Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ประสิทธิภาพการกำจัดโลหะหนักบางชนิดในน้ำเสียจากอุตสาหกรรมแผงวงจรพิมพ์ด้วยตัวกลางเศษคอนกรีต

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Efficientcy of some heavy metal removal from printed circuit boards industrail waste water by concrete rubbish media

Year (A.D.)

2002

Document Type

Thesis

First Advisor

ธเรศ ศรีสถิตย์

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

วิทยาศาสตร์สภาวะแวดล้อม

DOI

10.58837/CHULA.THE.2002.1900

Abstract

การวิจัยนี้เป็นการทดลองในห้องปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพในการกำจัดโลหะหนัก 5 ชนิดในน้ำทิ้งจากอุตสาหกรรมแผงวงจรพิมพ์ด้วยตัวกลางเศษคอนกรีต การทดลองแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ขั้นแรกเป็นการศึกษาลักษณะทางกายภาพของเศษคอนกรีตที่เตรียมไว้สำหรับทำการทดลองพบว่า เศษคอนกรีตขนาด 0.5-1.0 มิลลิเมตร มีพื้นที่ผิว 10.5057 sq.m./g และมีค่าความสามารถในการแลกเปลี่ยนประจุ 30.1 cmole/Kg concrete เศษคอนกรีตที่เตรียมได้มี ขนาด 0.5-0.6 มม. 15.00% ขนาด 0.6-0.8 มม. 46.67% และ ขนาด 0.8-1.0 มม. 27.67% ตามลำดับ ขั้นตอนที่สองคือการทำการทดลองแบบไม่ต่อเนื่องหรือแบบแบตช์เพื่อศึกษาปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อการดูดติดผิวโลหะได้แก่ ค่าพีเอช เวลาสัมผัส และปริมาณเศษคอนกรีต เพื่อทดสอบไอโซเทอมการดูดติดผิวแบบฟรุนดิช พบว่าที่ค่าพีเอชเริ่มต้นต่างกัน ประสิทธิภาพการกำจัดโลหะในน้ำเสียสังเคราะห์ไม่ต่างกัน สำหรับโลหะทั้ง 5 ชนิด และไอโซเทอมการดูดติดผิวสำหรับโลหะทั้ง 5 ชนิดด้วยเศษคอนกรีต เป็นไปดังสมการ y = 0.1348X[superscript 0.4525], y = 0.7724X[superscript 0.2531], y = 0.7416X[superscript 0.3410], y = 0.1034X[superscript 1.8844] และ y = 0.7398X[superscript 0.4458] สำหรับ โครเมียม, ทองแดง,นิกเกิล, ตะกั่ว และ สังกะสี ตามลำดับ โดยใช้น้ำเสียสังเคราะห์ที่มีความเข้มข้นของโลหะ 10 mg/L และขั้นตอนสุดท้ายคือการทดลองแบบต่อเนื่องโดยใช้ถังดูดติดผิวแบบคอลัมน์ความลึก 180 เซนติเมตร เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการใช้งานของเศษคอนกรีตในการกำจัดโลหะหนักในน้ำเสียจริงที่มีความเข้มข้นของ ทองแดง นิกเกิล ตะกั่ว และสังกะสีเป็น 0.75, 0.17, 0.61 และ 0.15 mg/L ตามลำดับ พบว่าเศษคอนกรีตสามารถลดความเข้มข้นของโลหะทั้ง 4 ชนิดในน้ำเสียลงได้มากที่สุด 50% ที่อัตราการไหล 2.4 ลิตร/ชั่วโมง และมีอายุการใช้งานของถังดูดติดผิวแบบคอลัมน์ 30 ชั่วโมง.

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

This is a laboratory scale experiment to study the efficiency of concrete rubbish to remove 5 metals in waste water from printed circuit boards industrial. The experiment was divided into 3 parts. First was physical study of concrete rubbish properties which found that concrete rubbish has 10.5057 sq.m./g surface area. For concrete rubbish size distribution there are 15.00%, 46.67% and 27.67%by weigh for 0.5-0.6mm.,0.6-0.8 mm. and 0.8-1.0 mm. respectively and cation exchange capacity is 30.1 cmole/Kg concrete. The second was batch experiment to determine contact time, suitable pH and adsorption isotherm for removes Cr[superscript 3+] Cu[superscript 2+] Ni[superscript 2+] Pb[superscript 2+] and Zn[superscript 2+] from 10 mg/L synthetic waste water. From batch study found that Freundich isotherm can use to describe the adsorption process. Freundlich isotherm for each metal are y = 0.1348X[superscript 0.4525], y = 0.7724X[superscript 0.2531], y = 0.7416X[superscript 0.3410], y = 0.1034X[superscript 1.8844] andy = 0.7398X[superscript 0.4458] for Cr, Cu, Ci, Pb, and Zn respectively. The third was 1.80-m. depth adsorption column which found that concrete rubbish has maximum 50% removal efficiency for Cu, Ni, Pb and Zn in waste water form printed circuit boards with in 30 hr. operation.

Share

COinS