Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
การประมาณค่าความสามารถในการป้องกันรังสีอัลตราไวโอเลตเอ ของสารกันแดด 6 ชนิด ในผิวหหนังของคนไทย
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
The estimation of the protection efficacy against ultraviolet a radiation of six sunscreen agents in unsensitized Thai subjects
Year (A.D.)
1998
Document Type
Thesis
First Advisor
พรทิพย์ หุยประเสริฐ
Second Advisor
ประวิตร อัศวานนท์
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
อายุรศาสตร์
DOI
10.58837/CHULA.THE.1998.790
Abstract
วัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ เพื่อประมาณค่าความสามารถในการป้องกันรังสีอัลตราไวโอเลตเอ ของสารกันแดดจำนวน 6 ชนิด ในผิวหนังคนไทย โดยสารกันแดดที่นำมาศึกษา คือ 1) 5% PABA, 2) 7.5% OMC, 3) 2% t-butyl methoxydibenzoylmethane, 4) 2% t-butyl methoxydibenzoylmethane + 7.5% OMC, 5) 10% TiO2 และ 6) 10% TiO2 + 2% t-butyl methoxydibenzoylmethane + 7.5% OMC ประชากรศึกษาเป็นอาสาสมัครที่มีร่างกายสมบูรณ์จำนวน 20 คน วิธีการศึกษา คือ ทาสารกันแดด 6 ชนิดดังกล่าวบนหลังประชากรศึกษา หลังจากนั้นฉายรังสีอัลตราไวโอเลตเอโดยเพิ่มปริมาณขึ้นตามลำดับ หลังจากฉายรังสีอัลตราไวโอเลตเอ 24 ชั่วโมง จึงประเมินผลปฏิกิริยาของผิวหนังโดยใช้การเกิดผิวหนังแดงหรือผิวหนังคล้ำเป็นตัววัดผล ปริมาณรังสีอัลตราไวโอเลตเอน้อยที่สุดที่ทำให้เกิดปฏิกิริยาผิวหนังดังกล่าว เรียกว่า Minimal response dose (MRD) ค่าความสามารถในการป้องกันรังสีอัลตราไวโอเลต เอของสารกันแดด (Protection factor of UVA -PFA) คำนวณได้จากอัตราส่วนของ MRD ของบริเวณที่ทาสารกันแดดต่อ MRD ของบริเวณผิวหนังปกติไม่ได้ทาสารกันแดด ผลการวิจัยพบว่า ประชากรศึกษาทุกคนเกิดปฏิกิริยาผิวหนังคลํ้าทั้งหมด ไม่พบผิวหนังแดง สารกันแดด 6 ชนิดมีค่า PFA เฉลี่ยตามลำดับดังนี้ 1) 5% PABA PFA 1.01 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.03 2) 7.5% OMC PFA 1.03 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน0.06 3) 2% t-butyl methoxydibenzoylmethane PFA 1.21 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.06 4) 2% t-butyl methoxydibenzoylmethane + 7.5% OMC PFA 1.26 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.1 5) 10% TiO2 PFA 1.81 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.09 และ 6) 10% TiO2 + 2% t-butyl methoxydibenzoylmethane + 7.5% OMC PFA 1.78 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.16 ส่วนเนื้อครีมที่ใช้ไนการวิจัยครั้งนี้มีค่า PFA เฉลี่ย 1.01 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.05 จากการศึกษาพบว่า 5% PABA และเนื้อครีมไม่มีความสามารถในการป้องกัน UVA ส่วน 7.5% OMC ป้องกันรังสีอัลตราไวโอเลตเอได้เล็กน้อย 2% t-butyl methoxydibenzoylmethane ป้องกันรังสีอัลตราไวโอเลตเอได้ปานกลาง แม้ว่าจะผสม 7.5% OMC ไปด้วยก็ไม่ความสามารถป้องกันรังสีอัลตราไวโอเลตเอได้มากขึ้น ส่วน 10% TiO2 ป้องกันรังสีอัลตราไวโอเลตเอได้สูงสุด แม้ว่าจะผสม 2% t-butyl methoxydibenzoylmethane และ 7.5% OMC ไปด้วยก็ไม่เพิ่ม ความสามารถในการป้องกันรังสีอัลตราไวโอเลตเอ ดังนั้น การเลือกสารกันแดดที่เหมาะสมทั้งสำหรับคนที่ต้องการปกป้องผิวหนังจากรังสีอัลตราไวโอเลตเอ จึงควรเลือกใช้สารกันแดดตามค่าความสามารถในการป้องกันรังสีอัลตราไวโอเลตเอของสารกันแดด เช่น การเลือก TiO2 ซึ่ง เป็นสารกันแดดชนิดทึบแสง หรือสารกันแดดที่มีส่วนผสมของทั้งสารกันแดดชนิดทึบแสงและโปร่งแสงมากกว่าสารกัน แดดชนิดโปร่งแสงเพียงอย่างเดียว
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
The objective of this research was to estimate the efficacy of six sunscreen formulations against UVA radiation in unsensitized Thai subjects. The six sunscreen formulations were composed of 1) 5% PABA, 2) 7.5% OMC, 3) 2% t-butyl methoxydibenzoylmethane, 4) 2% t-butyl methoxydibenzoylmethane + 7.5% OMC, 5) 10% TiO2, and 6) 10% TiO2 + 2% t-butyl methoxydibenzoylmethane + 7.5% OMC. All formulations were applied to the normal-appearing skin on the back of 20 healthy volunteers. Twenty-four hours after exposure to the graduated dose of UVA radiation, the test sites were evaluated for either minimal erythema or pigmentation as the biologic end point. The UVA dose that caused this end point was defined as minimal response dose (MRD). The protection factor of UVA (PFA) was calculated from the ratio of MRD of the sunscreen treated and MRD of the unprotected skin. The result showed that all the subjects experienced pigmentation. The mean PFA's of the six sunscreen formulations were 1) 5% PABA X_ 1.01 SD 0.03, 2) 7.5% OMC X_ 1.03 SD 0.06, 3) 2% t-butyl methoxydibenzoylmethane X_ 1.21 SD 0.06, 4) 2% t-butyl methoxydibenzoylmethane + 7.5% OMC X_ 1.26 SD 0.1, 5) 10% TiO2 X_ 1.81 SD 0.09, and 6) 10% TiO2 + 2% t-butyl methoxydibenzoylmethane + 7.5% OMC X_ 1.78 SD 0.16 The mean PFA of vehicle was 1.01 SD 0.05. The MRD of vehicle and 5% PABA were not statistically different from that of unprotected skin. In contrary, There were statistical difference when MRD of 7.5% OMC was compared to that of unprotected skin. 10% TiO2 provided the highest UVA protection while 2% t-butyl methoxydibenzoylmethane provided moderate UVA protection. Combining TiO2 with 2% t-butyl methoxydibenzoylmethane and 7.5% OMC, similarly combining 2% t-butyl methoxydibenzoylmethane with 7.5% OMC, did not yield any additional UVA protection. Appropiate sunscreens that should be recommended to the individuals who need the greatest UVA protection can be selected based upon PFA. Physical sunscreens such as TiO2 which reveal the highest UVA protection should be recommended most.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
ศรีวราพงศ์, อาสิรี, "การประมาณค่าความสามารถในการป้องกันรังสีอัลตราไวโอเลตเอ ของสารกันแดด 6 ชนิด ในผิวหหนังของคนไทย" (1998). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 21755.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/21755