Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
การศึกษาพฤติกรรมของวัสดุที่เหมาะสมเพื่อใช้ทดแทนไม้คอนแขวนเคเบิลโทรศัพท์
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Study of behavior of materials suitable for replacing wood crossarms supporting telephone cables
Year (A.D.)
1998
Document Type
Thesis
First Advisor
ชัชชาติ สิทธิพันธุ์
Second Advisor
ธีรพงศ์ เสนจันทร์ฒิไชย
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
วิศวกรรมโยธา
DOI
10.58837/CHULA.THE.1998.865
Abstract
งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาพฤติกรรมของวัสดุที่เหมาะสมเพื่อทดแทนไม้คอนขวนเคเบิลโทรศัพท์ โดยที่วัสดุที่นำมาทดสอบประกอบด้วยคอนไม้แขวนเคเบิลที่เป็นวัสดุเดิม คอนเหล็กรูปตัวซี และคอนกรีตอัดแรงสปันจำนวนอย่างละ 60 ตัวอย่าง การทดสอบคอนแขวนเคเบิลในแต่ละประเภทนี้จะจำลองการทดสอบใกล้เคียงกับพฤติกรรมการใช้งานจริงโดยแบ่งรายการทดสอบที่สำคัญคือ การทดสอบภายใต้น้ำหนักบรรทุกสถิตย์ การทดสอบการกัดกร่อนสภาวะเร่งทดสอบ และการทดสอบความล้ากรณีแรงกระทำเป็นวัฏจักร ผลการทดสอบแสดงให้เห็นว่าคอนเหล็กรูปตัวซีมีคุณสมบัติทางวิศวกรรมที่เหมาะสมต่อการนำไปใช้งาน โดยที่น้ำหนักบรรทุกสถิตย์เฉลี่ยที่จุดครากของคอนเหล็กรูปตัวซีมีค่ามากกว่าน้ำหนักบรรทุกการใช้งานเมื่อทำการแขวนเคเบิลโทรศัพท์และให้สัมประสิทธิ์ความแปรผันของตัวอย่างการทดสอบมีค่าน้อย จากการที่คอนเหล็กรูปตัวซีมีการชุบผิวสังกะสีหนา 120 ไมโครเมตร ทำให้สามารถทนต่อการกัดกร่อนในบรรยากาศที่รุนแรงต่างๆ ได้มากกว่า 20 ปี จึงเริ่มเกิดสนิมเหล็กขึ้น แม้ว่าคอนเหล็กรูปตัวซีจะปรากฏสนิมเหล็กขึ้นบนผิวคอนเหล็กรูปตัวซีแต่ผลการทดสอบการรับน้ำหนักบรรทุกสถิตย์ยังคงมีค่าใกล้เคียงกับน้ำหนักบรรทุกสถิตย์เฉลี่ยของคอนเหล็กรูปตัวซีที่มีการชุบผิวสังกะสี นอกจากนี้คอนเหล็กรูปตัวซียังสามารถทนต่อการทดสอบภายใต้น้ำหนักบรรทุกกระทำซ้ำที่คำนึงถึงผลของแรงลมจนครบสองล้านรอบโดยไม่เกิดการวิบัติจากความล้าของการกระทำซ้ำ ซึ่งแตกต่างกับคอนกรีตอัดแรงสปันที่ทดสอบภายใต้น้ำหนักบรรทุกกระทำซ้ำไม่ครบสองล้านรอบ โดยผลการทดสอบปรากฏความกว้างรอยร้าวที่กึ่งกลางความยาวของคอนกรีตอัดแรงสปันที่เริ่มจากรอยร้าวเล็กๆ และความกว้างของรอยร้าวจะขยายใหญ่ตามจำนวนรอบที่เพิ่มขึ้นจนกระทั่งคอนกรีตส่วนเป็นพื้นที่รับแรงดึงเกิดการวิบัติ ดังนั้นจึงนับได้ว่าคอนเหล็กรูปตัวซีจึงเหมาะสมที่นำไปใช้ทดแทนคอนไม้แขวนเคเบิลที่เป็นวัสดุเดิม
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
The objective of this thesis is to study the behavior of proposed materials to replace the wood crossarm supporting the telephone cable. The materials under consideration are wood, channel steel and spun prestressed concrete. Sixty samples of each material were tested to simulate the actual working condition. These tests consist of the static loading test, the accelerated corrosion test and the fatigue test. The test results indicated that the channel steel crossarm was the most suitable material to replace the wood crossarm due to the fact that its yield strength is higher than the service loading and the coefficient of variance from the channel steel samples is very low. In addition, from the corrosion resistant of channel steel crossarm, it is found that the samples can protect corrosion in atmospheres for more than twenty years for 120 micrometer-thick hot dip zinc coating. However, the results from static test show no effect of zinc coating on yield and ultimate strength. From fatigue test, the channel steel crossarm can sustain two million cycles of repeated loading without damage whereas the spun prestressed concrete crossarm, it failed before two million cycles.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
ตั้งทองคำ, สมนึก, "การศึกษาพฤติกรรมของวัสดุที่เหมาะสมเพื่อใช้ทดแทนไม้คอนแขวนเคเบิลโทรศัพท์" (1998). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 21570.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/21570