Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
การสะสมของโลหะหนักในดินตะกอนและต้นแสมขาว (Avicennia alba Bl.) บริเวณแม่น้ำท่าจีนตอนล่าง
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Accumulation of heavy metals in sediments and Avicennia alba Bl. from the Lower Tha-Chin River
Year (A.D.)
2001
Document Type
Thesis
First Advisor
กัลยา วัฒยากร
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
วิทยาศาสตร์สภาวะแวดล้อม
DOI
10.58837/CHULA.THE.2001.1760
Abstract
ศึกษาปริมาณของโลหะแคดเมียม ทองแดง ตะกั่วและสังกะสี ในดินตะกอนบริเวณแม่นํ้าท่าจีนตอนล่าง โดยวิเคราะห์ปริมาณโลหะหนักที่อยู่ในรูปแบบที่สามารถแลกเปลี่ยนได้ (exchangeable) รูปแบบที่จับอยู่กับคาร์บอเนต (bound to carbonate) รูปแบบที่จับกับแมงกานีสออกไซด์ (bound to Mn oxide) รูปแบบที่จับกับเหล็กออกไซด์ (bound to Fe oxide) และรูปแบบที่จับอยู่กับสารอินทรีย์ (bound to organic matter) ด้วยวิธีสกัดตามลำดับขั้น และศึกษาการสะสมของโลหะหนักในส่วนต่างๆ ของต้นแสมขาว (Avicennia alba BI.) ที่ขึ้นอยู่ในสถานีเก็บตัวอย่างเดียวกัน ผลการศึกษาพบว่าในดินตะกอนผิวหน้าแคดเมียมส่วนใหญ่อยู่ในรูปแบบที่สามารถแลกเปลี่ยนได้ ทองแดงและตะกั่วอยู่ในรูปแบบที่จับกับสารอินทรีย์มากที่สุด ส่วนสังกะสีจะอยู่ในรูปที่ จับกับคาร์บอเนตใกล้เคียงกับรูปที่จับอยู่กับแมงกานีสออกไซด์และเหล็กออกไซด์ และพบว่าดินตะกอนจากบริเวณคลองมหาชัยมีปริมาณตะกั่ว สังกะสี และทองแดงสูงกว่าบริเวณอื่นๆ ในดินตะกอนตามความลึก พบว่า รูปแบบของโลหะหนักในดินตะกอนบริเวณคลองสุนัขหอนมีแนวโน้มที่ชัดเจนกว่าบริเวณสองฝั่งของปากแม่นํ้า กล่าวคือ พบแคดเมียม ตะกั่ว และสังกะสี อยู่ในรูปที่จับกับเหล็กออกไซด์สูงที่สุด และพบทองแดงในรูปที่จับกับสารอินทรีย์สูงที่สุด จากการศึกษาการสะสมของโลหะหนักในใบอ่อน ใบแก่ ลำต้น และรากของต้นแสมขาว พบว่าในส่วนใบแก่มีการสะสมของโลหะหนักสูงที่สุด รองลงมาคือ ใบอ่อน ราก และลำต้น ตามลำดับ ผลรวมปริมาณทองแดงทั้ง 5 รูปแบบ ในดินตะกอนจากสถานี T1, D1 และM1 มีความสัมพันธ์ในเชิงเส้นกับปริมาณทองแดงในส่วนใบแก่และรากของต้นแสมขาว และผลรวมปริมาณสังกะสีทั้ง 5 รูปแบบ ในดินตะกอนจากสถานี T1, M1 และM3 มีความสัมพันธ์กับปริมาณสังกะสีในส่วนใบอ่อนของต้นแสมขาว
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
Concentration of Cd, Cu, Pb and Zn in sediments of the Lower Tha-Chin River was determined by sequential extraction procedure, in order to determine the distribution of metals in the exchangeable, bound to carbonate, bound to Mn oxide, bound to Fe oxide and bound to organic matter fractions. In addition, different parts of Avicennia alba Bl. 1such as leaf, stem and root were also collected and analyzed for the accumulation of these heavy metals. In surface sediments, Cd was mostly present in the exchangeable form, while Cu and Pb were dominated in bound to organic matter fraction and Zn has the highest percentage in bound to Mn and Fe oxide fractions. Sediments taken from Klong Mahachai were found to have the highest concentration of Pb, Zn and Cu. Core sediments from Klong Sunukhon showed the highest concentration of Cd, Pb and Zn in bound to Fe oxide fraction, and Cu in bound to organic matter fraction. The accumulation of heavy metals in Avicennia alba Bl. showed to be highest in old leaf > young leaf > root > stem. Total non-residual Cu in the sediment from stations T1, D1 and M1 showed linear relationship with the total Cu content of the old leaf and root of Avicennia alba Bl. at the same station, whereas total non-residual Zn in the sediment from stations T1, M1 and M3 had linear relation with the total Zn concentration of the young leaf.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
รัตนสุทธิพงษ์, กัลยา, "การสะสมของโลหะหนักในดินตะกอนและต้นแสมขาว (Avicennia alba Bl.) บริเวณแม่น้ำท่าจีนตอนล่าง" (2001). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 21167.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/21167