Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
ลักษณะของผู้ป่วยที่มีอาการปวดศรีษะชนิดที่ไม่มีพยาธิสภาพ ที่คลินิกปวดศรีษะ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Characteristic of functional headache patients at headache clinic, King Chulalongkorn Memorial Hospital
Year (A.D.)
1998
Document Type
Thesis
First Advisor
บุรณี กาญจนถวัลย์
Second Advisor
นันทิกา ทวิชาชาติ
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
สุขภาพจิต
DOI
10.58837/CHULA.THE.1998.773
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาลักษณะของผู้ป่วยที่มีอาการปวดศีรษะชนิดที่ไม่มีพยาธิสภาพ และการหาความสัมพันธ์ระหว่างระดับความรุนแรงของการปวดศีรษะกับความตึงตัวของกล้ามเนื้อ และการหาความสัมพันธ์ระหว่างระดับความรุนแรงของอาการปวดศีรษะกับปัญหาสุขภาพจิต ของผู้ป่วยที่มีอาการปวดศีรษะชนิดที่ไม่มีพยาธิสภาพที่คลินิกปวดศีรษะ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โดยการสุ่มตัวอย่างจำนวน 110 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม และเครื่องมือ อีเอ็มจี ไอโอฟิดแบค วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS for window ผลการวิจัยพบว่า 1.ลักษณะของผู้ป่วยที่มีอาการปวดศีรษะชนิดที่ไม่มีพยาธิสภาพ เป็นเพศหญิง 95 รายและเพศชาย 15 ราย อายุเฉลี่ย 32 ปี ส่วนใหญ่ มีสถานภาพสมรสคู่ คิดเป็น ร้อยละ 51.8 การศึกษาอยู่ในระดับสูง อาชีพรับจ้าง รายได้อยู่ในช่วง 5,001-10,000 บาท/เดือน คิดเป็น ร้อยละ 28.2 ส่วนใหญ่มีรายได้พอเพียงกับค่าใช้จ่าย คิดเป็นร้อยละ 71.8 โดยเฉลี่ยมีอาการปวดศีรษะมานานประมาณ 8 ปี ความถี่ของอารการปวดศีรษะเฉลี่ย 10 วัน/เดือน ปวดศีรษะแต่ละครั้งนาน 30 นาที-4 ชั่วโมง คิดเป็น ร้อยละ 30.0 บริเวณที่ปวดศีรษะมักปวดศีรษะข้างซ้าย คิดเป็น ร้อยละ 22.7 ลักษณะอาการปวดศีรษะ คือลักษณะ ตื้อๆ คิดเป็น ร้อยละ 44.5 อาการร่วมที่พบในขณะที่มีอาการปวดศีรษะ คือ ไม่อยากอยู่ในที่มีเสียงดัง คิดเป็น ร้อยละ 68.2 ปัจจัยที่ก่อให้เกิดอาการปวดศีรษะคือความเครียด คิดเป็น ร้อยละ 83.6 ผลกระทบที่เกิดจากอาการปวดศีรษะ คือ ความสามารถในการทำงานให้มีประสิทธิภาพ คิดเป็น ร้อยละ 66.4 สมาชิกในครอบครัวของผู้ป่วยมีประวัติปวดศีรษะ คิดเป็น ร้อยละ 35.5 ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีปัญหาในด้านการนอนหลับ ร้อยละ 81.8 โดยรูปแบบของปัญหาคือ ตื่นนอนตอนเช้า มักไม่สดชื่น คิดเป็น ร้อยละ 55.5 ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีระดับของความเศร้ากังวลใจที่รุนแรง คิดเป็น ร้อยละ 44.5 ระดับความรุนแรงของการปวดศีรษะ อยู่ในระดับปวดศีรษะปานกลาง แต่สามารถเพิกเฉยต่ออาการปวดเวลานั้นได้ ค่าเฉลี่ยความตึงตัวของกล้ามเนื้อ คือ 7.03 uV. 2.ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างระดับความรุนแรงของอาการปวดศีรษะกับความตึงตัวของกล้ามเนื้อ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) 3.ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างระดับความรุนแรงของอาการปวดศีรษะกับปัญหาสุขภาพจิต อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05)
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
The purpose of this study were to 1.) study the characteristic of functional headache patients 2.) the correlation between pain intensity and muscle tension and 3.) the correlation between pain intensity and mental problems. The subject in this study included 110 patients. The measurement consisted of self-administrated questionnaire and EMG Biofeedback equipment. The data analysed by SPSS for window. The result were as follows: 1.The functional headache patients comprised of 95 females and 15 males (86.4% and 13.6% respectively). The average age was 32 years. Sociodemographically, headache suffers were found commonly in couple status, high education level and employment status. The average duration of attack was 8 years, frequency of attack 10 day/month. 30% of the patients had a duration of headache between 30 min and 4 hr. Location of headache was pain in the left side of head only (22.7%), type of pain was pressing, tightening pain (44.5%), associated symptom of headache was phonophobia (68.2%). The main precipitating factor was stress (81.8%). The major impact the headache affected their ability to work efficiently (66.4%). Thirty-five point five percent of headache suffers had a family history of similar headaches. Sleep problems were the most common associated problems among the headache suffers (81.8%). Among subjects with sleep problems, lack of refreshment after sleep was the most common (55.5%). The headache suffers had a high percentage of severe distress from GWB (44.5%). The headache intensity was headache pain level that could be ignored at times (27.3%). The average mean EMG level was 7.03 uV. 2. No statistically significant correlation between pain intensity and muscle tension level. 3. No statistically significant correlation between pain intensity and mental problem.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
ยืนยงชัยวัฒน์, กรอนงค์, "ลักษณะของผู้ป่วยที่มีอาการปวดศรีษะชนิดที่ไม่มีพยาธิสภาพ ที่คลินิกปวดศรีษะ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์" (1998). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 21724.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/21724