Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การประยุกต์แบบจำลองคุณภาพอากาศริมถนน CALINE4 เพื่อพยากรณ์ระดับปริมาณฝุ่นละอองริมถนนกรุงเทพมหานคร

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Application of CALINE4 Air Quality Model for Prediction Roadside Particulate Matter's Level in Bangkok

Year (A.D.)

2001

Document Type

Thesis

First Advisor

วนิดา จีนศาสตร์

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

วิทยาศาสตร์สภาวะแวดล้อม

DOI

10.58837/CHULA.THE.2001.1756

Abstract

ในการวิจัยครั้งนี้ได้ทำการประยุกต์แบบจำลองคุณภาพอากาศริมถนน CALINE4 จากประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อใช้คำนวณความเข้มข้นฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน (PM10) ของถนนลาดพร้าวและถนนดินแดงในช่วงเดือนมิถุนายน 2544 – เดือนมกราคม 2545 โดยเปรียบเทียบกับค่าที่วัดจริงริมถนน รวมทั้งศึกษาความเหมาะสมในการใช้เครื่อง DustTrak เป็นอุปกรณ์ตรวจสอบชนิดเคลื่อนที่ได้ โดยเปรียบเทียบกับผลจากเครื่องของกรมควบคุมมลพิษซึ่งใช้หลักการ Beta-Ray Absorption ผลชี้ให้เห็นว่าเครื่อง DustTrak มีความเป็นไปได้ในการใช้เป็นอุปกรณ์ติดตามตรวจสอบชนิดเคลื่อนที่ได้แต่ควรมีการทดสอบเพิ่มขึ้นเพื่อยืนยันผล ในการคำนวณเพื่อประยุกต์แบบจำลองเลือกใช้ค่าตัวคูณมลสารของกรมควบคุมมลพิษ และหลังจากทดลองใช้แบบจำลองกับก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ได้ปรับใช้กับฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM10) ซึ่งผลที่ได้จากแบบจำลองชี้ให้เห็นถึงศักยภาพในการประยุกต์ใช้ โดยแสดงผลเป็นค่า Root Mean Square (RMSE) ที่ดีที่สุดของถนนลาดพร้าวคือ 0.94 และถนนดินแดงคือ 0.56 ปัจจัยที่มีผลต่อค่าจากแบบจำลองมากที่สุด ได้แก่ ค่าความเข้มข้นมลสารพื้นฐาน จำนวนยานพาหนะต่อชั่วโมง ค่า Composite Emission Factor ทิศทางและความเร็วลม ปัจจัยที่มีผลต่อแบบจำลองปานกลาง ได้แก่ อุณหภูมิ ระยะห่างและความสูงของจุดรับมลสารจากแนวถนน และปัจจัยที่มีต่อแบบจำลองน้อย ได้แก่ ค่าระดับความคงตัวของบรรยากาศ และค่าความสูงของมวลอากาศที่ผสมกัน (mixing height)

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

In this research, CALINE4 air quality model from USA was applied to calculate particulate matter less than 10 micron (PM10) of Ladphrao and Dindaeng road between June 2001 – January 2002 by compare with measurement. Study the suitability for use the DustTrak equipment as a mobile monitor by compare with data of Pollution Control Department (PCD) that use Beta-Ray absorption. Results indicate that the DustTrak may be suitable as a mobile monitoring but further quality assurance need to be done. Emission Factor of PCD was chosen to calculate model application. The model after trailing with gaseous carbon monoxide was adapted for particulate matter. From the result model indicated potential in this application. The best root mean square error (RMSE) of Ladphrao road is 0.94 and Dindaeng road is 0.56. The major factors that related to model result were ambient pollutant concentration, number of vehicle per hour, composite emission factor, wind direction and wind speed. The minor factors were temperature, distance and height of receptor from roadside. The factors have little impact on model result were atmospheric stability class and mixing height.

Share

COinS