Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
การพัฒนาหลักสูตรรายวิชาการคิดวิจารณญาณ ในการตัดสินใจทางการพยาบาลสำหรับนักศึกษาพยาบาล
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
A development of subject curriculum on critical thinking in nursing decision-making for nursing students
Year (A.D.)
1998
Document Type
Thesis
First Advisor
ทิศนา แขมมณี
Second Advisor
สุวิมล ว่องวาณิช
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาเอก
Degree Discipline
หลักสูตรและการสอน
DOI
10.58837/CHULA.THE.1998.98
Abstract
พัฒนาหลักสูตรรายวิชา "การคิดวิจารณญาณในการตัดสินใจทางการพยาบาล" สำหรับนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 การดำเนินการมี 6 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐานจากการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง การศึกษาปัญหาการจัดการศึกษาทางการพยาบาล และการศึกษาปัญหาการตัดสินใจทางการพยาบาล เพื่อนำมาเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรและจัดการเรียนการสอน ขั้นตอนที่ 2 การร่างหลักสูตรและจัดทำรายละเอียดของหลักสูตร โครงร่างเนื้อหาประกอบด้วย ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการคิด ทักษะการคิดและลักษณะการคิดที่จำเป็นต่อกระบวนการคิดวิจารณญาณฯ การนำความรู้ทางการพยาบาลมาใช้กับกระบวนการคิดวิจารณญาณฯ การจัดการเรียนการสอนเน้นให้ผู้เรียนฝึกทักษะการคิด โดยวิธีการเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อยและใช้กรณีผู้ป่วยเป็นปัญหาให้ฝึกการคิด ขั้นตอนที่ 3 การตรวจสอบหลักสูตรโดยให้ผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบความสอดคล้อง และความเหมาะสมขององค์ประกอบของหลักสูตร ขั้นตอนที่ 4 การทดลองใช้หลักสูตร รูปแบบการทดลองคือ control group pretest posttest experimental design กลุ่มทดลองคือนักเรียนพยาบาลทหารอากาศชั้นปีที่ 3 จำนวน 54 คน กลุ่มควบคุมคือนักเรียนพยาบาลชั้นปีที่ 3 ของสถาบันการศึกษาที่ได้รับการคัดเลือกว่า มีระดับความสามารถคิดวิจารณญาณในการตัดสินใจทางการพยาบาลก่อนการทดลอง ไม่แตกต่างจากกลุ่มทดลองมีจำนวนทั้งสิ้น 60 คน นอกจากนี้ได้ทดสอบความสามารถคิดวิจารณญาณฯ นักเรียนพยาบาลทหารอากาศชั้นปีที่ 4 ก่อนและหลังการทดลองเพื่อนำมาเป็นข้อมูล ประกอบการประเมินประสิทธิภาพของหลักสูตรที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น ขั้นตอนที่ 5 การประเมินผลหลักสูตรประเมินจากคะแนนความสามารถคิดวิจารณญาณ ในการตัดสินใจทางการพยาบาลของกลุ่มทดลอง และความคิดเห็นของนักเรียนพยาบาลกลุ่มทดลองและครูพยาบาลผู้ช่วยวิจัย ต่อการใช้หลักสูตร ขั้นตอนที่ 6 การปรับปรุงแก้ไขหลักสูตร ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ (1) ได้หลักสูตรรายวิชาการคิดวิจารณญาณ ในการตัดสินใจทางการพยาบาลสำหรับนักเรียนพยาบาลชั้นปีที่ 3 มีองค์ประกอบแต่ละด้านเหมาะสมต่อการพัฒนาศักยภาพการคิดวิจารณญาณ ในการตัดสินใจทางการพยาบาล (2) ผลการทดลองใช้หลักสูตรปรากฏว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนความสามารถคิดวิจารณญาณในการตัดสินใจทางการพยาบาล ของกลุ่มทดลองหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ค่าเฉลี่ยคะแนนความสามารถคิดวิจารณญาณในการตัดสินใจทางการพยาบาล ของกลุ่มทดลองหลังการทดลองสูงกว่ากลุ่มนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4 ที่ไม่ได้เรียนหลักสูตรรายวิชาที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ค่าเฉลี่ยคะแนนการเปลี่ยนแปลงการเรียนรู้การคิดวิจารณญาณ ในการตัดสินใจทางการพยาบาลของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมและกลุ่มที่ไม่ได้เรียนหลักสูตรรายวิชาที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมาอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 (3) นักเรียนพยาบาลกลุ่มทดลองและครูพยาบาลผู้ใช้หลักสูตรมีความคิดเห็นต่อการใช้หลักสูตร เป็นไปทางบวก
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
To develop the subject curriculum on "critical thinking in nursing decision making" for the third year nurse students. The research procedures were: 1) Collecting and analyzing basic data from books, documents and relevant researches; collecting and analyzing information on decision-making and studying problems 2) Developing curriculum by setting the key elements of curriculum and supplementary materials; the key elements of curriculum were the process of critical thinking in nursing decision-making, the essential thinking skills, and the application of nursing knowledge in nursing decision-making. Small group were used in skills training prior to the use of cases in nursing for practice in nursing decision-making 3) Evaluating the contents of curriculum by experts. 4) Experimenting curriculum by using control group pretest posttest experimental design. The experimental group was the Royal Thai Airforce nursing third year nursing students (54 students) and the control group was the Royal Thai Navy third year nursing students (60 students). The Royal Thai Airforce fourth year nursing students (45 students) who had not learned the developed subject were also tested to get supplementary data 5) Evaluating the curriculum by determining from the critical thinking in nursing decision-making scores and the opinions of the experimental group and nurse teachers about implementing the curriculum. Outcomes of the study: 1) All the key element of the subject curriculum on "critical thinking in nursing decision-making" for the third year nurse students was appropriate for developing critical thinking in nursing decision-making. 2) After implementing, it was found that the posttest mean score of the experimental group was higher than the pretest mean score at a significant level .01. The posttest score of the experimental group was higher than that of the control group at a significant .01. The gained scores of the experimental group was higher than that of the control group at a significant level .01. The opinions of the students in the experimental group and the nurse teachers about the developed curriculum and instruction were positive.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
ฤทธิ์แปลก, ศิริกัญญา, "การพัฒนาหลักสูตรรายวิชาการคิดวิจารณญาณ ในการตัดสินใจทางการพยาบาลสำหรับนักศึกษาพยาบาล" (1998). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 21741.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/21741