Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
การพัฒนาคุณสมบัติของเส้นลวดทองคำ 14 กะรัต โดยกรรมวิธีทางความร้อน
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
The development on properties of 14 carat gold wire by heat treatment
Year (A.D.)
1998
Document Type
Thesis
First Advisor
เอกสิทธิ์ นิสารัตนพร
Second Advisor
ฉัตรชัย สมศิริ
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
วิศวกรรมโลหการ
DOI
10.58837/CHULA.THE.1998.877
Abstract
งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างจุลภาค ระยะเวลาในการอบเป็นเนื้อเดียว และค่าความแข็งของเส้นลวดทองคำ 14 กะรัต (59.Owt.%Au-14.6wt%Ag-26.4wt%Cu) ที่ผลิตด้วยกรรมวิธีการหล่อด้วยแบบปูนในระบบสุญญากาศและนำมารีดเป็นเส้นลวดด้วยปริมาณลดพื้นที่หน้าตัด 0-88 เปอร์เซ็นต์ เพื่อเปรียบเทียบกับเส้นลวดทองคำที่ไม่ผ่านการอบเป็นเนื้อเดียว ผลการทดลองพบว่า โครงสร้างที่เกิดการแยกชั้นในระดับจุลภาคหรือคอริ่งถูกขจัดด้วยการอบเป็นเนื้อเดียวที่อุณหภูมิ 800 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 4 ชั่วโมง จากนั้นชุบลงในน้ำผสมน้ำแข็งที่มีอุณหภูมิใกล้ 0 องศาเซลเซียส การทดลองดังกล่าวพบว่าชิ้นงานทดสอบที่ผ่านการอบเป็นเนื้อเดียวมีค่าความแข็งลดลงและกระจายตัวสม่ำเสมอกว่าชิ้นงานที่ไม่ผ่านการอบเป็นเนื้อเดียว การศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับอิทธิพลของการอบอ่อน และอบเพิ่มความแข็งต่อค่าความแข็งเส้นลวดทองคำ 14 กะรัต ที่มีปริมาณลดพื้นที่หน้าตัด 88 เปอร์เซ็นต์ พบว่าชิ้นงานทดลองที่ผ่านการอบเป็นเนื้อเดียวและไม่ผ่านการอบเป็นเนื้อเดียว มีค่าความแข็งเพิ่มขึ้นหลังจากผ่านการอบเพิ่มความแข็งที่ทำให้เกิดการตกผลึกเป็นเฟสใหม่ อย่างไรก็ตามผลการอบเป็นเนื้อเดียว การอบอ่อน การอบเพิ่มความแข็ง แสดงความแตกต่างด้านค่าความแข็งไม่มากนัก (260 HV) เมื่อเปรียบเทียบกับชิ้นงานที่ไม่ผ่านการอบเป็นเนื้อเดียว (253 HV)
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างจุลภาค ระยะเวลาในการอบเป็นเนื้อเดียว และค่าความแข็งของเส้นลวดทองคำ 14 กะรัต (59.Owt.%Au-14.6wt%Ag-26.4wt%Cu) ที่ผลิตด้วยกรรมวิธีการหล่อด้วยแบบปูนในระบบสุญญากาศและนำมารีดเป็นเส้นลวดด้วยปริมาณลดพื้นที่หน้าตัด 0-88 เปอร์เซ็นต์ เพื่อเปรียบเทียบกับเส้นลวดทองคำที่ไม่ผ่านการอบเป็นเนื้อเดียว ผลการทดลองพบว่า โครงสร้างที่เกิดการแยกชั้นในระดับจุลภาคหรือคอริ่งถูกขจัดด้วยการอบเป็นเนื้อเดียวที่อุณหภูมิ 800 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 4 ชั่วโมง จากนั้นชุบลงในน้ำผสมน้ำแข็งที่มีอุณหภูมิใกล้ 0 องศาเซลเซียส การทดลองดังกล่าวพบว่าชิ้นงานทดสอบที่ผ่านการอบเป็นเนื้อเดียวมีค่าความแข็งลดลงและกระจายตัวสม่ำเสมอกว่าชิ้นงานที่ไม่ผ่านการอบเป็นเนื้อเดียว การศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับอิทธิพลของการอบอ่อน และอบเพิ่มความแข็งต่อค่าความแข็งเส้นลวดทองคำ 14 กะรัต ที่มีปริมาณลดพื้นที่หน้าตัด 88 เปอร์เซ็นต์ พบว่าชิ้นงานทดลองที่ผ่านการอบเป็นเนื้อเดียวและไม่ผ่านการอบเป็นเนื้อเดียว มีค่าความแข็งเพิ่มขึ้นหลังจากผ่านการอบเพิ่มความแข็งที่ทำให้เกิดการตกผลึกเป็นเฟสใหม่ อย่างไรก็ตามผลการอบเป็นเนื้อเดียว การอบอ่อน การอบเพิ่มความแข็ง แสดงความแตกต่างด้านค่าความแข็งไม่มากนัก (260 HV) เมื่อเปรียบเทียบกับชิ้นงานที่ไม่ผ่านการอบเป็นเนื้อเดียว (253 HV)
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
สุวิกรม, จาพิกรณ์, "การพัฒนาคุณสมบัติของเส้นลวดทองคำ 14 กะรัต โดยกรรมวิธีทางความร้อน" (1998). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 21582.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/21582