Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ความรู้ เจตคติ และรูปแบบการสื่อสารของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในโรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยาและโรงพยาบาลศรีธัญญา

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Knowledge, attitude and communication patterns of the schizophrenic patients' carers at Somdet Chaopraya Hospital and Srithunya Hospital

Year (A.D.)

1998

Document Type

Thesis

First Advisor

นิพัทธิ์ กาญจนธนาเลิศ

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

สุขภาพจิต

DOI

10.58837/CHULA.THE.1998.779

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษารูปแบบการสื่อสารของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทต่อผู้ป่วย การศึกษาถึงตัวแปรด้านเพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ การเข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยในโรงพยาบาล ความรู้ เจตคติ ของผู้ดูแลผู้ป่วยมีส่วนเกี่ยวข้องอย่างไรต่อรูปแบบ การสื่อสาร ตัวอย่างประชากรในงานวิจัย เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบ ผู้ป่วยและอยู่ร่วมครอบครัวเดียวกับ ผู้ป่วยมากกว่า 5 วัน/สัปดาห์ ในโรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา 132 ราย และโรงพยาบาลศรีธัญญา 218 ราย โดยใช้แบบสอบถาม ที่ผ่านการตรวจสอบความตรง และความเที่ยงนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า ข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วยจิตเภทส่วนใหญ่เป็นเพศชาย สถานภาพสมรสเป็นโสด อายุอยู่ในช่วง 31-40 ปี ระดับการศึกษาอยู่ในระดับประถมศึกษา ส่วนใหญ่ไม่ได้ประกอบอาชีพ และไม่มีรายได้ มีระยะเวลาการเจ็บป่วย 2-10 ปี เคยเข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยในของโรงพยาบาล รอยละ 81.9 ข้อมูลทั่วไปของ ผู้ดูแลผู้ป่วย ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 51-60 ปี อาชีพค้าขาย รายได้ 3001-6000 บาท ความสัมพันธ์เป็นพี่น้อง กับผู้ป่วย ระยะเวลาในการดูแลผู้ป่วยส่วนใหญ่ดูแลผู้ป่วย 2-10 ปี ความเของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท ส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ย 6.960 ตัวแปรด้านการได้รับความรู้หรือการได้เข้ารับการอบรม และอาชีพของผู้ดูแลผู้ป่วย ที่แตกต่างกันมีความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยของความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < . 001และ P < .05 ตามลำดับ) เจตคติต่อผู้ป่วยผู้ดูแลผู้ป่วยมีคะแนน เจตคติทางบวกต่อผู้ป่วย ร้อยละ67.7 ทางลบร้อยละ 32.3 ตัวแปรด้าน การเคยและไม่เคยเข้ารับการรักษาเป็น ผู้ ป่วยในของโรงพยาบาล ระยะเวลาการเจ็บป่วย อายุและสถานภาพสมรส อาชีพและรายได้ของผู้ป่วยที่แตกต่างกัน ความสัมพันธ์ต่อผู้ป่วย และอายุของผู้ดูแลผู้ป่วยที่แตกต่างกัน เจตคติแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) ด้านการรูปแบบการสื่อสารของผู้ดูแลผู้ป่วยพบว่า เป็นไปในทางบวกร้อยละ 53.4 รูปแบบการสื่อสารทางลบ ร้อยละ 46.6 ตัวแปรด้าน ระยะเวลาการเจ็บป่วย อาชีพ รายได้ สถานภาพสมรสของผู้ป่วย และความสัมพันธ์ อายุ และระยะเวลาที่ดูแลผู้ป่วยที่แตกต่างกัน รูปแบบการสื่อสารมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เจตคติ ระยะเวลาในการดูแลผู้ป่วย ความรู้ในการดูแลผู้ป่วยและอาชีพของผู้ดูแลผู้ป่วยมีผลต่อการพยากรณ์รูปแบบการสื่อสารได้ 68.84% (R2=0.68842) โดยเจตคติมีผลในการพยากรณ์รูปแบบการสื่อสารมากกว่า มีปัจจัยด้านอื่น

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

This study was descriptive research .The objective of the research was to study communication patterns of the Schizophrenic patients ‘ carers. The dependent variables are age. educational level | incomes, knownledges and attitudes. The sample populations were the carers who take care of patients and spend time daily with patients more than 5 days a weekThe sample size was 132 carers from Somdet Chaophaya Hospital and 218 carers form Srithunya hospital. The research questionnaires | which have been tested for validity and reliaoility, were used for this study. The research findings indicated that most Schizophrenic patients were male whose age were ranging 31-40 years old and had normally elementary school grades, unemployment and no income. Duration of patients’ illness was 2-10 years old and 81.9 % of patients were admitted. Patients’ carers are mostly female. whose age range from 51-60 years old | self employed which average incomes were 3001-6000 bath. Duration of care was 2-10 years. The level of knowledge’s to care for patients were moderate with the mean score of 6.960. Other variables such as : training for communication; occupation; knowledge’s of carers revealed some differences with statistic confidence level of p<0.001 and p< 0.05 . The carers' positive attitudes were 67.7% and negative attitudes for patients were 32.3%. The variables of the Schizophrenic patients’ income have different with statistical confidence level of p< 0.05. The communication patterns of the Schizophrenic patients’ carers were positive communication 53.4% and negative communication 46.6%. The variable compose of duration of illness, number of admissions, occupation, income, marital status and duration of care were difference with statistical confidence at level p<0.05. The Multiple Regression analysis; Stepwise could predict communication patterns 68.84% (R2=0.68842) and the most predictable factor was attitude.

Share

COinS