค์การพรรคการเมืองไทยทั้งที่เป็นอยู่และที่ควรเป็น การศึกษาเรื่องนี้ใช้วิธีการวิจัยแบบสำรวจ เก็บรวบรวมข้อมูลจากพรรคการเมือง 6 พรรค คือ พรรคประชาธิปัตย์ พรรคความหวังใหม่ พรรคชาติไทย พรรคชาติพัฒนา พรรคกิจสังคม และพรรคเสรีธรรม ระหว่างวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ 2541 ถึงวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ 2542 เนื้อหาของการวิเคราะห์มี 7 ประเด็น คือ ลักษณะการใช้อำนาจ ลักษณะการหลีกเลี่ยงความไม่แน่นอน ลักษณะความเป็นเพศชาย ลักษณะเน้นความสำเร็จ ลักษณะเน้นความมีมนุษยธรรม และลักษณะเน้นอนาคต จากผลการวิจัยพบว่าวัฒนธรรมองค์การที่เป็นอยู่ของพรรคการเมืองมีความแตกต่าง 5 ใน 7 ปัจจัย คือ ลักษณะความเป็นเพศชาย ลักษณะความเป็นปัจเจกบุคคล ลักษณะการใช้อำนาจ ลักษณะการหลีกเลี่ยงความไม่แน่นนอน และลักษณะเน้นอนาคต ในขณะที่ปัจจัยเกี่ยวกับลักษณะเน้นความมีมนุษยธรรมและลักษณะเน้นความสำเร็จไม่แตกต่างกัน ส่วนปัจจัยวัฒนธรรมองค์การที่ควรเป็นของพรรคการเมืองมีความแตกต่าง 4 ใน 7 ปัจจัย คือ ลักษณะความเป็นเพศชาย ลักษณะความเป็นปัจเจกบุคคล ลักษณะการใช้อำนาจ และลักษณะการหลีกเลี่ยงความแน่นนอน ในขณะที่ปัจจัยเกี่ยวกับลักษณะเน้นความมีมนุษยธรรม ลักษณะเน้นความสำเร็จและลักษณะเน้นความสำเร็จและลักษณะเน้นอนาคตไม่มีความแตกต่างกัน ผลสรุป ดังกล่าวเป็นไปตามสมมติฐานที่กำหนดไว้ ผลการวิจัยข้างต้น พรรคการเมืองควรตระหนักถึงบทบาทของวัฒนธรรมองค์การ โดยพัฒนาวัฒนธรรมองค์การที่เป็นอยู่ให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมที่ควรเป็น เพื่อให้พรรคการเมืองเป็นสถาบันการเมืองที่เข้มแข็ง

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

การศึกษาวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบลักษณะวัฒนธรรมองค์การพรรคการเมืองไทยทั้งที่เป็นอยู่และที่ควรเป็น การศึกษาเรื่องนี้ใช้วิธีการวิจัยแบบสำรวจ เก็บรวบรวมข้อมูลจากพรรคการเมือง 6 พรรค คือ พรรคประชาธิปัตย์ พรรคความหวังใหม่ พรรคชาติไทย พรรคชาติพัฒนา พรรคกิจสังคม และพรรคเสรีธรรม ระหว่างวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ 2541 ถึงวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ 2542 เนื้อหาของการวิเคราะห์มี 7 ประเด็น คือ ลักษณะการใช้อำนาจ ลักษณะการหลีกเลี่ยงความไม่แน่นอน ลักษณะความเป็นเพศชาย ลักษณะเน้นความสำเร็จ ลักษณะเน้นความมีมนุษยธรรม และลักษณะเน้นอนาคต จากผลการวิจัยพบว่าวัฒนธรรมองค์การที่เป็นอยู่ของพรรคการเมืองมีความแตกต่าง 5 ใน 7 ปัจจัย คือ ลักษณะความเป็นเพศชาย ลักษณะความเป็นปัจเจกบุคคล ลักษณะการใช้อำนาจ ลักษณะการหลีกเลี่ยงความไม่แน่นนอน และลักษณะเน้นอนาคต ในขณะที่ปัจจัยเกี่ยวกับลักษณะเน้นความมีมนุษยธรรมและลักษณะเน้นความสำเร็จไม่แตกต่างกัน ส่วนปัจจัยวัฒนธรรมองค์การที่ควรเป็นของพรรคการเมืองมีความแตกต่าง 4 ใน 7 ปัจจัย คือ ลักษณะความเป็นเพศชาย ลักษณะความเป็นปัจเจกบุคคล ลักษณะการใช้อำนาจ และลักษณะการหลีกเลี่ยงความแน่นนอน ในขณะที่ปัจจัยเกี่ยวกับลักษณะเน้นความมีมนุษยธรรม ลักษณะเน้นความสำเร็จและลักษณะเน้นความสำเร็จและลักษณะเน้นอนาคตไม่มีความแตกต่างกัน ผลสรุป ดังกล่าวเป็นไปตามสมมติฐานที่กำหนดไว้ ผลการวิจัยข้างต้น พรรคการเมืองควรตระหนักถึงบทบาทของวัฒนธรรมองค์การ โดยพัฒนาวัฒนธรรมองค์การที่เป็นอยู่ให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมที่ควรเป็น เพื่อให้พรรคการเมืองเป็นสถาบันการเมืองที่เข้มแข็ง

ISBN

9743328424

Share

COinS