Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
การประเมินผลการรักษาโรคลิ้นหัวใจไมตรัลตีบโดยวิธีการขยายด้วยบอลลูน ด้วยการตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจขณะออกกำลังกายโดยการนอนถีบจักรยาน
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Evaluation of short term result after percutaneous transvenous mitral commissurotomy by supine bicycle stress echocardiography
Year (A.D.)
1998
Document Type
Thesis
First Advisor
สมนพร บุณยะรัตเวช
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
อายุรศาสตร์
DOI
10.58837/CHULA.THE.1998.788
Abstract
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลการรักษาโรคลิ้นหัวใจไมตรัลตีบ (MS) โดยการถ่างขยายด้วยบอลลูนผ่านทางหลอดเลือดดำ (PTMC) ต่อการเปลี่ยนแปลงของความดันผ่านลิ้นไมตรัล (MMPG) ขณะออกกำลังกายและต่อการเปลี่ยนแปลงของขนาดพื้นที่ผ่านลิ้นไมตรัล (MVA) วิธีการวิจัย ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยโรคลิ้นหัวใจไมตรัลตีบและมีข้อบ่งชี้เหมาะสมต่อการรักษา โดยการถ่างขยายด้วยบอลลูน จะเข้าร่วมการศึกษาและได้รับการตรวจคลื่นเลียงสะท้อนหัวใจทั้งในขณะพักและออกกำลังกายที่ 1 วัน ก่อนและ 7 วัน หลังการรักษาการตรวจวัดนอกจากค่ามาตรฐาน ยังรวมขนาดพื้นที่ผ่านลิ้นไมตรัล, ความดันเฉลี่ยผ่านลิ้นไมตรัล และความดันผ่านลิ้นไตรคัลปิดที่รั่ว ผลการวิจัย ผู้ป่วยทั้งหมดจำนวน 22 ราย เป็นชาย 2 ราย หญิง 20 ราย อายุเฉลี่ย 34±16 ปี (mean±SD) mitral valve score เฉลี่ย 8.23 (พิสัย 6-10) อาการเหนื่อยลดลง 20 ใน 22 รายคิดเป็นร้อย ละ 91 ขนาดพื้นที่ผ่านลิ้นไมตรัลเพิ่มจาก 0.74±0.35 เป็น 1.44±0.47 ตร.ซม. (p < 0.001) ความดัน เฉลี่ยผ่านลิ้นไมตรัลลดลงจาก 12.03±9.17 เป็น 5.49±4.24 มม.ปรอท ในขณะพัก (p < 0.001) และลดลงจาก 24.30±13.93 เป็น 14.72±8.64 มม.ปรอท ขณะออกกำลังกาย ความดันผ่านลิ้นไตรคัลปิดที่รั่วลด ลงจาก 51,20±37.42 เป็น 33.62±28.46 มม.ปรอท ในขณะพัก (p < 0.001) และลดลงจาก 97.40±34.35 เป็น 73.54±42.12 มม.ปรอทขณะออกกำลังกาย (p = 0.004) ไม่มีผลแทรกซ้อนที่รุนแรง เกิดขึ้นทั้งจากการตรวจและการรักษา สรุป ผลของการศึกษาวิจัยแสดงว่าการรักษาโรคลิ้นหัวใจไมตรัลตีบโดยการถ่างขยายด้วย บอลลูนทำให้ผู้ป่วยอาการดีขึ้น ขนาดพื้นที่ผ่านลินไมตรัลเพิ่มฃึน ความดันเฉลี่ยผ่านลิ้น1ไมตรัลและความ ดันผ่านลิ้นไตรคัลปิดที่รั่วลดลงอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้วิธีการรักษาดังกล่าวและการประเมินผลการรักษาด้วยการตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจขณะออกกำลังกายก็เป็นวิธีที่มีความปลอดภัยสูง
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
Objective : To evaluate the beneficial results of PTMC in decreasing mean mitral pressure gradient (MMPG) both at rest and during exercise and increasing mitral valve area (MVA). Method : Mitral stenosis (MS) patients planned for PTMC were included เท this study. Echocardiographie studies at rest and during exercise by supine ergometry were performed in all of them at 1 day before and 7 days after PTMC. Besides standard parameters, the measurements included MVA, MMPG and TRPPG (tricuspid regurgitant peak pressure gradient). Results : There were 22 patients (2 M and 20 F) with the mean age of 34 ± 16 years (mean ± 2SD). Mean MV score was 8.23 (range 6-10). MVA increased from 0.74±0.35 to 1.44±0.47 cm2 (p < 0.001). MMPG decreased from 12.03±9.17 to 5.49±4.24 mmHg at rest (p < 0.001) and from 24.30±13.93 to 14.72±8.64 mmHg during exercise (p < 0.001). TRPPG decreased from 51.20±37.42 to 33.62±28.46 mmHg at rest and from 97.40±34.35 to 73.54±42.12 mmHg during exercise (= 0.004). Conclusion : PTMC is an effective treatment for severe MS patients. lt can significantly increase MVA and decrease MMPG and TRPPG both at rest and during exercise. Supine ergometry is proved to be safe for evaluation MS patients after PTMC.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
ภิยโยทัย, ดิลก, "การประเมินผลการรักษาโรคลิ้นหัวใจไมตรัลตีบโดยวิธีการขยายด้วยบอลลูน ด้วยการตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจขณะออกกำลังกายโดยการนอนถีบจักรยาน" (1998). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 21753.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/21753