Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
การจัดตารางการผลิตสำหรับระบบโฟลว์ชอป : กรณีศึกษา โรงหล่อ
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Flow shop scheduling : case study foundry shop
Year (A.D.)
1999
Document Type
Thesis
First Advisor
ปารเมศ ชุติมา
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
วิศวกรรมอุตสาหการ
DOI
10.58837/CHULA.THE.1999.1303
Abstract
งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาผลกระทบของปัจจัยกฎการจัดลำดับ (Dispatching Rules) ที่มีต่อประสิทธิภาพของระบบการผลิตแบบโฟลว์ชอป (Flow Shop) ด้วยเทคนิคการจำลองแบบปัญหาทาง คอมพิวเตอร์ (Computer Simulation) โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ARENA 2.2 จำลองแบบปัญหาของกรณี ศึกษาในการจัดตารางการผลิตของโรงหล่อ เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของกฎการจัดลำดับ สำหรับดัชนีที่ ใช้วัดประสิทธิภาพในงานวิจัยฉบับนี้ประกอบด้วย เวลาที่งานอยู่ในระบบ (Flow Time) เวลาที่งานเสร็จไม่ ตรงกำหนด (Lateness) เวลาที่งานเสร็จเกินกำหนดส่งงาน (Tardiness) อัตราส่วนจำนวนงานที่เสร็จเกินกำหนดส่งต่อจำนวนงานทั้งหมด (Proportion of Jobs Tardy) และอัตราการใช้เครื่องจักรของระบบ (System Utilization) จากผลการทดลองสามารถสรุปได้ว่า กฎการจัดลำดับมีผลต่อสำหรับดัชนีวัดประสิทธิภาพของระบบผลิตที่ระดับความเชื่อมั่น 95 เปอร์เซ็นต์ และการใช้กฎการจัดลำดับที่ดีสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการจัดตารางการผลิตของการผลิตของกรณีศึกษา สำหรับกฎการจัดลำดับที่มีประสิทธิภาพโดยรวมสูงในปัญหาของกรณีศึกษา คือ LWKR (Least Work Remaining) SMT (Smallest Value obtain by Multiplying Processing time) และ SPT (Shortest Processing Time)
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
This paper attempts to investigate the influence of the dispatching rules to the performance of flow shop by using computer simulation technique. The simulation language “ARENA 2.2" is applied to model a foundry shop (case study) performed the simulation. The relative effectiveness of the dispatching rules is measured against mean flow time, mean lateness, mean tardiness, proportion of jobs tardy and average system utilization. The simulation results indicated that dispatching rules affect every measure of performance for 95% significance level. The rules that show good performance in the case study for all measures are LWKR, SMT and SPT.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
ตันติประภาส, ปรีดี, "การจัดตารางการผลิตสำหรับระบบโฟลว์ชอป : กรณีศึกษา โรงหล่อ" (1999). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 21047.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/21047