Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ประสิทธิภาพการกำจัดสีของน้ำทิ้งอุตสาหกรรมสิ่งทอด้วยกระบวนการดูดติดผิวโดยใช้ถ่านที่ผลิตจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Color removal efficiency for textile mill wastewater by agricultural waste as carbon adsorbent

Year (A.D.)

2000

Document Type

Thesis

First Advisor

ธเรศ ศรีสถิตย์

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

วิทยาศาสตร์สภาวะแวดล้อม

DOI

10.58837/CHULA.THE.2000.1624

Abstract

การศึกษาประสิทธิภาพในการกำจัดสีของนํ้าทิ้งอุตสาหกรรมสิ่งทอด้วยกระบวนการดูดติดผิว โดยสารดูดติดผิวที่ใช้ คือ ถ่านกัมมันต์และถ่านที่ผลิตจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร อัน ได้แก่ ถ่านกะลาและถ่าน ชานอ้อยที่ได้ทำการเพิ่มคุณภาพในการดูดติดผิวโดยใช้โซเดียมคลอไรด์ ทำการศึกษาลักษณะทางกายภาพของสารดูดติดผิว, การทดสอบไอโซเทอมการดูดติดผิวแบบฟรุนดลิชและการทดสอบความสามารถในการดูดติดผิวโดยใช้ถังดูดติดผิวแท่งขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3 เซนติเมตรทำการป้อนน้ำเสียแบบไหลลง ความสูงของชั้นสารดูดติดผิว 0.3 ,0.6 ,0.9 และ 1.2 เมตรใช้นํ้าทิ้งจริงของโรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอและนํ้าสีย้อมผ้า ประเภท ไดเร็กท์ 3 สี คือสีเหลือง สีแดงและสีนํ้าเงินที่ความเข้มข้นสี 250, 500, 750 และ 1,000 มิลลิกรัมต่อลิตร ผลการทดลองพบว่าถ่านกะลาไม่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมในการนำไปใช้งานโดยพิจารณาจากผลการทดสอบไอโซเทอมการดูดติดผิวแบบฟรุนดลิชส่วนถ่านกัมมันต์และถ่านชานอ้อยมีความเป็นไปได้ที่จะนำไปใช้งาน โดยถ่านกัมมันต์มีอายุการใช้งานนานที่สุด คือ 2 - 12 วัน รองลงมาเป็นถ่านกัมมันต์ผสมถ่านชานอ้อยมีอายุการใช้งาน 2 - 9 วัน และถ่านชานอ้อยมีอายุการใช้งาน 2 - 6 วัน ถ่านกัมมันต์มีประสิทธิภาพในการลดสีและซีโอดีอยู่ในช่วงประมาณร้อยละ 84 - 99 และร้อยละ 54 - 85 ถ่านกัมมันต์ผสมถ่านชานอ้อยมีประสิทธิภาพในการลดสีและซีโอดีอยู่ในช่วงประมาณร้อยละ 50 - 98 และร้อยละ 44 - 75 ส่วนถ่านชานอ้อยมีประสิทธิภาพในการลดสีและซีโอดีอยู่ในช่วงประมาณร้อยละ 51 - 95 และร้อยละ 15 - 73 โดยมีประสิทธิภาพดีที่สุดเมื่อ1ใช้กำจัดสีแดงและสีเหลืองที่ความเข้ม1ข้นสี 250 มิลลิกรัมต่อลิตร

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

Research objective is color removal efficiency for textile mill wastewater by agricultural waste as carbon adsorbent. The adsorbents are activated carbon and agricultural waste carbon; coconut shell carbon and bagasse carbon. In order to increase adsorption efficiency of agricultural waste carbon, sodium chloride solution was used in this study. Physical characteristics of adsorbents, adsorption isotherm test and column adsorption test have been examined. The performance studying of adsorption use down - flow 3 cm. diameter column which is observed at depth of adsorbent 0.3,0.6,0.9 and 1.2 m. Textile mill effluent and direct dyestuff solution with 3 shades; yellow, red and blue were used at concentration 250, 500, 750 and 1,000 mg/1. Results reveal that coconut shell carbon is unable to use as adsorbent by considering from adsorption isotherm test. Activated carbon and bagasse carbon are feasible because of its longer breakthrough time. Activated carbon has the longest breakthrough time; 2 - 12 days. Activated carbon mixed with bagasse carbon is 2 -9 days and bagasse carbon is 2 -6 days. Activated carbon has efficiency for color and COD reduction ranging from 84 - 99 % and 54 - 85 %, activated carbon mixed with bagasse carbon has color and COD reduction efficiency ranging from 50 - 98 % and 44 - 75 %. Color and COD reduction efficiency of bagasse carbon are in the range of 51-95% and 15-73 %. The adsorbents have the best performance for red and yellow shades removal at 250 mg / 1 color concentration.

Share

COinS