Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
การประเมินผลการใช้คู่มือการเรียนด้วยตนเองต่อความรู้และทัศนคติ ของผู้ดูแลผู้สูงอายุโรคซึมเศร้า
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
The evaluation of self-instruction manual towards knowledge and attitude of depressed elderly's carers
Year (A.D.)
1998
Document Type
Thesis
First Advisor
รวิวรรณ นิวาตพันธุ์
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
สุขภาพจิต
DOI
10.58837/CHULA.THE.1998.778
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตกุประสงค์เพื่อประเมินผลการใช้คู่มือการเรียนด้วยตนเองต่อความรู้ และทัศนคติของผู้ดูแลผู้สูงอายุโรคซึมเศร้า โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงทดลอง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ดูแลผู้สูงอายุโรคซึมเศร้า จำนวนทั้งหมด 50 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 25 คน โดยวิธี Stratified Randomization ด้านการศึกษา แล้วจึงสุ่มเป็นบล็อค (Block Randomization) ผู้ดูแลในกลุ่มทดลองจะได้รับคู่มือการเรียนด้วยตนเอง ในขณะที่กลุ่มควบคุมจะไม่ได้รับคู่มือการเรียนด้วยตนเอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ คู่มือการเรียนด้วย ตนเองเรืองโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบทดสอบความรู้ และแบบวัดทัศนคติ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ t-test ผลการวิจัยพบว่า 1. ก่อนการทดลองความรู้และทัศนคติของผู้ดูแลทั้งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. หลังการทดลองความรู้ของผู้ดูแลในกลุ่มทดลองเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 ในขณะที่ทัศนคติไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. เมื่อเปรียบเทียบภายในกลุ่มควบคุม พบว่า ความรู้และทัศนคติของผู้ดูแลก่อนและ หลังการทดลองไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. เมื่อเปรียบเทียบภายในกลุ่มทดลอง พบว่า ความรู้และทัศนคติของผู้ดูแลก่อนและ หลังการทดลองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ .05 ตามลำดับ
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
The purpose of this study was to investigate the evaluation of self- instruction manual towards knowledge and attitude of depressed elderly’s carers. The experimental research was implemented. The sample group consisted of 50 depressed elderly’s carers who were randomly divided into 2 groups by the techniques of stratified Randomization in Education and Block Randomization. Each group coniained 25 carers. The first 25 carers were in an experimental group ; whereas, the other 25 carers were in a controlled group. Carers in the experimental group were given a self-instruction manual, but those in the controlled group were not. Instruments employed in this study were self-instruction manual on depressed elderly, demographic datasheet, knowledge test, and attitude test. Data were analyzed by t-test. The results of the study were : 1. Before the experiment, difference in kiiuwledge and attitude of these two groups was not found on statistically significant difference at .05. 2. After the experiment, knowledge in the experimental group increased on statistically significant difference at .01.while attitude was not found different on statistically significant difference at .05 3. To compare within a group, there were no changes in terms of knowledge and attitude in the controlled group either before or after the experiment on statistically significant difference at .05 4. To compare within a group, there were changes in terms of knowledge and attitude in the experimental group after the experiment on statistically significant difference at .01 and .05
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
คงวิวัฒนากุล, แสงเดือน, "การประเมินผลการใช้คู่มือการเรียนด้วยตนเองต่อความรู้และทัศนคติ ของผู้ดูแลผู้สูงอายุโรคซึมเศร้า" (1998). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 21729.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/21729