Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
การกำจัดตะกั่วในน้ำเสียสังเคราะห์ด้วยถ่านกัมมันต์จากขี้เลื่อย
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Lead removal from synthetic wastewater by activated carbon from sawdust
Year (A.D.)
2002
Document Type
Thesis
First Advisor
ธเรศ ศรีสถิตย์
Second Advisor
เปรมจิตต์ แทนสถิตย์
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
วิทยาศาสตร์สภาวะแวดล้อม
DOI
10.58837/CHULA.THE.2002.1899
Abstract
การวิจัยนี้เป็นการศึกษาการกำจัดตะกั่วในน้ำเสียสังเคราะห์ด้วยถ่านกัมมันต์จากขี้เลื่อยที่กระตุ้นด้วยสารเคมีสองชนิดคือโซเดียมคลอไรด์และซิงค์คลอไรด์ โดยมีการทดลองเปลี่ยนแปลงอัตราส่วนโดยน้ำหนักของขี้เลื่อยต่อสารเคมีที่ใช้ และการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิที่ใช้เผากระตุ้น ทำการศึกษาเปรียบเทียบค่าไอโอดีนนัมเบอร์ของถ่านกัมมันต์ที่เตรียมได้ แล้วคัดเลือกถ่านกัมมันต์ตัวที่เหมาะสมที่สุดจากการกระตุ้นด้วยสารเคมีทั้งสองชนิด เพื่อทำการศึกษาสมบัติต่างๆ และเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการกำจัดตะกั่วในน้ำเสียสังเคราะห์ ของถ่านกัมมันต์ที่เตรียมได้ทั้งสองชนิด ผลการทดลองพบว่า สภาวะการเตรียมถ่านกัมมันต์จากขี้เลื่อยที่เหมาะสม คือ การกระตุ้นด้วยโซเดียมคลอไรด์ ใช้อัตราส่วนโดยน้ำหนักของขี้เลื่อยต่อโซเดียมคลอไรด์ เท่ากับ 1 : 1 และเผากระตุ้นที่ 800 ํC เป็นเวลา 1 ชั่วโมง สำหรับการกระตุ้นด้วยซิงค์คลอไรด์ ใช้อัตราส่วนโดยน้ำหนักของขี้เลื่อยต่อซิงค์คลอไรด์ เท่ากับ 1 : 1 และเผากระตุ้นที่ 700 ํC เป็นเวลา 1 ชั่วโมง จากนั้นทำการล้างสารเคมีออกจากถ่านกัมมันต์ด้วยน้ำและกรดเจือจาง จะได้ถ่านกัมมันต์ที่มีค่าไอโอดีนนัมเบอร์เท่ากับ 519.4 และ 1021.3 มิลลิกรัม/กรัม และมีค่าพื้นที่ผิวเท่ากับ 593.79 และ 1572.51 ตารางเมตร/กรัม ตามลำดับ ประสิทธิภาพในการกำจัดตะกั่วในน้ำเสียสังเคราะห์ที่ พีเอช 6, 7, 8 และ 9 มีค่า เท่ากับร้อยละ 55.33, 84.60, 90.63 และ 94.97 สำหรับถ่านกัมมันต์ที่กระตุ้นด้วยโซเดียมคลอไรด์ และมีค่าเท่ากับร้อยละ 99.76, 99.91, 99.63 และ 99.91 สำหรับถ่านกัมมันต์ที่กระตุ้นด้วยซิงค์คลอไรด์ ตามลำดับ การทดลองประสิทธิภาพในการกำจัดตะกั่วในน้ำเสียสังเคราะห์ด้วยถังดูดติดผิวแบบแท่งที่ระดับความลึกของถ่านกัมมันต์ 30, 60, 90 และ 120 เซ็นติเมตร พบว่า ที่จุด Break through สามารถกำจัดตะกั่วในน้ำเสียสังเคราะห์ได้เท่ากับ 1.21, 14.17, 186.04 และ 209.17 ลิตร สำหรับถ่านกัมมันต์ที่กระตุ้นด้วยโซเดียมคลอไรด์ และได้เท่ากับ 4.0, 21.5, 337.25 และ 829.5 ลิตร สำหรับถ่านกัมมันต์ที่กระตุ้นด้วยซิงค์คลอไรด์
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
The purpose of this research was to study the lead (Pb) removal from synthetic wastewater by activated carbon from sawdust by activation with NaCl and ZnCl[subscript 2]. The experiments varied the weight and temperature. This studying were to compare the iodine number and to select the best suitable condition for each kind of activated carbons and the efficiency for lead removal from synthetic wastewater by using each kind of activated carbon was also studied. The result was found that the activated carbon suitable with activating by NaCl using ratio of sawdust : NaCl = 1 : 1 at activating temperature 800 ํC for 1 hr. For activating by ZnCl[subscript 2] using ratio of sawdust : ZnCl[subscript 2] = 1 : 1 at activating temperature 700 ํC for 1 hr. Then washed the residue of activated carbons with water and diluted acid. The iodine number of both activated carbon were 519.4 and 1021.3 mg/g, the surface area were 593.79 and 1572.51 m[superscript 2]/g respectively. The efficiency for lead removal at pH 6, 7, 8and 9 were 55.33%, 84.60%, 90.63% and 94.97% for activated carbon with activating by NaCl and by ZnCl[subscript 2] were 99.76%, 99.91%, 99.63% and 99.91% respectively. In the activated carbon columns, the efficiency for lead removal from synthetic wastewater had been studied at the column depth of 30, 60, 90 and 120 cm. At the breakthrough point of lead (0.05 mg/L) in wastewater were 1.21, 14.17, 186.04 and 209.17 L for activated carbon with activating by NaCl and by ZnCl[subscript 2] were 4.0, 21.5, 337.25 and 829.5 L respectively.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
ติระรัตนสมโภช, มานพ, "การกำจัดตะกั่วในน้ำเสียสังเคราะห์ด้วยถ่านกัมมันต์จากขี้เลื่อย" (2002). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 21236.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/21236