Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
การกำจัดแคดเมียมจากน้ำเสียโดยใช้ระบบบำบัดบึงประดิษฐ์แบบน้ำขังใต้ดิน
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Treatment of cadmium from wastewater using subsurface-flow constructed wetlands
Year (A.D.)
1999
Document Type
Thesis
First Advisor
อรทัย ชวาลภาฤทธิ์
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
DOI
10.58837/CHULA.THE.1999.1290
Abstract
ศึกษาประสิทธิภาพของระบบบำบัดบึงประดิษฐ์ในการกำจัด แคดเมียมจากน้ำเสียสังเคราะห์ และศึกษาทิศทางในการสะสมแคดเมียมในระบบที่มีตัวกลาง 3 ชนิด ทราย ดินปนทราย และดิน ที่ความเข้มข้นแคดเมียมในน้ำเข้าเท่ากับ 4 5 10 และ 20 มิลลิกรัมต่อลิตร ที่เวลากักน้ำ 5 วัน โดยมีอัตราการไหลของน้ำเข้าเป็น 1 4.4 และ 5 ลิตรต่อวันสำหรับระบบที่มีตัวกลางทราย ดินปนทราย และดิน ตามลำดับ รวมทั้งศึกษาปริมาณการสะสมแคดเมียมในส่วนต่างๆ ของระบบ ทั้งในตัวกลางและในพืช คือ ต้นธูปฤาษี จากผลการทดลองระบบบึงประดิษฐ์สามารถบำบัดน้ำเสียได้ ตามที่มาตรฐานน้ำทิ้งกำหนด คือ น้อยกว่าหรือเท่ากับ 0.03 มก./ล. Cd เมื่อความเข้มข้นแคดเมียมในน้ำเสียเข้าน้อยกว่าหรือเท่ากับ 5 มก./ล. ส่วนน้ำเสียเข้าที่ความเข้มข้นมากกว่า (10 และ 20 มก./ล.) ระบบยังคงกำจัดแคดเมียมได้มากกว่า 99% การกำจัดเกิดขึ้นในขณะที่น้ำเสียไหลผ่านชั้นตัวกลาง ตามทิศทางการไหลในแนวนอน ซึ่งดินมีความสามารถในการดูดซับแคดเมียมได้มากกว่าทราย โดยแคดเมียมในน้ำเข้าส่วนใหญ่สะสมอยู่ในตัวกลางมีค่าเท่ากับ 95.56% 95.53% และ 94.07% ในระบบที่มีตัวกลางทราย ดินปนทราย และดิน ตามลำดับ ส่วนในพืชนั้นมีแคดเมียมสะสมอยู่คิดเป็น 0.08% 0.06% และ 0.08% ในระบบที่มีตัวกลางทราย ดินปนทราย และดิน ตามลำดับ เมื่อนำตัวกลางทั้ง 3 ชนิด หลังจากการทดลองแล้วมาศึกษาการชะละลายของโลหะ ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมตัวกลางดินนั้น จะสามารถดูดซับแคดเมียมได้แน่นกว่าตัวกลางทราย โดยพบว่าปริมาณของแคดเมียม ที่ถูกชะละลายจากตัวกลางมีค่าเท่ากับ 5.37% 11.15% และ 54.25% สำหรับตัวกลาง ดิน ดินปนทราย และทราย ตามลำดับ ซึ่งตัวกลางดินและดินปนทรายหลังการบำบัดแคดเมียมแล้ว มีค่าการชะละลายต่ำกว่าที่มาตรฐานกำหนด คือน้อยกว่าหรือเท่ากับ 1 มิลลิกรัมต่อลิตร จึงไม่จัดเป็นของเสียอันตราย และสามารถนำไปถมที่ได้
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
This study evaluated efficiency in cadmium removal from wastewater using subsurface-flow constructed wetland and cadmium accumulation in wetland with sand, sand and soil, or soil medium. Cd concentration in wastewater was varied in 1, 5, 10 and 20 mg/l. Retention time (HRT) was 5 days and flow rate was 4, 44 and 5 l/d for wetland with sand, sand and soil, and soil medium respectively. In addition cadmium in various parts of system which consisted of medium varied among sand, sand and soil, or soil medium and a plant (Typha sp.) was studied. As a result, constructed wetland could removed from wastewater according to effluent thai industrial standard, no more than 0.03 mg/l, when [Cd]inf was no more than 5 mg/l. When [Cd]inf increased (10 and 20 mg/l), efficiency in cadmium removal was still more than 99%. Cadmium removal was begun when wastewater pass medium layer in horizontal flow direction, and soil was able to adsorb cadmuim better than sand. Most of cadmium in influent was adsorbed on medium (95.56% on sand, 95.53% on sand and soil, 94.07% on soil). In plant, accumulated cadmium was 0.08% 0.06% and 0.08% for wetland with sand, sand and soil, and soil medium respectively. Cadmium adsorption on soil was tighter than sand, since cadmium leaching from medium was 5.37% 11.15% and 54.25% for soil, sand and soil, and sand medium respectively. In conclusion only cadmium in leachant from soil ; and sand and soil met standard (no more than 1 mg/l), so both of mediums were not hazardous waste and can be used for landfill.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
ตรีรัตนภรณ์, รัตนา, "การกำจัดแคดเมียมจากน้ำเสียโดยใช้ระบบบำบัดบึงประดิษฐ์แบบน้ำขังใต้ดิน" (1999). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 21034.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/21034