Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การควบคุมการปฏิบัติงานของพาหนะขนส่งวัสดุแบบอัตโนมัติที่สามารถรับภาระได้ 2 หน่วย ในระบบผลิตแบบยืดหยุ่น

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Operational control of double-load automated guided vehicles in a flexible manufacturing system

Year (A.D.)

1998

Document Type

Thesis

First Advisor

ปารเมศ ชุติมา

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

วิศวกรรมอุตสาหการ

DOI

10.58837/CHULA.THE.1998.945

Abstract

งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงผลกระทบของปัจจัยต่างๆ ที่มีต่อประสิทธิภาพของระบบผลิตแบบยืดหยุ่นที่ใช้ AGV เป็นพาหนะขนถ่ายวัสดุ โดยใช้เทคนิคการจำลองปัญหาทางคอมพิวเตอร์ การทดลองจะถูกดำเนินการภายใต้ปัจจัยที่แตกต่างกัน คือ จำนวน AGV ที่ใช้ในระบบ (Number of AGVs) กฎการรับงาน (Pick-up rules) กฎการจัดลำดับ (Dispatching rules) กฎการส่งงาน (Drop-off rules) ขนาดของแถวคอย (Queue size) และจำนวนชิ้นงานที่อยู่ในระบบ (Entity) ดัชนีที่ใช้ในการวัดประสิทธิภาพของระบบประกอบด้วยค่าเฉลี่ยของ เวลาที่ชิ้นงานใช้ในระบบ (Flow time) เวลาที่ชิ้นงานเสร็จไม่ตรงกำหนด (Lateness) เวลาที่ชิ้นงานเสร็จช้ากว่ากำหนด (Tardiness) จำนวนชิ้นงานที่ดำเนินการแล้วเสร็จ (Jobs done) จำนวนชิ้นงานในบัฟเฟอร์ส่วนกลาง (Number of jobs in central buffer) และการใช้งานของเครื่องจักร (Machine utilization) จากผลการทดลองสามารถสรุปได้ว่า ปัจจัยทุกตัวส่งผลกระทบต่อดัชนีวัดประสิทธิภาพของระบบทุกด้านอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่น 95 เปอร์เซ็นต์ ยกเว้นปัจจัยด้านกฎการรับงานเท่านั้นที่ไม่ส่งผลกระทบต่อดัชนีวัดประสิทธิภาพของระบบในด้านจำนวนชิ้นงานในบัฟเฟอร์ส่วนกลาง และปัจจัยด้านจำนวน AGV กับ Entity จะมีปฏิสัมพันธ์ร่วมระหว่างกันมากที่สุดสำหรับดัชนีวัดประสิทธิภาพของระบบทุกด้าน ยกเว้นด้าน Machine utilization ซึ่งปัจจัยด้านจำนวน AGV กับ Queue จะมีปฏิสัมพันธ์ร่วมระหว่างกันมากที่สุดอย่างมีนัยสำคัญ และกฎที่ดีที่สุดสำหรับดัชนีวัดประสิทธิภาพของระบบทุกด้านคือ FSNS/FCFS/ND

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

This paper attempts to investigate the performance of a flexible manufacturing system that employs automated guided vehicles by computer simulation technique. The experiments are conducted under various factors, i.e., number of AGVs, dispatching rules, pick-up rules, drop-off rules, queue sizes and number of entities in the system against mean flow time, mean lateness, mean tardiness, mean jobs done, mean number of jobs in central buffer and average machine utilization. The simulation results indicate that all factors affect every performance measure apart from pick-up rules that have no effect on mean number of jobs in central buffer for 95% significance level. In addition, the interaction between the number of AGVs and the number of entities in the system is at a highest level comparing with others for all measures, except average machine utilization of which the interaction between the number of AGVs and the queue size is the most significant. The policy that shows good performance for all measures is FSNS/FCFS/ND.

Share

COinS