Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัญหาพฤติกรรมในเด็กวัยเรียนที่มีโรคทางกายเรื้อรังที่มารับบริการในแผนกผู้ป่วยนอกกุมารเวชศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Behavioural problems in school-age children with chronic physical illness in paediatric out-patient Department of King Chulalongkorn Memorial Hospital

Year (A.D.)

1998

Document Type

Thesis

First Advisor

อลิสา วัชรสินธุ

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

สุขภาพจิต

DOI

10.58837/CHULA.THE.1998.776

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความชุกของปัญหาพฤติกรรมในเด็กวัยเรียนที่มีโรคทางกายเรื้อรัง และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับปัญหาพฤติกรรม โดยทำการศึกษากับเด็กอายุ 6-11 ปี ที่มีโรคทางกายเรื้อรังที่มารับบริการในแผนกผู้ป่วยนอกกุมารเวชศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จำนวน 256 คน โดยใช้แบบสำรวจพฤติกรรมเด็ก TYC (Thai Youth Check list) และแบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยต่าง ๆ ที่อาจมีความสัมพันธ์กับปัญหาพฤติกรรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ t-test, F-test และ chi-square test ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า ความชุกของปัญหาพฤติกรรมในระดับมีปัญหาในเด็กวัยเรียนที่มี โรคทางกายเรื้อรัง เท่ากับร้อยละ 33.20 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับปัญหาพฤติกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ สถานภาพสมรสบิดามารดา (ที่ระดับ p<.05) ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองและเด็ก (ที่ระดับ p<.01) และประวัติการมีอาการทางจิตติดสุราหรือสารเสพติดของบิดามารดา (ที่ระดับ p<.01)

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความชุกของปัญหาพฤติกรรมในเด็กวัยเรียนที่มีโรคทางกายเรื้อรัง และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับปัญหาพฤติกรรม โดยทำการศึกษากับเด็กอายุ 6-11 ปี ที่มีโรคทางกายเรื้อรังที่มารับบริการในแผนกผู้ป่วยนอกกุมารเวชศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จำนวน 256 คน โดยใช้แบบสำรวจพฤติกรรมเด็ก TYC (Thai Youth Check list) และแบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยต่าง ๆ ที่อาจมีความสัมพันธ์กับปัญหาพฤติกรรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ t-test, F-test และ chi-square test ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า ความชุกของปัญหาพฤติกรรมในระดับมีปัญหาในเด็กวัยเรียนที่มี โรคทางกายเรื้อรัง เท่ากับร้อยละ 33.20 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับปัญหาพฤติกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ สถานภาพสมรสบิดามารดา (ที่ระดับ p<.05) ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองและเด็ก (ที่ระดับ p<.01) และประวัติการมีอาการทางจิตติดสุราหรือสารเสพติดของบิดามารดา (ที่ระดับ p<.01)

ISBN

9743315306

Share

COinS