Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาผลของปริมาณออกซิเจนในไอเสีย ต่อสมรรถนะและมลภาวะของเครื่องยนต์ เมื่อใช้น้ำมันเบนซินผสมสารออกซิเจนเนต

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Effects of exhaust gas oxygen content on oxygenated gasoline engine performance and exhaust emissions

Year (A.D.)

1999

Document Type

Thesis

First Advisor

คณิต วัฒนวิเชียร

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

วิศวกรรมเครื่องกล

DOI

10.58837/CHULA.THE.1999.1265

Abstract

ในงานวิจัยนี้ได้ศึกษาผลของปริมาณออกซิเจนในไอเสียต่อสมรรถนะและมลภาวะของเครื่องยนต์เมื่อใช้น้ำมันมาตรฐาน G100และน้ำมันเบนซินผสมสารออกซิเจนเนต อันได้แก่ GE05, GE10, GE15, GM05, GM10 และ CM15 ตามลำดับเป็นเชื้อเพลิง การทดสอบกระทำโดยใช้เครื่องยนต์ TOYOTA Model 4A-FE ขนาด 1600 ซีซี ที่ติดตั้งบนแท่นไดนาโมมิเตอร์ด้วยโหมดการทำงานของระบบควบคุมที่ Constant Speed Mode การทดสอบกระทำที่สภาวะการจำลองการทำงานของเครื่องยนต์ที่ติดตั้งบนรถยนต์ TOYOTA CORONA เมื่อเคลื่อนที่โดยใช้เกียร์ 4 บนถนนราบด้วยอัตราเร็วคงที่ 9 ค่า โดยแบ่งการทดสอบออกได้เป็น 3 ส่วน ส่วนแรกเป็นการทดสอบหาสมรรถนะและมลภาวะของเครื่องยนต์ OEM TOYOTA 4A-FE ส่วนที่สองเป็นการหาสมรรถนะและมลภาวะของเครื่องยนต์ TOYOTA 4A-FE เมื่อปรับแปรปริมาณออกซิเจนในไอเสีย พร้อมหาปริมาณออกซิเจนในไอเสียที่ให้ค่า Thermal Efficiency สูงที่สุดที่จะเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ (Normalized Peas Oxygen) ส่วนที่สามเป็นการนำผลในส่วนที่สองมาเปรียบเทียบกับผลการทดสอบเครื่องยนต์ OEM TOYOTA 4A-FE จากผลการวิเคราะห์ในส่วนแรกพบว่าน้ำมันเบนซินที่ผสมสาวออกซิเจนเนตให้ค่า Brake Torque ที่ต่ำกว่าน้ำมันเบนซินมาตราฐาน (G100) และให้ค่า Specific Co2, สูงกว่าน้ำมันเบนซินมาตรฐาน ผลการวิเคราะห์ยังแสดงให้เห็นว่าการผสม Ethanol ในน้ำมันเบนซินมีผลทำให้ Specific CO และ Specific Co2 สูงกว่าการผสม MTBE ในน้ำมันเบนซิน จากผลการวิเคราะห์ในส่วนที่สองแสดงให้เห็นว่าปริมาณออกซิเจนในไอเสียมีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพของเครื่องยนต์ เมื่อปริมาณออกซิเจนในไอเสียเพิ่มขึ้น (ไม่เกิน 0.7% vol.) จะมีผลทำให้ประสิทธิภาพของเครื่องยนต์มีค่าเพิ่มสูงขึ้นและมีผลทำให้ปริมาณมลพิษจากเครื่องยนต์มีค่าลดลง ผลการทดสอบเครื่องยนต์ที่ปรับแปรปริมาณออกซิเจนในไอเสียได้ ถูกนำมาวิเคราะห์หา Normalized Peak Oxygen ในไอเสียที่ให้ค่าประสิทธิภาพสูงสุดที่เป็นไปได้ในทางปฏิบัติ ในส่วนที่สามเป็นการเปรียบเทียบการทดสอบเครื่องยนต์ที่ปรับปริมาณออกซิเจนในใจเสียกับผลการทดสอบเครื่องยนต์ OEM พบว่าเครื่องยนต์ที่มีการปรับให้มีค่า Normalized Peak Oxygen ในไอเสียให้ประสิทธิภาพสูงกว่าเครื่องยนต์ OEM ในทุก ๆ ความน่ารอบ โดยเฉพาะที่ความเร็วรอบของเครื่องยนต์สูงกว่า 2000 rev/min ซึ่งผลการทดสอบน้ำมันเบนซินผสมสารออกซิเจนเนตทั้งหมดให้ผลไปในแนวทิศทางเดียวกัน โดยประสิทธิภาพของเครื่องยนต์ที่ปรับให้มี Normalized Peak Oxygen ในไอเสียมีค่าสูงกว่าประสิทธิภาพของเครื่องยนต์ OEM สูงสุดถึงร้อยละ 6.7

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

ในงานวิจัยนี้ได้ศึกษาผลของปริมาณออกซิเจนในไอเสียต่อสมรรถนะและมลภาวะของเครื่องยนต์เมื่อใช้น้ำมันมาตรฐาน G100และน้ำมันเบนซินผสมสารออกซิเจนเนต อันได้แก่ GE05, GE10, GE15, GM05, GM10 และ CM15 ตามลำดับเป็นเชื้อเพลิง การทดสอบกระทำโดยใช้เครื่องยนต์ TOYOTA Model 4A-FE ขนาด 1600 ซีซี ที่ติดตั้งบนแท่นไดนาโมมิเตอร์ด้วยโหมดการทำงานของระบบควบคุมที่ Constant Speed Mode การทดสอบกระทำที่สภาวะการจำลองการทำงานของเครื่องยนต์ที่ติดตั้งบนรถยนต์ TOYOTA CORONA เมื่อเคลื่อนที่โดยใช้เกียร์ 4 บนถนนราบด้วยอัตราเร็วคงที่ 9 ค่า โดยแบ่งการทดสอบออกได้เป็น 3 ส่วน ส่วนแรกเป็นการทดสอบหาสมรรถนะและมลภาวะของเครื่องยนต์ OEM TOYOTA 4A-FE ส่วนที่สองเป็นการหาสมรรถนะและมลภาวะของเครื่องยนต์ TOYOTA 4A-FE เมื่อปรับแปรปริมาณออกซิเจนในไอเสีย พร้อมหาปริมาณออกซิเจนในไอเสียที่ให้ค่า Thermal Efficiency สูงที่สุดที่จะเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ (Normalized Peas Oxygen) ส่วนที่สามเป็นการนำผลในส่วนที่สองมาเปรียบเทียบกับผลการทดสอบเครื่องยนต์ OEM TOYOTA 4A-FE จากผลการวิเคราะห์ในส่วนแรกพบว่าน้ำมันเบนซินที่ผสมสาวออกซิเจนเนตให้ค่า Brake Torque ที่ต่ำกว่าน้ำมันเบนซินมาตราฐาน (G100) และให้ค่า Specific Co2, สูงกว่าน้ำมันเบนซินมาตรฐาน ผลการวิเคราะห์ยังแสดงให้เห็นว่าการผสม Ethanol ในน้ำมันเบนซินมีผลทำให้ Specific CO และ Specific Co2 สูงกว่าการผสม MTBE ในน้ำมันเบนซิน จากผลการวิเคราะห์ในส่วนที่สองแสดงให้เห็นว่าปริมาณออกซิเจนในไอเสียมีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพของเครื่องยนต์ เมื่อปริมาณออกซิเจนในไอเสียเพิ่มขึ้น (ไม่เกิน 0.7% vol.) จะมีผลทำให้ประสิทธิภาพของเครื่องยนต์มีค่าเพิ่มสูงขึ้นและมีผลทำให้ปริมาณมลพิษจากเครื่องยนต์มีค่าลดลง ผลการทดสอบเครื่องยนต์ที่ปรับแปรปริมาณออกซิเจนในไอเสียได้ ถูกนำมาวิเคราะห์หา Normalized Peak Oxygen ในไอเสียที่ให้ค่าประสิทธิภาพสูงสุดที่เป็นไปได้ในทางปฏิบัติ ในส่วนที่สามเป็นการเปรียบเทียบการทดสอบเครื่องยนต์ที่ปรับปริมาณออกซิเจนในใจเสียกับผลการทดสอบเครื่องยนต์ OEM พบว่าเครื่องยนต์ที่มีการปรับให้มีค่า Normalized Peak Oxygen ในไอเสียให้ประสิทธิภาพสูงกว่าเครื่องยนต์ OEM ในทุก ๆ ความน่ารอบ โดยเฉพาะที่ความเร็วรอบของเครื่องยนต์สูงกว่า 2000 rev/min ซึ่งผลการทดสอบน้ำมันเบนซินผสมสารออกซิเจนเนตทั้งหมดให้ผลไปในแนวทิศทางเดียวกัน โดยประสิทธิภาพของเครื่องยนต์ที่ปรับให้มี Normalized Peak Oxygen ในไอเสียมีค่าสูงกว่าประสิทธิภาพของเครื่องยนต์ OEM สูงสุดถึงร้อยละ 6.7

Share

COinS