Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
การจำลองการดูดซับบนระบบเบดเคลื่อนที่จำลองแบบสี่โซนสำหรับแยกของผสม อีเทน-เอทิลีน
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Simulation of four zones simulated moving bed adsorption for separation of the ethane-ethylene mixture
Year (A.D.)
1998
Document Type
Thesis
First Advisor
เดชา ฉัตรศิริเวช
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
วิศวกรรมเคมี
DOI
10.58837/CHULA.THE.1998.824
Abstract
การจำลองเชิงตัวเลขของกระบวนการดูดซับบนระบบเบดเคลื่อนที่จำลองแบบ 4 โซน สำหรับใช้แยกของผสมอีเทนและเอทิลีน ในสภาวะที่เป็นแก๊ส ถูกศึกษาโดยใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ ที่รูปแบบการไหลเป็นแบบเบดนิ่งที่มีการแพร่ในแนวแกน สมดุลการดูดซับเกิดขึ้นทันทีทันใด ณ ทุกจุดในหอดูดซับ และแบบจำลองของสมดุลการดูดซับที่ใช้เป็นแบบจำลองของแลงเมียร์ชนิดหลาย องค์ประกอบ ตัวดูดซับที่ใช้ศึกษามีอยู่ 2 ชนิด คือซิลิกาเจล ซึ่งใช้มีเทน และโพรเพนเป็นตัวคายการดูดซับ และอีกชนิดคือ ถ่าน กัมมันต์ ซึ่งใช้คาร์บอนไดออกไซด์และไนโตรเจนเป็นตัวคายการดูดซับ ความยาวของแต่ละโซนมีผลต่อความบริสุทธิ์ของผลิตภัณฑ์น้อยกว่าจำนวนคอลัมน์ย่อย และ สัดส่วนอัตราการไหลในแต่ละในแต่ละโซน และจำนวนคอลัมน์ย่อยในแต่ละโซนมีผลต่อความบริสุทธ์ ของผลิตภัณฑ์ราฟฟิเนทมากกว่าของผลิตภัณฑ์เอ็กซ์แทรกตัวดูดซับซิลิกาเจลมีสมรรถนะในการแยก ดีกว่า ถ่านกัมมันต์ และตัวคายการดูดซับที่มีค่าคงที่สมดุลการดูดซับของแลงเมียร์สูงกว่าสารป้อน ได้แก่ โพรเพน และ ไนโตรเจน ให้ผลิตภัณฑ์ทั้งสองสายมีความเข้มข้นที่สูงกว่า ตัวดูดซับที่มีค่าคงที่สมดุลการดูดซับของแลงเมียร์ต่ำกว่าสารป้อน ได้แก่ มีเทน และคาร์บอนไดออกไซด์ ตัวดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งมีค่าคงที่สมดุลการดูดซับของแลงเมียร์ต่ำกว่าสารป้อนมาก ไม่สามารถแยกอีเทน และเอทิลีนออกจากกันได้อย่างสมบูรณ์ ภายใต้สภาวะที่ศึกษา
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
Simulation of simulated moving bed adsorption for ethane-ethylene separation in gas phase condition was studied using axial disperse plug flow model with local multicomponent Langmuir adsorption model. Two kinds of adsorbent were used. The first adsorbent was silica gel with methane and propane as desorbent. The second one was activated carbon with nitrogen and carbon dioxide as desorbent. Product purity was affected slightly with the length of each zone, while it was significantly depended upon the number of columns in each zone and flow ratio. In addition, the number of columns had more effect on the purity of raffinate product than on that of the extract one. Siliga gel provided higher separation performance than activated carbon. Both propane and nitrogen could be employed to produce greater product concentration than methane and carbon dioxide. However, the complete separation could not be obtained with carbon dioxide.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
พราวแจ้ง, ธวัชชัย, "การจำลองการดูดซับบนระบบเบดเคลื่อนที่จำลองแบบสี่โซนสำหรับแยกของผสม อีเทน-เอทิลีน" (1998). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 21529.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/21529