Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การออกแบบจำลองวัตถุเพื่อจัดการบัญชีย่อยในธุรกิจการผลิตและจำหน่าย

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

A design of object model to manage subsidiary ledger in producer and distributor business

Year (A.D.)

1998

Document Type

Thesis

First Advisor

สมชาย ทยานยง

Second Advisor

วันชัย ริ้วไพบูลย์

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์

DOI

10.58837/CHULA.THE.1998.703

Abstract

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นการวิเคราะห์และออกแบบเชิงวัตถุ รวมทั้งพัฒนาโปรแกรมต้นแบบที่เป็นแนวทางในการพัฒนาระบบงานที่สมบูรณ์ต่อไป โดยใช้การวิเคราะห์และออกแบบเชิงวัตถุของระบบบัญชีย่อยในธุรกิจการผลิตและจำหน่ายเป็นกรณีศึกษา ซึ่งทำการออกแบบวัตถุเพื่อจัดการบัญชีย่อยครอบคลุมทั้งวงจรการดำเนินการของธุรกิจการผลิตและจำหน่ายคือ การจัดหา การผลิต การจัดเก็บและการขาย การวิเคราะห์และออกแบบเชิงวัตถุเพื่อจัดการบัญชีย่อยในธุรกิจการผลิตและจำหน่ายได้ใช้วิธีการของโคดและยอร์ดอน (Coad and Yourdon) โดยเริ่มจากการศึกษาระบบงานจากหนังสือด้านระบบบัญชี และทำการวิเคราะห์และออกแบบโดยแบ่งส่วนงานเป็น ส่วนขอบเขตปัญหา ส่วนติดต่อกับผู้ใช้และส่วนจัดการข้อมูลโดยใช้ภาษาแบบจำลองยูนิฟาย (Unified Modeling Language) ในการสร้างแบบจำลองวัตถุ การวิจัยได้ทำการพัฒนาโปรแกรมต้นแบบโดยใช้โปรแกรมเดลไฟล์ (Delphi) และใช้พาราด็อกซ์ (Paradox) เป็นระบบจัดการฐานข้อมูล จากการวิจัยได้ผลลัพธ์เป็นคลาสในส่วนขอบเขตปัญหาจำนวน 156 คลาส คลาสในส่วนติดต่อกับผู้ใช้จำนวน 496 คลาส คลาสในส่วนจัดการข้อมูลจำนวน 111 คลาส สามารถนำวัตถุกลับมาใช้ประโยชน์แบบกล่องดำ ในส่วนขอบเขตปัญหาประมาณ 54% และในส่วนติดต่อกับผู้ใช้ประมาณ 100% มีการนำวัตถุกลับมาใช้ประโยชน์แบบกล่องขาว ในส่วนขอบเขตปัญหาประมาณ 69% และในส่วนติดต่อกับผู้ใช้ประมาณ 100% ไม่มีการนำวัตถุกลับมาใช้ประโยชน์ในส่วนจัดการข้อมูล จากการวิจัยพบว่า การพัฒนาระบบงานเพื่อจัดการบัญชีย่อยในธุรกิจผลิตและจำหน่ายเหมาะสมกับการพัฒนาระบบแบบเชิงวัตถุ เพราะลักษณะงานของการจัดการบัญชีย่อยในแต่ละองค์การจะมีการดำเนินงานที่แตกต่างกันไปตามกฎระเบียบขององค์กร ทำให้ต้องมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงโปรแกรมซึ่งเป็นเรื่องยุ่งยาก แต่ถ้าใช้การพัฒนาระบบงานเชิงวัตถุจะทำให้การเปลี่ยนแปลงแก้ไขโปรแกรมทำได้ง่ายเพราะจะทำการแก้ไขเฉพาะคลาสที่เกี่ยวข้องเท่านั้น รวมทั้งมีความสามารถในการนำวัตถุกลับมาใช้ประโยชน์ทำให้การพัฒนาและการปรับเปลี่ยนแปลงมีต้นทุนต่ำลงอีกด้วย

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

This thesis is an attempt to introduce an object oriented system analysis and design. That can be reused develop a prototype to be as a concept for developing a complete system. This thesis used a subsidiary ledger for the business of production and distribution as a case study. All components of the business, purcurement, production, warehousing and selling were analysed and designed. This thesis used P.Coad and E.Yourdon approach. The systems were separated into 3 main components by this approach : problem domain, human interface and data management. The Unified Modeling Language was used to construct an object model. For coding, the Delphi language was introduced as a programing language and Paradox is used as a database tool. The results of this study, it was found that there were 156 classes in problem domain component, 496 classes in human interface component, 111 classes in data management component. There were reusable objects about 54% for black-box reusing in problem domain component and in human interface component was about 69% and in human interface component was about 100% but there were no reusable objects in data management component. It was found that the object oriented technology was suitable for such a subsidiary ledger because the modification that due to management changes could be solved by updating the involving classes and the rest could be reused. By this methodology the cost of software development and maintenance can be minimized.

Share

COinS