Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ผลของการใช้รูปแบบการสอนแบบสนทนาที่มีต่อความสามารถในการอ่านบันเทิงคดีภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Effects of using instructional conversation model on reading ability in Thai fiction of mathayom suksa three students

Year (A.D.)

2002

Document Type

Thesis

First Advisor

กมลพร บัณฑิตยานนท์

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

ครุศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

การสอนภาษาไทย

DOI

10.58837/CHULA.THE.2002.1884

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านบันเทิงคดีภาษาไทยของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างก่อนและหลังการสอนอ่านโดยใช้รูปแบบการสอนแบบสนทนา 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านบันเทิงคดีภาษาไทย ระหว่างนักเรียนที่ได้รับการสอนอ่านโดยใช้รูปแบบการสอนแบบสนทนาและนักเรียนที่ได้รับการสอนอ่านด้วยวิธีปกติ ตัวอย่างประชากร คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน ปีการศึกษา 2544 ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 2 ห้อง ห้องละ 40 คน กำหนดให้ห้องหนึ่งเป็นกลุ่มทดลอง สอนอ่านโดยใช้รูปแบบการสอนแบบสนทนา และอีกห้องหนึ่งเป็นกลุ่มควบคุม สอนอ่านโดยวิธีสอนแบบปกติ ผู้วิจัยดำเนินการสอนทั้งสองกลุ่มด้วยตนเอง ใช้เวลาสอนกลุ่มละ2 คาบต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 8 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบวัดความสามารถในการอ่านบันเทิงคดีภาษาไทย วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่ามัชฌิมเลขคณิต ( X̅ ) ค่ามัชฌิมเลขคณิตคิดเป็นร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และทดสอบค่าที (t - test) ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการสอนอ่านโดยใช้รูปแบบการสอนแบบสนทนา มีความสามารถในการอ่านบันเทิงคดีภาษาไทยสูงกว่าก่อนทดลองสอนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยนักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยหลังการทดลองสอนสูงกว่าก่อนการทดลองสอนร้อยละ 15.63 2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการสอนอ่านโดยใช้รูปแบบการสอนแบบสนทนามีความสามารถในการอ่านบันเทิงคดีสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการสอนอ่านด้วยวิธีปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

The aims of this research were 1) to compare reading ability in Thai fiction of mathayom suksa three students before and after they were taught by instructional conversation model 2) to compare reading ability in Thai fiction of mathayom suksa three students taught by instructional conversation model with those taught by conventional instruction. The subjects were two classes of mathayom suksa three students, purposefully selected at Patumwan Demonstration School of Srinakharinwirot University in the academic year 2001. There were 40 students in each class; one class was assigned to be the experimental group taught by instructional conversation model and the other was the controlled group taught by conventional instruction. The researcher taught each group 2 periods a week for 8 weeks. The research instrument was the reading ability in Thai fiction test. The data were analyzed by arithmetic means (X̅), the percentage of arithmetic means, standard deviation (S.D.) and t – test. The research results revealed that: 1. Reading ability in Thai fiction of mathayom suksa three students taught by instructional conversation model was significantly higher than before receiving instruction at the level of .05 and the arithmetic means of student’s scores was 15.63 percents higher than before receiving the instruction. 2. Reading ability in Thai fiction of mathayom suksa three students taught by instructional conversation model was higher than those taught by the conventional instruction at the .05 level of significance.

Share

COinS