Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
การใช้ปลานิล Oreochromis niloticus และสาหร่ายสไปรูลินา Spirulina platensis ในการบำบัดน้ำจากการเลี้ยงกุ้งกุลาดำระบบความเค็มต่ำ
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Use of nile tilapia Oreochromis niloticus and Spirulina platensis as biological treatment for low salinity shrimp culture
Year (A.D.)
2002
Document Type
Thesis
First Advisor
สมเกียรติ ปิยะธีรธิติวรกุล
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
วิทยาศาสตร์สภาวะแวดล้อม
DOI
10.58837/CHULA.THE.2002.1914
Abstract
ศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างการเปลี่ยนแปลงของคุณภาพน้ำในการบำบัดน้ำทางชีวภาพของบ่อเลี้ยงกุ้งกุลาดำความเค็มต่ำโดยใช้สาหร่ายสไปรูลินาและปลานิล เลี้ยงกุ้งกุลาดำ ที่ระดับความเค็มของน้ำ 5 พีพีที ในถังไฟเบอร์ความจุ 150 ลิตร ทดลองระบบน้ำเดียวกลางแจ้ง วางแผนการทดลองแบบ Completely Randomized Design involved factorials โดยมีอัตราความหนาแน่ของสาหร่ายสไปรูลินาและปลานิลเป็นปัจจัย ที่ปัจจัยละ 3 ระดับ คือ ความหนาแน่นของสาหร่ายสไปรูลินา 0, 4.2x108 และ 8.4 x108 ไตรโคมต่อลิตร และความหนาแน่นของปลานิลที่ 0, 3 และ 6 ตัวต่อน้ำ 150 ลิตร ทำการตรวจสอบพารามิเตอร์ของคุณภาพน้ำต่างๆ ดังนี้ แอมโมเนีย ไนไตรท์ ไนตรท ฟอสเฟต และคลอโรฟิลล์ โดยแต่ละค่าพารามิเตอร์จะทำการวัดทุก ๆ 2 วัน จนครบกำหนดการเลี้ยงกุ้ง 3 เดือน ตรวจวัดอุณหภูมิ ออกซิเจนละลาย พีเอช และความเข้มแสงพร้อมกับการเก็บตัวอย่างน้ำทุกครั้ง ผลการทดลอง พบว่าชุดการทดลองที่สามารถบำบัดไนเตรทได้ดีที่สุด คือชุดการทดลองที่มีการเติมสาหร่ายสไปรูลินา ความหนาแน่น 8.4 x 108 ไตรโคมต่อลิตร และมีการเลี้ยงปลานิล 3 ตัวร่วมด้วย ชุดการทดลองที่สามารถบำบัดฟอสเฟตได้ดีที่สุด คือ ชุดการทดลองที่มีการเติมสาหร่ายสไปรูลินา ความหนาแน่น 8.4 x 108 ไตรโคมต่อลิตร ผลการศึกษาความสามารถในการลดสารประกอบไนโตรเจนในรูปของแอมโมเนีย ไนเตรท รวมทั้งฟอสเฟตจากน้ำเลี้ยงกุ้งกุลา และประสิทธิภาพการสร้างเซลล์ของสาหร่ายสไปรูลินาที่ระดับความหนาแน่น 4.2 x108 และ 8.4 x108 ไตรโคมต่อลิตร พบว่าชุดมีการสร้างเซลล์และขยายจำนวนได้ดีที่สุด คือ ชุดการทดลองที่มีการเติมสาหร่ายสไปรูลินาความหนาแน่น 8.4 x108 ไตรโคมต่อลิตร ซึ่งมีความสัมพันธ์กับปริมาณแอมโมเนีย ไนเตรท และฟอสเฟตที่มีแนวโน้มลดลงเมื่อสาหร่ายสไปรูลินามีการเจริญเพิ่มขึ้น ส่วนชุดที่มีการเลี้ยงปลานิลร่วมด้วยนั้น ไม่ว่าจะมีการเติมสาหร่ายสไปรูลินาที่ความหนาแน่น 4.2 x108หรือ 8.4 x108 ไตรโคมต่อลิตร แต่ถ้ามีปลานิล 6 ตัว จะเพิ่มจำนวนได้น้อยกว่าชุดที่มีการเลี้ยงปลานิลร่วมด้วยเพียง 3 ตัว สำหรับผลผลิตกุ้งกุลาดำพบว่า การเติมสาหร่ายสไปรูลินา 8.4x108 ไตรโคมต่อลิตร มีส่วนในการเพิ่มผลผลิตกุ้งได้สูงกว่าการทดลองที่ไม่ได้เติมสาหร่าย
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
Use of Spirulina and Tilapia as biological treatment for low salinity shrimp culture was conducted using 3x3 cpm[lately randomized design involved factorials. Three concentration of Spirulina platensis 0, 4.2x108 and 8.4x108 trichome/L and 3 densities of tilapia were used in treatment combination for controlling water quality in low salinity shrimp culture. The experiments were conducted of salinity 5 ppt with 150 litres experimental unit. The culture system was one water and outdoor. During 3 months of experiment, nutrients such as NH4-N, NO2-N, NO3-N and PO4-P and chlorophyll were determined every two days. Water temperature pH, DO, salinity and light intensity were determine daily. The results indicated that a treatment with Spirulina platensis 8.4x108 trichome/L and 3 tilapias gave a better reduction of nitrate concentration while a treatment with results showed that the cultured tank with Spilurina platensis 8.4x108 trichome/L and 3 tilapias reduced the most nitrate concentration while the treatment with Spilurina platensis 8.4x108 trichome/L and no tilapia could give better control of Phosphate during the whole culture period of Penaeus monodon. The results indicated that a treatment with Spilurina platensis 8.4 x108 trichome/L gave better yield of Penaeus monodon than other treatment without Spilurina platensis.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
คุ้มเสาร์, หนึ่งฤทัย, "การใช้ปลานิล Oreochromis niloticus และสาหร่ายสไปรูลินา Spirulina platensis ในการบำบัดน้ำจากการเลี้ยงกุ้งกุลาดำระบบความเค็มต่ำ" (2002). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 21251.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/21251